หน่วยที่ 5 การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศตามลักษณะงานอาชีพ

1 ความหมายของการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ

การนำเสนอข้อมูล  Presentai tion หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้ฟัง ผู้ฟังโดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่างๆ ฉันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดหมายของการนำเสนอ

2 จุดมุ่งหมายในการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ

การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศตามลักษณะงานอาชีพ มีจุดมุ่งหมายในการนำเสนอ ดังนี้

    1 . เพื่อให้ผู้ชม ผู้ฟังเข้าใจในสาระสำคัญของการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ

    2. ให้ผู้ชม ผู้ฟังเกิดความประทับใจและนำไปสู่ความเชื่อถือในข้อมูลสารสนเทศที่นำเสนอ

3 หลักการพื้นฐานของการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ

การพื้นฐานของการนำเสนอผลงาน มีจุดเน้นสำคัญ ดังนี้

1 การดึงดูดความสนใจ โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจขึ้นเพื่อชมการนำเสนอ ดังนั้น การเลือกกลุ่มประกอบต่างๆ เช่น สีพื้น แบบ สี แบบขนาดของตัวอักษร รูปประกอบต้องเหมาะสมและสวยงาม

2 ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีความสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบ มีประโยชน์มาก ดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า “A picture is worth a thousand words” หรือ “ ภาพภาคหนึ่งนั้นมีค่าเทียบเท่ากับคำพูดหนึ่งพันคำ” แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นจริงหากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับความหมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใดประกอบ จึงควรตอบคำถามให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไร และภาพที่เลือกมานั้น สามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่

3 ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างจุดเน้นตามข้อ 1 และข้อ  2  ข้างต้นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก การใช้สีสดๆ ภาพการ์ตูนมีความเหมาะสม แต่ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใหญ่และเนื้อหาที่นำเสนอเป็นเรื่องวิชาการหรือธุรกิจ การใช้สีสันมากเกินไปและการใช้รูปการ์ตูนอาจทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือเพราะขาดภาพลักษณ์ของการเอาจริงเอาจังไป

4 หลักการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ

หลักการเลือกใช้โปรแกรม และหลักการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ โดยใช้โปรแกรมดังนี้

1 ความเข้าใจกับงานที่ต้องการนำเสนอก่อนการเลือกระบบสารสนเทศมาใช้ในการนำเสนองานนั้น ต้องเข้าใจถึงลักษณะงานที่ต้องการนำเสนอก่อนว่าเป็นงานลักษณะใด เช่น เป็นข้อความ หรือมีการคำนวณหรือเป็นงานที่เกี่ยวกับการค้น การเก็บรักษาข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ

2 เลือกโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้เพื่อทราบลักษณะของงานที่ต้องการนำเสนอแล้ว จะเลือกระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับการนำเสนองานนั้น งานบางอย่างอาจใช้ระบบสารสนเทศในการนำเสนอได้หลายอย่าง อาจต้องเลือกว่าจะใช้ระบบใด ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในความสามารถของระบบนั้น โดยเฉพาะในส่วนของโปรแกรมว่าแต่ละโปรแกรมมีความสามารถใดบ้าง เราอาจจะต้องทำการประเมินว่าโปรแกรมใดมีความเหมาะสมเพียงใด แล้วจึงเรียกโปรแกรมที่เห็นว่า เหมาะสมที่สุด

3 จัดหาเครื่องมือตามความต้องการของโปรแกรม โปรแกรมแต่ละโปรแกรมมีความสามารถไม่เหมือนกัน ขนาดของโปรแกรมก็ไม่เท่ากัน ทำให้ความต้องการของฮาร์ดแวร์ในการทำงานตามโปรแกรมนั้นแตกต่างกันในคู่มือการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้น จะบอกข้อกำหนดของฮาร์ดแวร์ที่ต้องการสำหรับการใช้งานไว้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง จะต้องจัดหาฮาร์ดแวร์ให้ได้ตามข้อกำหนดนั้นให้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ส่วนใหญ่สามารถนำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มาตรฐานที่ขายทั่วไปได้เลย ยกเว้นอุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์เลือกตามความต้องการว่าเป็นเครื่องจีนสีขาว/ดำ หรือหลายสี จอภาพจะใช้ขนาดใหญ่กี่นิ้ว หรือฮาร์ดดิสก์ที่อาจต้องดูขนาดความต้องการว่าซอฟต์แวร์ขนาดเท่าใด  และฮาร์ดดิสก์จะพอใช้หรือไม่ เพราะในไมโครคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง นั้นเรามักจะบรรจุโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ไว้หลายชนิด และปริมาณแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิมอาจมากจนกระทั่งพื้นที่ที่เหลือไม่เพียงพอต่อการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปใหม่นั้น

4 การใช้งานโปรแกรมในการใช้งานนั้น นอกจากผู้ชายจะต้องทำความเข้าใจการทำงานของฮาร์ดแวร์ว่าใช้งานอย่างไรแล้ว รายละเอียดการใช้งานซอฟต์แวร์ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนการใช้งาน ส่วนใหญ่จะศึกษาจากคู่มือของโปรแกรมสำเร็จรูปนั้นเพื่อความเข้าใจในความสามารถก่อน ปกติแล้วคู่มือการใช้งานมาจากเจ้าของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ซึ่งมักจะอธิบายถึงความสามารถตามฟังก์ชันที่มีอยู่ แต่มักจะไม่ค่อยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ผู้ใช้ต้องทดลองเองจึงได้มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในโปรแกรมนั้นๆ ทำคู่มือการใช้งานในลักษณะการประยุกต์ มีตัวอย่างของงานแสดงให้เห็น ทำให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างเร็วขึ้นและในปัจจุบันนี้มีการทำคู่มือการใช้งาน ในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ที่เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ทำเป็นซีดีการใช้งาน เป็นต้น ฉะนั้น ผู้ใช้งานที่ยังไม่มีประสบการณ์จึงควรเรียนรู้จากคู่มือการใช้งาน ทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

5 รูปแบบการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์

รูปแบบการนำเสนอข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ปัจจุบันที่นิยมใช้กันมี 3 แบบคือ

1 การนำเสนอแบบ Web Page รูปแบบการนำเสนอที่ใช้บนอินเตอร์เน็ต การนำเสนอแบบนี้สามารถสร้างการเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อนระหว่างส่วนต่างๆ ตลอดส่วนสามารถสร้างการเชื่อมโยงเอกสารที่ต่างรูปแบบนั้นได้ เราต้องใช้เวลาในการจัดทำมากกว่าผู้จัดทำต้องมีความรู้ความชำนาญในโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บเพจ และโปรแกรมที่นิยมใช้มากที่สุดคือ โปรแกรม adobe dream weaver

2 การนำเสนอแบบ Slide Presentation

เป็นการนำเสนอโดยใช้โปรแกรมนำเสนอ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่ายมาก มีรูปแบบการนำเสนอให้เลือกใช้หลายแบบ สามารถเรียกใช้ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพประกอบ และตกแต่งด้วยสีสัน สีพื้น สีของอักษร รูปแบบของฟอนต์ของตัวอักษรได้ง่ายและสะดวก ในปัจจุบันสื่อนำเสนอรูปแบบ Slide Presentation หรืิสไลด์ ดิจิทัล มักจะสร้างด้วยโปรแกรมในกลุ่ม Presentation  เช่น  microsoft powerpoint , OfficeTLE lm press เทคนิคการออกแบบสื่อนำเสนอ สื่อนำเสนอที่ดี ควรมีความโดดเด่น น่าสนใจ จะเน้นความคิด “หนึ่งสไลด์ต่อหนึ่งความคิด”

มีการสรุปประเด็น มีสาระสำคัญโดยมีแนวทาง 3 ประการในการออกแบบ ได้แก่

1  สื่อความหมายได้รวดเร็ว สื่อนำเสนอที่ดีต้องสามารถสื่อความหมายให้ผู้ฟัง ผู้ชมได้อย่างรวดเร็ว การออกแบบสีนำเสนอในประเด็นคู่ออกแบบจะต้องกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาสาระที่ต้องการนำเสนอ สถานที่และเวลาที่ต้องการนำเสนอเพื่อการออกแบบสื่อ เช่น กลุ่มเป้าหมายขนาดเล็ก สื่อควรให้ความสำคัญกับผู้ฟังมากกว่าเนื้อหา สามารถนำเทคนิค หรือ Effect ต่างๆ โปรแกรมสร้างสื่อมาใช้ได้อย่างเต็มที่ กลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะโต้ตอบ เช่น การนำเสนอทางวิชาการ การบรรยาย หรือการฝึกอบรม สื่อนำเสนอควรให้ความสำคัญกับเนื้อหา รวมทั้งยังสามารถนำเทคนิคหรือ Effect ต่างๆโปรแกรมสร้างสื่อมาใช้ได้อย่างเต็มที่เช่นกัน กลุ่มเป้าหมายเฉพาะกิจ เช่น ผู้บริหาร นักวิชาการ สื่อนำเสนอจะต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาและผู้นำเสนอเป็นสำคัญเนื้อหาความมุ่งเฉพาะเป้าหมายของการนำเสนอ ดังนั้น สื่อนำเสนอไม่ควรเน้น Effect แต่ควรให้ความสำคัญกับขนาดอักษร สีตัวอักษร และลักษณะของพื้นสไลด์

2 เนื้อหาเป็นลำดับ สื่อนำเสนอที่ดีควรมีการจัดลำดับเนื้อหาเป็นลำดับ มีระเบียบ ดูง่าย ไม่ซับซ้อนสิ่งที่จะช่วยให้การออกแบบสื่อนำเสนอที่ต้องการจัดลำดับเนื้อหาให้เป็นระเบียบและดูง่าย คือ

2.1 รูปแบบเนื้อหา สื่อนำเสนอแต่ละสไลด์ ควรหลีกเลี่ยงการนำเสนอแบบย่อหน้า หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรใช้เทคนิคการเน้นแนวคิดหลัก ในแต่ละย่อหน้าด้วยสีที่โดดเด่น เช่น พื้นหลังสีขาว ตัวอักษรสีดำ ควรเน้นแนวคิดหลัก ด้วยสีแดง เป็นต้น แต่ละสไลด์เนื้อหาไม่ควรเกิน 6-8 บรรทัด ควรสรุปเนื้อหาให้เป็นหัวเรื่องและหัวข้อหรือแนวคิดหลัก

2.2 แบบอักษรการควบคุมการแสดงข้อความในแต่ละสไลด์ ควรให้ความสำคัญของขนาดตัวอักษรดังนี้

3 สื่อนำเสนอต้องระบุสายตาและน่าสนใจ สื่อนำเสนอที่ดีนั้นจะต้องมีจุดเด่นน่าสนใจ สามารถดึงดูดสายตาของผู้ดู ผู้ฟังได้ ซึ่งจุดเด่นนี้ได้มาจากขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่ หรือจากการใช้สีที่แตกต่างออกไป รวมถึงการเลือกใช้ภาพ การใช้สี และการใช้ Effect ควบคุมการนำเสนอที่เหมาะสมประกอบการนำเสนอ

3.1 การใช้ภาพ เนื่องจากภาพจะช่วยให้ผู้ฟัง ผู้ชม สามารถจดจำได้นานกว่าตัวอักษร ดังนั้น การแปลเนื้อหาให้เป็นรูปภาพหรือผังภาพก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างความน่าสนใจให้กับสื่อที่นำเสนอ การเลือกใช้ภาพก็ควรเลือกใช้ภาพที่มีลักษณะที่เหมาะสมกันและกัน คือถ้าในสไลด์นั้นเลือกใช้ภาพถ่ายก็ควรใช้ภาพถ่ายกับ ภาพทุกภาพในสไลด์ แต่ถ้าเลือกใช้ภาพวาด ก็ควรใช้ภาพวาดทั้งสไลด์เช่นกัน ดังนั้น จึงไม่ควรใช้ภาพวาดผสมกับภาพถ่าย ใส่เทคนิคที่น่าสนใจให้กับภาพเพื่อสร้างจุดเด่น การเอียงภาพ การเว้นช่องว่างระหว่างภาพ  การเปลี่ยนสีภาพให้แตกต่างจากปกติ ควรระวังการเลือกใช้ภาพเป็นพื้นหลังสไลด์ เพราะอาจจะทำให้ผู้ชมสนใจพื้นสไลด์มากกว่านี้หาที่ต้องการนำเสนอ หรืออาจทำให้ผู้ชมไม่สนใจมองสไลด์เลยก็ได้ เรื่องจากภาพทำให้ตัวอักษรไม่โดดเด่น ไม่น่ามองหรืออาจยาก

3.2 การใช้สี การเลือกใช้สี ควรเลือกใช้สีที่ตัดกันระหว่างสีตัวอักษร สีวัตถุและสีพื้น เช่น เลือกใช้พื้นสไลด์สีขาวหรือสีอ่อนๆ สีตัวอักษรก็ไม่ควรจะเป็นสีดำ สีน้ำเงินเข้มหรือสีแดงเลือดหมู กรณีเลือกใช้สีในโทนร้อน เช่น สีแดงสด สีเหลืองสด สีเขียวสด สีวัตถุ สีแท่งกราฟหรือสีของตาราง ก็ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสีตัวอักษร และสีพื้น ด้วยการเลือกใช้สีใดๆ ก็ควรเป็นสีในชุดเดียวกันสำหรับสไลด์ทั้งหมด  ไม่ควรใช้หนึ่งสีสไลด์

3.3  การใช้  Effect ควบคุมการนำเสนอ ไม่ควรใส่ Effect มากเกินไป เพราะจะส่งผลให้ผู้ฟัง ผู้ชม สนใจ Effect มากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ หรืออาจไม่สนใจการนำเสนอเลยก็ได้ และ Effect พี่มากนี้จะเป็นการรบกวนการจดจำ การอ่านหรือการชม เลือกใช้ Effect ไม่ควรเกิน 3 แบบ  แบบในแต่ละสไลด์ควรเลือกใช้ Effect แสดงข้อความเลื่อนจากขอบซ้ายมาขอบขวาของจอ ธรรมชาติการอ่านของคนไทยอ่านข้อความจากบนลงล่างและอ่านจากด้านซ้ายไปด้านขวา


3 การนำเสนอในรูปแบบเอกสาร เรื่องการนำเสนอนี้จะมีหลายรูปแบบด้วยกัน คือ ใช้โปรแกรม  microsoft word,  microsoft excel และ microsoft  powerpoint  ขึ้นอยู่กับลักษณะการนำเสนอแบบใดที่จะสะดวกและเข้าใจง่าย หรือเหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ ทั้งนี้สามารถที่จะนำโปรแกรมดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลตามลักษณะงานอาชีพได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

 6 อุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงาน

อุปกรณ์ดิจิทัลที่สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงในงานนำเสนอหา เพื่อให้งานนำเสนอมีคุณภาพ ผู้ชมและผู้ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้

1 โปรเจกเตอร์ เป็นอุปกรณ์ถ่ายภาพที่ใช้ในการนำเสนอ โดยสามารถรองรับสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่น  vcd เครื่องเล่น dvd  และเครื่องกำหนดภาพอื่นๆ แล้วแสดงผล ขยายขนาดบนจอรับภาพช่วยให้มองเห็นได้ไกลขึ้นเพราะสำหรับการนำเสนอข้อมูลในห้องประชุม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถมองเห็นภาพหรือข้อความได้อย่างชัดเจน

2 วิชวลไลเซอร์  เป็นอุปกรณ์ถ่ายภาพระบบดิจิทัลประเภทหนึ่ง  ซึ่งพัฒนามาจากโอเวอร์เฮดหรือเครื่องฉายข้ามศีรษะ ใช้แสดงภาพวัตถุและเอกสารสู่จอภาพที่มีอยู่จริงได้เลยโดยไม่ต้องดัดแปลง อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับใช้ในการนำเสนองานต่างๆ โดยเฉพาะครูหรืออาจารย์ที่สอนหนังสือ และใช้ได้ดีในการนำเสนอภาพนิ่งมากกว่าภาพเคลื่อนไหว แต่ถ้าที่แสดงออกมานั้นก็ให้ความคมชัด มีสีสดใส และมีโหมดของการแสดงภาพให้ปรับการทำงานด้วย การควบคุมการทำงานสามารถทำได้โดยใช้รีโมต

3 กล้องถ่ายรูปดิจิทัล เป็นอุปกรณ์รับภาพที่เปลี่ยนจากฟิล์มมาเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเมื่อถ่ายรูปที่ต้องการแล้ว รูปจะถูกเก็บลงในหน่วยความจำ  memory  ที่อยู่ในกล้อง เมื่อต้องการดูรูปทำได้โดยการถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำลงบนเครื่องพิมพ์เครื่องคอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้จะมีขนาดที่ต้องการ สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงหรือเงาแล้วแต่ความพอใจ หรือจะเพิ่มรูปแบบก็สามารถทำได้ และเมื่อจะถ่ายใหม่ ก็สามารถใช้หน่วยความจำเดิมได้เลย

4 กล้องถ่ายวีดิทัศน์ดิจิทัล เป็นอุปกรณ์รับภาพที่บันทึกข้อมูล ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เก็บไว้ในหน่วยความจำแบบเฟลชภายในกล้อง สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงเงาของภาพได้ และในปัจจุบันสามารถคัดลอกข้อมูลลงในแผ่นซีดีได้เลยโดยไม่ต้องโอนลงในเครื่องคอมพิวเตอร์

5คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึกหรือโน้ต เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานนำเสนอ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงอุปกรณ์อื่นๆ เช่น โปรเจกเตอร์ เพื่อนำเสนองาน และใช้นำเสนองานผ่านจอภาพของคอมพิวเตอร์

5 เครื่องเล่นเสียง หรือเครื่องเล่น mp3  เป็นอุปกรณ์ซึ่งบรรจุข้อมูลเสียงที่ใช้เล่นในคอมพิวเตอร์และสามารถถ่ายโอนข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ โดยข้อมูลเสียงนั้นใช้เทคโนโลยีบีบอัดให้มีขนาดเล็กลงมากกว่าข้อมูลเสียง ปกติถึง 12 เท่า  แม้ขนาดข้อมูลจะเล็กลง แต่คุณภาพเสียงไม่ได้เสียอย่างไรก็ตาม หากเรานำข้อมูลเสียงจากเครื่องเล่น mp3  ไปเล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า จับด้านเสียงในขณะกระตุกหรือใช้งานไม่ได้เลย

6โทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่น เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ผู้ใช้สามารถนำเสนองานที่สร้างด้วยโปรแกรม  microsoft  powerpoint  ผ่านเครื่องโปรเจคเตอร์ได้อย่างสะดวกง่ายต่อการติดตั้ง เพียงเชื่อมต่อโปรเจคเตอร์เข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านสายเคเบิล แล้วเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยบลูทูธ

นอกจากอุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงานแล้ว ยังมีส่วนประกอบที่สำคัญในการนำเสนองาน คือ คำบรรยาย  บทพากย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบด้านโสตหรือเสียงนั่นเอง โดยมีวิธีการและหลักในการพิจารณาดังนี้

1 การบรรยายสด เหมาะสำหรับการประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เพราะผู้บรรยายในกรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี รู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดไหนหรือปฏิกิริยาจากผู้ชมทำให้ผู้บรรยายรู้ว่าผู้ชม สามารถติดตามทำความเข้าใจได้เพียงพอหรือไม่ รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความมากน้อยเพียงใด

2 การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยมีส่วนร่วมของผู้ชม ข้อดีคือสามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟัง สามารถเลือกใช้ดนตรีเสียงประกอบ เพื่อสร้างบรรยากาศ แต่ข้อเสียคือ ไม่มีความยืดหยุ่น ไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ฟังได้ในขณะนั้น

7 โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศตามลักษณะงานอาชีพ

โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการนำเสนอและสื่อสารข้อมูลสารสนเทศตามลักษณะงานอาชีพ มีหลายโปรแกรมเช่น

1 โปรแกรมประมวลผลคำ  (microsoft word)

2 โปรแกรมตารางคำนวณ  (microsoft excel)

3 โปรแกรมนำเสนอ  (microsoft powerpoint )

4 โปรแกรมฐานข้อมูล  (microsoft access)

5 โปรแกรมการสร้างเว็บเพจ  (adobe dreamweaver)

6 โปรแกรมการนำเสนอในรูปแบบสื่อประสม (adobe after effect)

แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโปรแกรมสำเร็จรูปที่ทุกอาทิตย์สามารถจะใช้ได้

 1การประยุกต์ใช้โปรแกรมประมวลผลคำ

 2 การประยุกต์ใช้โปรแกรมตารางคำนวณ

 3 การประยุกต์ใช้โปรแกรมการนำเสนอ