หน่วยที่ 4 การจัดเก็บ ค้นคืน  ส่งผ่านและดำเนินการข้อมูลสารสนเทศ

การสืบค้นข้อมูลด้วย Search Engine

         เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหาและคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิลจะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป


ตัวอย่าง Web Search Engine

      1. http://www.google.co.th/

      2. http://www.youtube.com/

      3. http://dict.longdo.com


การสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine

         ขั้นตอนการสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine

           1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/

           2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “เว็บ”

           3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box

           4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา”

           5. ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบของลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบ


การสืบค้นรูปภาพด้วย Search Engine

         ขั้นตอนการสืบค้นรูปภาพด้วย Search Engine

           1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/

           2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “รูปภาพ”

           3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box

           4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา”

           5. ระบบจะทำการค้นหารูปภาพที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงรูปภาพที่ค้นหาพบ


การสืบค้นแผนที่ด้วย Search Engine

         ขั้นตอนการสืบค้นแผนที่ด้วย Search Engine

           1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/

           2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “แผนที่”

           3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) สถานที่ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box

           4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา Maps”

           5. ระบบจะทำการค้นหาสถานที่ที่ต้องการ แล้วแสดงออกมาในรูปแบบของแผนที่ รวมไปถึงลิ้งค์ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ อีกด้วย

การสืบค้นวีดิโอด้วย Search Engine

         ขั้นตอนการสืบค้นวีดิโอด้วย Search Engine

           1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.youtube.com/

           2. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box

           3. กดที่ปุ่ม “search”

           4. ระบบจะทำการค้นหาวีดิโอที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงวีดิโอที่ค้นหาพบ


การสืบค้นคำศัพท์ด้วย Search Engine

         ขั้นตอนการสืบค้นคำศัพท์ด้วย Search Engine

           1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://dict.longdo.com

           2. พิมพ์คำศัพท์ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box

           3. เลือกบริการ “dictionary”

           4. กดที่ปุ่ม “submit”

           5. ระบบจะทำการค้นหาคำศัพท์ที่ต้องการพร้อมคำแปล


การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ

เมื่อทำการสืบค้นหรือค้นหาข้อมูลสารสนเทศได้แล้วถ้าต้องการที่จะจัดเก็บข้อมูลที่ค้นหาเหล่านั้นไว้ใช้งานต่างๆ ต่อไปนี้ ก็ต้องดำเนินการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งมีวิธีจัดเก็บดังนี้  

การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบของข้อความ จะมีไฟล์ข้อมูลที่จะต้องทำการจัดเก็บใน 3 รูปแบบ คือ

1.1ข้อความที่ปรากฏอยู่หน้าเว็บไซต์


แล้วคลิกที่ Copy(คัดลอก)

ทำการเปิดโปรแกรม Microsoft Word หรือโปรแกรมที่ต้องการ แล้วคลิกเมาส์ข้างขวาบริเวณตำแหน่งที่ต้องการวาง เสร็จแล้วให้คลิก Paste (วาง)

1.2ข้อความที่มีรูปแบบไฟล์ .doc

เมื่อทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ จะปรากฏชื่อรูปแบบของไฟล์ ถ้าเป็นข้อมูลที่สร้างโดยโปรแกรม Microsoft Word จะปรากฏชื่อไฟล์ DOC

ให้คลิกที่ชื่อเรื่องที่ต้องการ


จะเริ่มดำเนินการดาวน์โหลดข้อมูล


ให้คลิกที่ชื่อไฟล์ข้อมูลที่ทำการดาวน์โหลดเสร็จแล้ว เพื่อดำเนินการเปิดข้อมูล  ทำการจัดเก็บข้อมูลโดยคลิกที่ File (แฟ้ม) ที่เราต้องการ แล้วคลิก Save (บันทึก)


1.3 ข้อความที่มีรูปแบบไฟล์ .pdf

ไฟล์ PDF  เป็นไฟล์ที่เปิดด้วยโปรแกรม Acrobat ซึ่งจะปรากฏชื่อไฟล์ PDF


ให้ทำการคลิกชื่อไฟล์ข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ จะปรากฏกรอบให้ทำการดาวน์โหลด ดังนี้



ทำการจัดเก็บข้อมูลโดยคลิกที่ File (แฟ้ม) ที่เราต้องการ แล้วคลิก Save (บันทึก)


1.4ข้อความที่มีรูปแบบไฟล์ .ppt



ไฟล์PPT เป็นแฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บโดยใช้โปรม Microsoft PowerPoint ซึ่งเมื่อคลิกที่บริเวณชื่อจะปรากฏชื่เรื่องที่ต้องหารแล้ว จะปรากฏกรอบให้ดาวน์โหลดดังนี้




ทำการจัดเก็บข้อมูลโดยคลิกที่ File (แฟ้ม) ที่เราต้องการ แล้วคลิก Save (บันทึก)

จะปรากฏรายละเอียดของเรื่องที่เราต้องการในรูปแบบของไฟล์ PowerPoint


การเตรียมการค้นคืนสารสนเทศ

การเข้าถึง(Access)

เป็นวิธีการที่ผู้ใช้สามารถค้น ค้นหา ค้นคืน และได้รับสารสนเทศ ที่เข้าถึงเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่สถาบันบริการสารสนเทศและแหล่งต่างๆ จัดเก็บไว้บริการผู้ใช้

การค้นหา(Searching)

เป็นการป้อนคำสั่งโดยผู้ค้นเตรียมประโยคหรือคำค้นไว้ และปฏิสัมพันธ์กับระบบค้นคืนและพิจารณาผลที่ได้รับ ซึ่งเป็นขั้นตอนในกระบวนการค้นหา

การค้นคืน (Retrieval)

หมายถึง การได้รับสิ่งต้องการกลับคืนมา

การค้นคืนสารสนเทศ จึงเป็นการกระทำใดๆที่คัดเลือกสารสนเทศจากแหล่งเก็บเพื่อทำให้ได้รับสารสนเทศตามที่ต้องการซึ่งอาจเป็นข้อมูล หรือรายการเอกสาร ที่มีเนื้อหาที่ต้องการ

หลักสำคัญของการค้นคืนสารสนเทศคือ การค้นหาและนำสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการ ส่งให้ผู้ใช้อย่างรวดเร็ว ทันกาล จึงเรียกว่า ระบบการค้นคืนสารสนเทศ  เช่น บัตรรายการ สิ่งพิมพ์ดรรชนี เป็นต้น

สรุป การจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ คือ กระบวนการในการรวบรวมรายละเอียดของสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการกลับคืนมาได้สะดวกและรวดเร็ว ด้วยวิธีและเทคนิกอย่างเป็นขั้นตอน

การเตรียมการในการค้นคืนสารสนเทศ มีขั้นตอนในการปฏิบัติ ดังนี้

1.การเตรียมรายละเอียดข้อมูลที่ต้องการ

WHO หมายถึงเรื่องราวที่กำลังต้องการค้นหาเกี่ยวกับใคร ได้มีการปรึกษาบุคคลอื่นก่อนหรือไม่และมีการพูดคุยกับกลุ่มหรือบุคคลเป้าหมายใดบ้าง

WHAT หมายถึง ต้องการสนเมศอะไรบ้างหรือประเภทใดบ้างที่ต้องการการคาดว่าทรัพยากรสารสนเทศใดมีประโยชน์สูงสุดต่อการค้นหา มีการตรวจสอบทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อย่นระยะเวลาในการค้นหาและรูปแบบสารสนเทศที่ต้องการเป็นอย่างไร

WHERE หมายถึง ข้อมูลที่ต้องการค้นหาเกิดขึ้นที่ไหน สามารถค้นพบได้แหล่งใด และในอนาคตจะสามารถค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้จากที่ไหน

WHY หมายถึง จะต้องการสารสนเทศมากน้อยแค่ไหน จะนำทรัพยากรสารสนเทศที่รวบรวมมาได้มาสังเคราะห์อย่างไร มีงบประมาณเท่าไร เพียงพอ หรือไม่ที่จะสืบค้น  วิธีการค้นหาข้อมูลมี 2 แบบ ทั้งแบบ ออนไลน์ และแบบออฟไลน์ จะขอความช่วยเหลืออย่างไรถ้าเกิดปัญหา และการอ้างอิงทำอย่างไร

2.พิจารณาเลือกฐานข้อมูลโดยให้คำนึงถึง

-ขอบเขตเนื้อหาสาระของสารสนเทศในฐานข้อมูล

-ระยะเวลาของส่ารสนเทศที่บันทึกอยู่ในฐานข้อมูล

-ราคาค่าใช้จ่ายที่ต้องการสืบค้นฐานข้อมูล

-ภาษาของสารสนเทศ

-จำนวนสารสนเทศที่มีอยู่และการเพิ่มขึ้นของข้อมูล

-ลักษณะของสารสนเทศที่ให้เป็นสารสังเขป หรือข้อมูลเต็บรูป

-บริการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ เช่น การพิมพ์ผลการสืบค้น หรือการส่งข้อมูลผ่าน E-Mail


การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศ

การเก็บรวบรวมข้อมูล

         การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการทางสถิติที่มีความสำคัญ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับกรอบแนวความคิด สมมุติฐาน เทคนิคการวัด และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งหมายรวมทั้ง การเก็บข้อมูล (Data Collection) คือ การเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่ และการรวบรวมข้อมูล (Data Compilation) ซึ่งหมายถึง การนำเอาข้อมูลต่างๆที่ผู้อื่นได้เก็บไว้แล้ว หรือรายงานไว้ในเอกสารต่างๆ มาทำการศึกษาวิเคราะห์ต่อ

การตรวจสอบข้อมูล

   เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และมีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ข้อมูลที่จัดเก็บต้องถูกต้องและเชื่อถือได้เพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย

การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล

  การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้มข้อมูลนั้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง การไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าในเรื่องอะไรส่วนใหญ่จะรวบรวมข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น


การจัดเรียงข้อมูล

  ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง

การคำนวณ

      ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณจำนวนที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม

การทำรายงาน

  การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น เพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ

การจัดเก็บ

     ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้เพื่อใช้ในภายหลัง การจัดเก็บสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นบันทึกหรือซีดีรอม

การทำสำเนา

      หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว

การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล

      เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้ สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่าย เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้การเผยแพร่ทำได้กว้างขวางมากขึ้น

ประโยชน์ของระบบโอแพค (OPAC)

วิธีการใช้ระบบ OPAC

ตัวอย่างการใช้ระบบ OPAC

ไปที่หน้าเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ www.carit.rmutk.ac.th

คลิ๊กที่ opac

รูปแสดงหน้าเว็บสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

หน้าจอพื้นฐานในการใช้งานโปรแกรม

เมื่อเปิดหน้าเว็บ OPAC จะปรากฎหน้า การสืบค้นทั่วไป เป็นหน้าแรก ซึ่งจะเป็นหน้าจอหลักที่ผู้ใช้บริการ ใช้ในการค้นหามากที่สุด และประกอบไปด้วยเมนูการเข้าถึงอื่นๆ ดังต่อไปนี้

รูปแบบหน้าแรกของเว็บบริการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC)

การสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Search)

ในการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบ OPAC สามารถสืบค้นรายการทรัพยากรสารสนเทศแบ่งตามความซับซ้อน ได้ 3 รูปแบบ ดังนี้ การสืบค้นทั่วไป (Basic search)

ป้อนคำค้นในช่อง ค้นหา โดยการป้อนคำค้นสามารถป้อนได้ดังนี้

หมายเหตุ ใช้สำหรับการสืบค้นประเภทคำสำคัญ (Keyword) เท่านั้น


รูป แสดงหน้าจอการสืบค้นทั่วไป

เลือกประเภทการสืบค้น รูปแบบประเภทการสืบค้นมีดังนี้

เลือกการจำกัดผลการค้นหา (Limit Search)

การจำกัดผลการค้นหาเป็นการเลือกจำกัดกลุ่มข้อมูลที่ต้องการสืบค้น สามารถจำกัดได้จากการสืบค้นทั้งแบบเรียงตามตัวอักษรและคำสำคัญโดยเลือก จะปรากฏตัวเลือกสำหรับให้จำกัด ดังนี้

รูปแสดงตัวเลือกในการ limit search

รูปแสดงตัวอย่างผลการสืบค้นแบบ Basic Search

การสืบค้นแบบขั้นสูง (Avanced Search)

การสืบค้นแบบขั้นสูง ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้พร้อมกันสูงสุดครั้งละ 3 เขตข้อมูล พร้อมทั้งใช้ตัวเชื่อมทางตรรกะ (AND,OR,NOT)และจำกัดเขตข้อมูลด้วยตัวเลือก

ต่างๆเช่น ค้นด้วยชื่อเรื่อง(Title)พร้อมทั้งชื่อผู้แต่ง(Author)ในห้องสมุดกลาง เป็นต้น มีขั้นตอนการสืบค้นดังนี้

รูปแสดงหน้าจอสืบค้นแบบขั้นสูง

รูปแสดงวิธีการสืบค้นแบบขั้นสูง

รูปแสดงตัวอย่างผลลัพธ์การสืบค้นแบบขั้นสูง

ผลการสืบค้นด้วยวิธีต่างๆ แบ่งได้ 2 แบบดังนี้

การแสดงผลลัพธ์การสืบค้น คำสำคัญ หรือใช้คำนำหน้าและในกรณีที่มีคำนำหน้ามากกว่าหนึ่งคำ ข้อมูลที่แสดงจะเป็นรายการบรรณานุกรมที่เกี่ยวข้องกับคำค้นที่ป้อน ดังรูป

รูปแสดงตัวอย่างผลลัพธ์ของการสืบค้นคำสำคัญ

ข้อมูลที่จะแสดงประกอบด้วย

รายละเอียดของบรรณานุรมสามารถปรับแต่งได้โดยการ คลิก หน้าข้อมูลที่ต้องการให้แสดงหากจำนวนรายการระบุผลลัพธ์มากกว่าจำนวนรายการต่อหน้า ทีได้ระบุไว้ จะปรากฏหมายเลขหน้าด้านล่าง โดยแต่ละหมายเลขสามารถเชื่อมโยงไปยังผลลัพธ์หน้าอื่นๆได้สามารถดูรายละเอียดทางบรรณานุกรมของรายการได้ โดยคลิ๊กที่รายการที่ต้องการ จากนั้นระบบจะแสดงรายละเอียดทางบรรณานุกรมของรายการนั้นๆดังรูป

รูปแสดงรายละเอียดทางบรรณานุกรม

ในส่วนของรายละเอียดทางบรรณานุกรม สามารถเลือกประเภทการแสดงข้อมูลได้ดังนี้

แบบย่อ (Brief) คือ การแสดงข้อมูลแบบย่อ เลือกการแสดงผลแบบย่อโดยการกดปุ่ม แบบย่อ จะปรากฏข้อมูล ดังรูป

รูป แสดงข้อมูลในแบบ (Brief)

แบบครบถ้วน (Full) คือ การแสดงผลแบบเต็ม โดยการกดปุ่ม แบบครบถ้วน จะปรากกฎข้อมูลดังรุป

รูป แสดงข้อมูลในรูปแบบครบถ้วน

แบบ (MARC) คือ การแสดงข้อมูลในรูปแบบมาตรฐานมาร์ค เลือกการแสดงผลแบบ มารค์ โดยการกดปุ่ม มาร์ค จะปรากฏข้อมูล ดังรูป

การแสดงผลลัพธ์การสืบค้นแบบคำขึ้นต้น(Alphabetic) หรือ คำนำหน้า ข้อมูลที่แสดงประกอบด้วย 3 คอลัมน์ ดังนี้

หากผลลัพธ์ที่เจอมีมากกว่า 1 รายการจะแสดงรายการตามลำดับ

รูปแสดงตัวอย่างผลลัพธ์ของการสืบค้นแบบชื่อเรื่อง (คำขึ้นต้น)

หากจำนวนรายการผลลัพธ์มากกว่าจำนวนรายการต่อหน้าที่ระบุไว้ จะปรากฏหมายเลขหน้าด้านล่าง โดยแต่ละหมายเลขสามารถเชื่อมโยงไปยังผลลัพธ์หน้าอื่นๆได้ เมื่อเลือกรายการผลลัพธ์ที่มีจำนวนระเบียนบรรณานุกรมเกี่ยวข้องเพียง 1 รายการ(พบเป็น 1) จะเชื่อมโยงไปยังหน้ารายละเอียดทางบรรณานุกรมได้เลย รายการผลลัพธ์ที่มีจำนวนระเบียนบรรณานุกรมเกี่ยวข้องมากกว่า 1 รายการ (พบมากกว่า 1) จะเชื่อมโยงไปยังหน้ารายการบรรณานุกรมที่เกี่ยวข้องกับรายการนั้นๆ รายการบรรณานุกรมแต่ละรายการสามารถเชื่อมโยงไปยังหน้ารายละเอียดทางบรรณานุกรม

รูป แสดงรายการบรรณานุกรมที่เกี่ยวข้อง

ข่าวและสถิติต่างๆของห้องสมุด (Library News and Statistics)

ผู้ใช้สามารถอ่านข่าวสารจากห้องสมุดและสถิติต่างๆของห้องสมุดได้โดยทางเมนู เมนูหลัก (Main Menu) โดยจะมีเมนูย่อยๆอีกมากมายสำหรับให้ผู้ใช้ทั่วไป,สมาชิกของห้องสมุด และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดสามารถเข้ามาใช้งานฟังก์ชันต่างๆ

รูป แสดงเมนูหลัก (Main Menu)

ข่าวสารห้องสมุด (Library New)

ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดูข้อมูลข่าวสาร รวมถึงคำแนะนำต่างๆที่ทางห้องสมุดประกาศไว้บนเว็บ OPAC ได้โดยเลือกเมนู ข่าวสารห้องสมุด (Library New)

รูป แสดงหน้าจอแสดงข่าวสารของห้องสมุด

สถิติทรัพยากรห้องสมุด (Library Statistics)

ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดูข้อมูลสถิติต่างๆภายในห้องสมุดได้ เช่น ข้อมูลของทรัพยากร หรือ ข้อมูลสมาชิก เป็นต้น สถิติทรัพยากรห้องสมุด (Library Statistics) ซึ่งในส่วนของสถิติทรัพยากรผู้ใช้สามารถเลือกดูข้อมูลได้ว่าต้องการดูข้อมูลการนับสถิติแบบบรรณานุกรม หรือ แบบตัวเล่ม

  รูป แสดงหน้าจอสถิติทรัพยากรห้องสมุด

รายชื่อบทความมาใหม่ (New Article List)

ผู้ใช้ทุกคนสามารถดูรายชื่อบทความมาใหม่ประจำเดือนต่างๆได้โดยเข้าไปดูที่ New Article List ซึ่งสามารถดูรายชื่อบทความย้อนหลังได้ภายใน 1 ปี

รูป แสดงตัวอย่างบทความมาใหม่

หนังสือสำรอง (Book Reserved)

หนังสือที่สำรองไว้ ผู้ใช้จะสามารถยืมได้ 3 วัน เพื่อพิจารณาการตัดสินใจยืมผู้ใช้ทั่วไปสามารถดูข้อมูลของหนังสือที่มีการสำรองไว้ได้ โดยที่เลือกเมนูหนังสือสำรอง Book Reserved และผู้ใช้สามารถค้นหาได้จากเงื่อนไขของ ชื่ออาจารย์ ชื่อวิชา ห้องสมุดที่ทำทรัพยากรสำรอง

ข้อมูลสมาชิก (Patron Information)

เมนูหลักได้รวมฟังก์ชันในการจัดการ และการใช้งานห้องสมุดสำหรับสมาชิก เช่น การสมัครสมาชิก การยืมต่อ การแนะนำทรัพยากร เป็นต้น ทำให้สมาชิกสามารถทำรายการต่างๆ ได้ผ่านทางเว็บ OPAC ได้โดยไม่ต้องไปติดต่อผ่านทางงานบริการที่ห้องสมุดอีกต่อไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

การสมัครเป็นสมาชิกของบุคคลทั่วไป (Patron Register) ผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการจะสมัครสมาชิก สามารถทำได้ดังนี้

รูป แสดงหน้าจอการสมัครสมาชิกของบุคคลทั่วไป

รูป แสดงหน้าจอเมื่อบันทึกข้อมูลแล้ว

รูป แสดงข้อมูลสมาชิกที่ทำการสมัครสมาชิกเข้ามาใหม่

การเข้าใช้งานระบบ (Login) OPAC

การเข้าสู่ระบบ มีขั้นตอนดังนี้

รูป แสดงหน้าจอการเข้าสู่ระบบ

การตั้งรหัสผ่านใหม่ (Reset Password)

ในกรณีที่สมาชิกลืมรหัสผ่าน สามารถสั่งให้ระบบทำการยกเลิกรหัสผ่านเดิม และส่งรหัสผ่านใหม่มาให้โดยสามารถทำได้ดังนี้

การเข้าถึงข้อมูลสมาชิก (Patron Profile)

สมาชิกของระบบห้องสมุดสามารถเข้าถึงไปดูข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองได้ โดยเลือกเมนู ข้อมูลสมาชิก (Patron Information) เพื่อเข้าไปยังส่วนของข้อมูลสมาชิก จะปรากฏหน้าจอเริ่มต้น (ตามการตั้งค่าในส่วนของผู้ดูแลระบบ) พร้อมมีเมนูย่อยแสดงข้อมูลอื่น ได้แก่

ข้อมูลสมาชิก (Patron Profile)

รูป แสดงข้อมูลประวัติส่วนตัวของสมาชิก

ในส่วนของข้อมูลสมาชิกนอกจากการดูประวัติของสมาชิกแล้ว ยังสามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคนได้ รวมทั้งการเปลี่ยนรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบของสมาชิกด้วย โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.การปรับปรุงข้อมูลประวัติส่วนตัวของสมาชิก มีขั้นตอนดังนี้

รูป แสดงการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว

2.การเปลี่ยนรหัสผ่านมีขั้นตอนดังนี้

รูป แสดงหน้าจอการเปลี่ยนรหัสผ่าน

ข้อความแจ้งเตือน (Messages)

แสดงข้อความที่ห้องสมุดส่งให้สมาชิก เช่น ข้อความค้างค่าปรับ ข้อความแจ้งเตือนหนังสือที่จอง แจ้งเตือนการลืมบัตรห้องสมุด เป็นต้น เรียกดูโดยการเลือก ข้อความแจ้งเตือน

รูป แสดงข่าวสารที่ห้องสมุดแจ้งมายังสมาชิก

หนี้ (Debt)

แสดงค่าปรับ จากการยืมทรัพยากรเกินเวลาคืน Debt เรียกดูโดยการเลือก หนี้ จากแถบเมนูด้านบน

รูป แสดงค่าปรับจากการยืมทรัพยากรสารสนเทศ

รายการยืม (Checked Out Items)

แสดงรายการทรัพยากรที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน เรียกดูโดยการเลือก รายการยืมจากแถบเมนูด้านบน

รูป แสดงรายการยืมทรัพยากรของสมาชิก

ประวัติการยืม (Cheeked Out History)

แสดงประวัติ การยืมของสมาชิก ไว้ เรียกดู โดยการเลือก ประวัติการยืม จากนั้นเลือกช่วงเวลาที่ต้องการดูข้อมูลโดยเลือก คลิก ที่ ปฏิทิน หรือ ป้อนวันที่ในรูปแบบ วัน/เดือน/ปี ค.ศ. หลังจากนั้นกดปุ่ม เรียกดูประวัติเพื่อดูข้อมูล

รูป แสดงข้อมูลประวัติการยืมของสมาชิก

การต่ออายุการยืมทรัพยากร (Renew)

การยืมต่อทรัพยากร มีขั้นตอนดังนี้

รูป แสดงการเลือกรายการที่ต้องการต่ออายุการยืม

รูป แสดงการยืนยันเพื่อต่ออายุการยืม

รูป แสดงการแจ้งผลการต่ออายุการยืม

รูป แสดงหน้าจอรายการยืมทรัพยากรหลังจากเสร็จสิ้นการต่ออายุสมาชิก

การจองทรัพยากร (Hold)

การจองทรัพยากร มีขั้นตอนดังนี้

รูปแสดงการจองทรัพยากรสารสนเทศ

การจัดเก็บ

ระบบOPAC จะช่วยในการจัดเก็บข้อมูล หลังจากที่ดำเนินการค้นคืนแล้ว โดยมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

การส่ง

การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศ

1.การเก็บรวบรวมข้อมูล

            การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการทางสถิติที่มีความสำคัญ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับกรอบแนวความคิด สมมุติฐาน เทคนิคการวัด และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งหมายรวมทั้ง การเก็บข้อมูล (Data Collection) คือ การเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่ และการรวบรวมข้อมูล (Data Compilation) ซึ่งหมายถึง การนำเอาข้อมูลต่างๆที่ผู้อื่นได้เก็บไว้แล้ว หรือรายงานไว้ในเอกสารต่างๆ มาทำการศึกษาวิเคราะห์ต่อ

2.การตรวจสอบข้อมูล

      เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และมีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ข้อมูลที่จัดเก็บต้องถูกต้องและเชื่อถือได้เพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย

3.การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล

  การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแฟ้มข้อมูลนั้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง การไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าในเรื่องอะไรส่วนใหญ่จะรวบรวมข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

4.การจัดเรียงข้อมูล

  ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง

5.การคำนวณ

      ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ข้อความ และตัวเลข ดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณจำนวนที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม

6.การทำรายงาน

  การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งาน จะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น เพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ

7.การจัดเก็บ

     ข้อมูลที่มีการสำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ จำเป็นต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้เพื่อใช้ในภายหลัง การจัดเก็บสมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นบันทึกหรือซีดีรอม

8.การทำสำเนา

      หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้ การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายและรวดเร็ว

9.การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล

      เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้ สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่าย เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยให้การเผยแพร่ทำได้กว้างขวางมากขึ้น

ประเภทของไฟล์ข้อมูล

การดำเนินการข้อมูลสารสนเทศ ในส่วนของการค้นหา ค้นคืน ส่งผ่านหรือจัดเก็บจะมีรูปแบบของไฟล์ข้อมูลหลายประเภทด้วยกัน ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 3 ประเภท คือ

  1.     ไฟล์ PDF

 2.    ไฟล์ DOCX

 3.     ไฟล์ PPTX

ไฟล์ทั้ง 3 รูปแบบ เมื่อพิมพ์ชื่อที่ต้องการค้นหา จะแสดงลักษณะของไฟล์ขัอมูลปรากฏ ดังนี้

ไฟล์ PDF

ไฟล์ pdf เป็นไฟล์ที่เปิดด้วยโปรแกรม  Acrobat  เมื่อคลิกแล้ว จะปรากฏกรอบให้ทำการดาวน์โหลด ดังนี้

ให้คลิกที่ปุ่ม เริ่มดาวน์โหลด รอสักครู่ กรอบการดาวน์โหลด จะแสดงการดาวน์โหลดเสร็จสมบูรณ์ถ้าต้องการเปิดดู ให้คลิกที่ปุ่ม เปิดแต่ถ้าต้องการเก็บไว้ก่อน จะเปิดดูภายหลัง ก็ให้คลิกปุ่ม ปิด

เมื่อเปิดดูแล้ว จะปรากฏรายละเอียดของไฟล์ที่ต้องการ แต่ถ้าต้องการบันทึกไว้ โดยทำการเปลี่ยนชื่อและเปลี่ยนแหล่งเก็บข้อมูล D0wnload เป็นแหล่งอื่น ให้ทำการคลิกที่เมนู File แล้วเลือก Save as เสร็จแล้วทำการเปลี่ยนชื่อและแหล่งเก็บข้อมูลตามที่ต้องการ

ไฟล์  DOCX

ไฟล์  DOCX  เป็นข้อมูลที่จัดทำโดยโปรแกรม  Microsoft  Word เลือกคลิกแล้ว โปรแกรมจะทำการดาวน์โหลดไว้บริเวณด้านล่างของจอ

เมื่อต้องการเปิดอ่าน ให้คลิกชื่อไฟล์ที่ปรากฏอยู่

ไฟล์ PPTX

ไฟล์ PPTX  เป็นแฟ้มข้อมูลที่จัดทำโดยใช้โปรแกรม  microsoft power point ซึ่งเมื่อคลิกที่บริเวณชื่อเรื่องที่ต้องการแล้ว จะปรากฏกรอบให้ทำการดาวน์โหลด ดังนี้   

ให้ทำการคลิกที่ปุ่ม เริ่มดาวน์โหลด เมื่อเสร็จแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม เปิด

จะปรากฏรายละเอียดของเรื่องที่ต้องการในรูปแบบของไฟล์  power point