หน่วยที่4 การใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

หลักการเลือกคุณลักษณะของคอมพิมเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน

คอมพิวเตอร์มีคุณลักษณะที่หลากหลาย ทั้งในด้านของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ในการใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน โดยมีหลักการเลือกคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์เพื่อให้เหมาะสมกับงาน ดังนี้

1. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ของการใช้งาน

              การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของการใช้งานเพื่อให้ได้คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม สามารถวิเคราะห์ได้จากประสงการณ์การใช้งาน รูปแบบของการนำเข้าข้อมูล การประมวลผล การแสดงผล ลักษณะหรือรูปแบบของการทำงาน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

2. เลือกคอมพิวเตอร์ตามลักษณะของการใช้งาน

              คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท และได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองตอบต่อการใช้งานในลักษณะต่างๆ ดังนี้

2.1. งานนอกสถานที่ เป็นการใช้งานนอกสถานที่ ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ติดตามผู้ใช้ มีการเคลื่อนที่เคลื่อนย้ายได้สะดวก ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค(Notebook) , คอมพิวเตอร์เน็ตบุ๊ค (Netbook) ,แท็บเลตคอมพิวเตอร์ (Tablet Computer) เป็นต้น

2.2. งานในสถานที่ เป็นลักษณะการใช้งานแบบสำนักงาน ไม่มีการเคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์

3. เลือกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

ในการเลือกคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงานนั้น เมื่อได้วิเคราะห์วัตถุประสงค์และลักษณะของการใช้งานแล้ว ผู้ใช้สามารถตัดสินใจเลือกคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้ง่ายขึ้น ในการกำหนดคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์นั้น จำเป็นต้องพิจารณาฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ไปพร้อมๆกัน ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลทำให้ไม่สามารถใช้งานตามที่ต้องการได้

4. สำรวจแหล่งขาย

แหล่งขายเป็นปัจจัยหนึ่งของการเลือกฮาร์ดแวร์ เพื่อให้เหมาะสมกับงาน มีข้อพิจารณาเกี่ยวกับแหล่งขาย ดังนี้

– มีความน่าเชื่่อถือ

– มีการแข่งขันสูง

– มีประสบการณ์

– มีช่องทางการติดต่อ

– เงื่อไขรับประกัน

หลักการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน

ซอฟต์แวร์ประเภทซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ในกลุ่มซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับคอมพิวเตอร์ เพราะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยมีหลักการเลือกดังนี้

 1. ความสามารถในการทำงาน

ผู้ที่ใช้ซอฟต์แวร์จะต้องเลือกดูในความสามารถของซอฟต์แวร์นั้นๆ เพื่อให้ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งสามารถตอบสนองต่อการทำงาน ช่วยอำนวยความสะดวก ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด

    2. การติดต่อกับผู้ใช้

ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปในปัจจุบันจะติดต่อกับผู้ใช้ในโหมดกราฟิก เนื่องจากระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่สนับสนุนการทำงานในโหมดนี้ ซึ่งทำให้สะดวกต่อการใช้งาน สามารถเข้าใจได้ง่าย

 3. ความเข้ากันได้

ความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เป็นหลักการที่ต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ อย่างเหมาะสม เพราะ อาจจะส่งผลต่อการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีข้อคำนึง 2 ส่วน ดังนี้

3.1. ความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์

3.2. ความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์

4. การติดตั้งและการดูแลรักษา

การติดตั้งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปโดยทั่วไปจะต้องติดตั้งได้ง่าย มการตรวจสอบการติดตั้ง ระบบช่วยเหลือ

5. กลุ่มผู้ใช้งาน

              ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากหรือได้รับความนิยมมาก จะเป็นการรับรองคุณภาพของประสิทธิภาพในการใช้งาน