โครงสร้างของโอห์มมิเตอร์

       จากความยุ่งยากในการวัดและคำนวณค่าด้วยกฏของโอห์ม เพื่อหาค่าความต้านทานดังกล่าวมาแล้ว จึงได้มีการ ดัดแปลง มิเตอร์ให้สามารถวัดค่าความต้านทานออกมาได้โดยตรง เรียกมิเตอร์นี้ว่า โอห์มมิเตอร์(Ohmmter) โดยการดัดแปลงจากแอมมิเตอร์ให้สามารถวัดค่าและแสดงค่าออกมาเป็นค่าความต้านทานได้โดยตรง เพราะคุณสมบัติของค่าความต้านทาน จะคอยต้านการไหลของ กระแส ในวงจร เมื่อความต้านทานในวงจรแตกต่างกัน ย่อมทำให้กระแสไหลผ่านวงจรแตกต่างกัน ความต้านทานในวงจรน้อยกระแสไหลผ่านวงจรมาก และความต้านทานใน วงจรมากกระแสไหลผ่านวงจรน้อย สภาวะกระแสที่ไหลผ่านแอมมิเตอร์แตกต่างกัน ทำให้เข็มชี้ของแอมมิเตอร์บ่ายเบน ไปแตกต่างกัน เมื่อปรับแต่งสเกลหน้าปัดจากสเกลกระแสมาเป็นสเกลความต้านทานก็สามารถ นำแอมมิเตอร์นั้น มาวัดความต้านทาน โดยทำเป็นโอห์มมิเตอร์ได้

 

              

               จากรูปที่ เป็นวงจรเบื้องต้นของโอห์มมิเตอร์ ประกอบด้วยแหล่งจ่ายแรงดันไฟตรง (แบตเตอรี่ 1.5V )ต่ออันดับกับมิลลิแอมมิเตอร์วัดกระแสไฟตรงได้เต็มสเกล 1mA มีค่าความต้านทานภายในมิลลิแอมมิเตอร์ 50 โอห์ม และต่ออันดับกับตัวต้านทาน R1 มีค่า 1,450 โอห์ม ตัวต้านทาน R1ทำหน้า ที่จำกัดกระแส ไม่ให้ไหล ผ่านมิลลิแอมมิเตอร์ มาก เกินกว่าค่าสูงสุดที่มิลลิแอมมิเตอร์ทนได้คือ 1mA ขั้วต่อ x–y เป็นขั้วต่อสำหรับ ต่อวัดตัวต้านทานที่ต้องการวัดค่า และปรับแต่งสเกลหน้าปัดของ มิลลิแอมมิเตอร์ให้เป็น โอห์มมิเตอร์ขณะช็อตจุด x–y เข้าด้วยกัน จะต้องมีกระแสไหล ผ่านมิลลิแอมมิเตอร์เต็มสเกลพอดีสามารถคำนวณ หาค่ากระแสผ่าน มิลลิแอมมิเตอร์ได้โดยใช้กฏของโอห์ม ดังนี้