วาร์มิเตอร์

  กำลังไฟฟ้าที่วัดออกมาจากอุปกรณ์และวงจรที่ใช้กับสัญญาณไฟกระแสสลับมีด้วยกัน 3 ลักษณะคือ กำลังไฟฟ้าจริง กำลังไฟฟ้าตอบสนอง และกำลังไฟฟ้าปรากฏ ความสัมพันธ์ของกำลังไฟฟ้าทั้ง 3 ลักษณะเขียน ออกมาเป็นรูปได้ดังรูป

                 

               จากรูปแสดงกำลังไฟฟ้าลักษณะต่างๆ เกิดขึ้นในตำแหน่งที่วัดออกมาได้ต่างกัน จึงเรียกค่า กำลัง ไฟฟ้าที่ปรากฏขึ้นมาแตกต่างกัน กำลังไฟฟ้าแต่ละแบบเกิดขึ้นได้กับอุปกรณ์ในวงจรต่างชนิดกัน กำลังไฟฟ้าจริงเกิด ขึ้นได้กับอุปกรณ์จำพวกตัวต้านทานบริสุทธิ์ กำลังไฟฟ้าตอบสนอง เกิดขึ้นได้กับอุปกรณ์จำพวกตัวเหนี่ยวนำ และ ตัวเก็บประจุ และกำลังไฟฟ้าปรากฏเกิดขึ้นได้กับอุปกรณ์จำพวก อิมพิแดนซ์ต่าง ๆ ความสัมพันธ์ของกำลังไฟฟ้าทั้ง 3 ค่าเขียนออกมา ในรูปเวคเตอร์ของสมการและหน่วยได้ดังรูป

                    

           จากรูป เป็นความสัมพันธ์ของกำลังไฟฟ้าทั้ง 3 ค่าในรูปเวกเตอร์ กำลังไฟฟ้า จริงเป็นกำลังไฟฟ้าที่ สามารถวัดออกมาได้จริงด้วยวัตต์มิเตอร์ เกิดจากแรงดันและกระแสที่มีทิศทางเดียวกันเกิดจากการคูณกัน ของ แรงดันและส่วนประกอบของกระแส หน่วยของกำลังไฟฟ้านี้เป็นวัตต์ ส่วนกำลังไฟฟ้าตอบสนอง เกิดจากการคูณกัน ของแรงดันและส่วนประกอบของกระแสที่ตอบสนองมีมุมต่างไป 90 ํ หน่วยของกำลังไฟฟ้านี้เป็น วาร์ Var กำลัง ไฟฟ้าตอบสนองนี้เป็นวัตต์มิเตอร์ไม่สามารถวัดค่าออกมาได้ จังต้องใช้วาร์มิเตอร์ วัดค่าแทนและกำลังไฟฟ้า ปรากฏเกิดจากการคูณกันของแรงดันและกระแสค่จริงในวงจรในรูป EI หน่วยของกำลังไฟฟ้านี้เป็นโวลต์- แอมแปร์

(VA) วัดค่าออกมาได้ด้วยเอซีโวลต์มิเตอร์ และเอซีแอมมิเตอร์นำมาคูณกันโดยตรง รูปร่างของวาร์มิเตอร์แสดง

ดังรูป

                              

             จากรูปเป็นเมกวาร์มิเตอร์ คือวาร์มิเตอร์ที่วัดค่าออกมาได้เป็นเมกวาร์ สเกลของวาร์มิเตอร์แบ่งเป็น 

2 ด้าน สเกลด้านซ้ายมือบอกสภาวะการนำหน้า (lead) ของกำลังไฟฟ้าตอบสนอง คือกระแสนำแรงดัน เป็นการ แสดงสภาวะเป็นตัวเก็บประจุ (C) ส่วนสเกลด้านขวามือบอกสภาวะการล้าหลัง (lag) ของกำลังไฟฟ้าตอบสนอง คือกระแสล้าหลังแรงดัน เป็นการแสดงสภาวะเป็นตัวเหนี่ยวนำ (L)