ลักษณะโครงสร้างแอมมิเตอร์

โครงสร้างภายในของแอมมิเตอร์แบ่งได้เป็นคร่าวๆดังนี้

แบบมูฟวิ่งไอออน

1 . แบบอาศัยแม่เหล็กดึงดูด ( ใช้ได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรง และ ไฟฟ้ากระแสสลับ )

การทำงาน ขึ้นอยู่กับการดึงดูดอำนาจแม่เหล็กของเหล็กแผ่นอ่อน กับ อำนาจแม่เหล็กของ

คอล์ยอยู่กับที่(sttationary coli)

2 . แบบอำนาจแม่เหล็กดึงดูด ( ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ )

การทำงาน ขึ้นอยู่กับการผลักกันระหว่างท่อนเหล็กหรือแผ่นเหล็กที่อยู่ใกล้กัน และอยู่ในสนาม

แม่เหล็กเดียวกัน ส่วนประกอบภายในประกอบไปด้วยฟิกซ์คอล์ย และ แท่งแม่เหล็กอ่อนภายในวางขนานกัน

อยู่ตามแนวแกนของเหล็กอ่อนอันหนึ่งที่ยึดอยู่กับที่

3. เครื่องวัดแบบอาศัยอำนาจแม่เหล็กผลักดัน ซึ่งโครงสร้างภายในมันจะมี ฟิกซ์คอลย์ และ

มีแท่งแม่เหล็กอ่อนวางขนานกันอยู่ ซึ่งตัวหนึ่งยึดอยู่กับแกน และอีกตัวหนึ่งจะสามารถเคลื่อนที่ได้ เมื่อม

ีกระแสไหลผ่านฟิกซ์คอลย์จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กซึ่งจะทำการผลักกันทำ

ให้เข็มเกิดการบ่ายเบนความคลาดเคลื่อน

ความคลาดเคลื่อนของเครื่องวัดแบบมูฟวิ่งไอออนเกิดจาก

- ความคลาดเคลื่อนเนืองจากความร้อน

- ความคลาดเคลื่อนเนืองจากแม่เหล็กรั่วไหล

-เมื่อความถี่มีการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ค่าอิมพิแดนซ์ของฟิกซ์คอล์ยดปลี่ยนแปลงและขนาดขอองกระแแสเปลี่ยน

แบบอาศัยการเหนี่ยวนำ

หลักการทำงาน การทำงานของแอมมิเตอร์ที่อาศัยการเหนี่ยวนำ ขึ้นอยู่กับแรงบิดที่เกิดขึ้นจากอำนาจแม่เหล็ก

ของกระแสหรือแรงงดันที่จะทำการวัด และกระแสไหลวนจะมีค่าน้อยมาก

แบบแผ่นโลหะผลักเคลื่อนที่

เป็นมิเตอร์ที่ใช้ผลสนามแม่เหล็กให้แผ่นโลหะเคลื่อนที่ไปในแนวเส้นแรงแม่เหล็กคล้ายกับมิเตอร์ขดลวดเอียงทำ

ให้เกิดการเบี่ยงเบนของเข็มชี้การเคลื่อนไหวของแผ่นโลหะผลักเคลื่อนที่สามารถสร้างเป็นได้ทั้งแอมมิเตอร์และ

โวลต์มิเตอร์ได้ โครงสร้างจะประกอบไปด้วยแผ่นเหล็กแผ่นอ่อน 2 แผ่น แผ่นหนึ่งอยู่กับที่ อีกแผ่นหนึ่งเคลื่อนที่

ได้อย่างอิสระ