โครงสร้างของวัตต์มิเตอร์

จากความยุ่งยากในการวัดค่าและคำนวณค่าด้วยสูตรหาค่ากำลังไฟฟ้าดังกล่าวมาแล้วจึงได้มีการดัด แปลงมิเตอร์ให้สามารถวัดค่ากำลังไฟฟ้าออกมาได้โดยตรง เรียกมิเตอร์นี้ว่า วัตต์มิเตอร์ (Wattmeter) โดย การ สร้างรวมเอาโวลต์มิเตอร์และแอมมิเตอร์ไว้ในตัวเดียวกันโครงสร้างของวัตต์มิเตอร์ใช้หลักการทำงานของ อิเล็กโทรไดนาโมมิเตอร์ (Electrodynamometer)แสดงดังรูปที่ 2

                                        จากรูปที่ 2 เป็นโครงสร้างของวัตต์มิเตอร์ แบบอิเล็กโทรไดนาโมมิเตอร์ส่วนประกอบของโครงสร้าง

ประกอบด้วยขดลวด 3 ขด ขดลวด 2 ขดใหญ่ที่วางขนานกัน เป็นขดลวดคงที่ (Fixed Coil) หรือขดลวดกระแส

(Current Coil) ส่วนตอนกลางของขดลวดคงที่มีขดลวดอีกหนึ่งขดวางอยู่ในส่วนวงกลมที่ว่างเป็นขดลวดเคลื่อน

ที่ได้ (Moving Coil) หรือขดลวดแรงดัน (Voltage Coil) ขดลวดเคลื่อนที่นี้ถูกยึดติดกับแกนร่วมกับเข็มชี้และ

สปริงก้นหอย

          ขดลวดคงที่หรือขดลวดกระแสนั้นทั้งสองขดถูกต่ออันดับกัน และต่อออกมาเพื่อวัดค่ากระแสของวงจร

ส่วนขดลวดเคลื่อนที่หรือขดลวดแรงดันถูกต่ออันดับกับตัวต้านทาน ทำหน้าที่จำกัดกระแสผ่านขดลวด และต่อออก

มาเพื่อวัดค่าแรงดันของวงจร ขั้วต่อของวัตต์มิเตอร์แบบอิเล็กโทรไดนาโมมิเตอร์ แสดงดังรูปที่ 3

        

           จากรูปที่ 3 เป็นขั้วต่อใช้งานของวัตต์มิเตอร์แบบอิเล็กโทรไดนาโมมิเตอร์มีทั้งหมด 4 ขั้วต่อ แบ่งเป็น 2 ชุด ชุดละ 2 ขั้วต่อ ชุดแรก (ขั้ว A, ) ต่อวัดกระแสที่ไหลผ่านวงจรวัดค่าชุดสอง (ขั้ว V, ) ต่อวัด แรงดันที่จ่ายให้วงจรวัดค่า

           วัตต์มิเตอร์แบบอิเล็กโทรไดนาโมมิเตอร์นี้สามารถนำไปวัดกำลังไฟฟ้าได้ทั้งกำลังไฟฟ้าของวงจร

ไฟกระแสตรง (DC) และกำลังไฟฟ้าของวงจรไฟกระแสสลับ (AC) เพราะขดลวดทั้งขดคงที่และขดเคลื่อนที่ สามารถรับแรงดันและกระแสได้ทั้งไฟกระแสตรง (DC) และไฟกระแสสลับ (AC) ช่วยให้เกิดความสะดวกใน การ ใช้งานและลดความยุ่งยากในการวัดค่าลงได้