โวลต์มิเตอร์เรียงกระแสแบบเต็มคลื่น

วงจรเรียงกระแสแบบเต็มคลื่น

วงจรเรียงกระแสในเครื่องวัดจะใช้ไดโอดซิคอน (Silicon) หรือเจอร์เมเนียม (Germaniu) ก็ได้ การต่อวงจรแสดงในรูปที่ 8.2 เมื่อมีสัญญารณรูปคลื่นไซน์เข้ามาไดโอดจะสลับกันนำกระเสคือ เมื่อสัญญาณรูปคลื่นไซน์บวกเข้ามา ไดโอด D1 กับ D4 จะนำกระแส

จะไหลผ่านไดโอด D1 ผ่านเครื่องวัด PMMC และผ่านไดโอด D4 ครบวงจร ถ้าสัญญาณรูปคลื่นไซน์ซักลบเข้ามาลบ้าง ไอด D2 กับ D3 นำกระแสกระแสไหลผ่าน D3 ผ่านเครื่องวัด PMMC และผ่านไฟโอด D2 ครบวงจร

                             

        จากรูปที่ 8.2 เราจะต่อความต้านทานตัวคูณ (Multiplier resistance) เพื่อขยายพิสัยการวัดแรงดันและจำกัด (Limit) กระแสที่ไหนผ่านเครื่องวัด PMMC การบ่ายเบนของเข็มชี้จะเป็นสัดส่วนกับกระแสเฉลี่ย (0.636xกระแสพีค) แตก่ปกติค่ากระแสหรือแรงดันของการวัดไฟสลับจะเป็นค่า rms คือ (0.707x ค่าพีค) sinv 1.11 เท่าของค่าเฉลี่ย ซึ่งค่าเฉลี่ยค่าพีคและค่า rms มีความสัมพันธ์กันโดยตรงดังนั้นเราสามารถปรับแต่สเกลให้เป็นค่าแรงดัน rms (Vrms) ได้

                           

เครื่องวัดแรงดันเรียกกระแสครึ่งคลื่น

             เครื่องวัดแรงดันไฟสลับโดยใช้วงจรเรียกกระแสแบบครึ่งคลื่นเบื้องต้น (แสดงดังรูปที่ 8.3 ก) โดยมีสัญญษณแรงไฟสลับ (AC) แบบรูปคลื่นไซน์ (Vg) มีค่าพีคเท่ากับ Vp ในการออกแบบเบื้องต้น เราจะให้ไดโอดที่ใช้เป็นไดโอดทางอุดมคติ (Ideal) ถือว่ามีความต้านทานเป็น 0 ขณะเมือ่ไฟสลับช่วงบวกเข้ามาและให้ไดโอดมีค่าอนันต์ (Infinity) เมื่อสัญญาณไฟสลับเป็นช่วงลบเข้ามากระแสที่ไหนในวงจรมีลักษณะดังรูปที่ 8.3 (ข)

                                  

(จากรูปที่ 8.3) เป็น AC Volt ตามแนวความคิด แต่ในความเป็นจริง (ทางปฎิบัติ) ไดโอดจะมีค่าความต้านทานขณะกระแส (ได้รับไบแอสตรง) เมื่อไดโอดได้รับไบแอสกลับจะมีกระแสจำนวนน้วอยรั่วไหลผ่านไปได้ และถ้าแรงไฟที่วัดมีค่าสูงเกินค่าพิกัดของไดโอดมาก ๆ ก็อาจจะทำให้ไดโอดถึงจุดทลาย( Break down) กระแสจำนวนมากจะไหลผ่านมิเตอร์มูฟเมนท์ทำให้มูฟเมนท์ชำรุดได้

          ในทางปฎิบัตจริงเพื่อแก้ไขข้อเสียดังกล่าว จะใส่ไดโอด (D2) อีกตัวหนึ่งต่อขนานกับวงจรเรียงกระแส (D1) ดังรูปที่ 8.4 เพื่อให้เป็นทางผ่านของกระแสในขณะเมื่อได้รับสัญญาณช่วงลบให้ไหลผ่าน D2 ไปได้ โดยไม่ต้องผ่านวงจรมิเตอร์มูฟเมนท์

ตัวเรียงกระแสแบบครึ่งคลื่นถูกใช้ในวงจร AC Voltmeter (แสดงในรูป 8.4 )ความต้านทานต่อขนาน ( R SH ) มิเตอร์จะทำให้มีกระแสจำนวนมากไหลผ่านไดโอด D 1 (ขนาดกระแสไหลผ่านมากกว่ากระแสไดโอด เมื่อไดโอดได้รับกระแสตรง ( Forward)ทำให้ไดโอดมีคุณสมบัติในการทำงานมากขึ้น ไดโอด D 1 จะนำกระแสในระหว่างแรงดันทำที่ D 2 และไดโอด D 1 และ D 2 จะช่วยในการป้องกันกระแสอีกด้วย