3105-0002 เขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

การเขียนแบบและอ่านแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์

ใบความรู้ รายวิชา งานอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นเรื่อง  การเขียนแบบ และอ่านแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์          การเขียนแบบและอ่านแบบ เป็นความรู้พื้นฐานของงานช่างไฟฟ้า เนื่องจากเป็นสื่อกลาง ในการสื่อสารระหว่างช่างไฟฟ้าและบุคคลที่เกี่ยวข้อง การเขียนแบบและอ่านแบบมีความสำคัญ ต่องานไฟฟ้า ทั้งนี้เพราะจะนำเสนองานประเภทเส้นทางการเดินสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ ต้องการติดตั้งเป็นหลัก 

          การเขียนแบบในงานไฟฟ้ามักจะแสดงรายละเอียดของกระแสไฟฟ้า ค่าความต้านทาน หรือรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็นในการติดตั้งสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า  งานติดตั้งระบบไฟฟ้าหรืองานปฏิบัติการเดินสายไฟฟ้า ถ้าเขียนในรูปของอุปกรณ์ งานจริงจะทำให้เสียเวลามาก ดังนั้นต้องมีการ

เขียนแบบและอ่านแบบ การที่จะเขียนแบบและอ่านแบบได้นั้น จำเป็นต้องกำหนดสัญลักษณ์ขึ้นมา

แทนอุปกรณ์งานจริง เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ในการปฏิบัติงาน 

          สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบและการเดินสายไฟฟ้าได้กำหนดไว้หลาย มาตรฐาน ได้แก่ 

          - DIN (Deutsches Institute fur Normung e.V.) เป็นมาตรฐานการเขียนแบบของ เยอรมัน 

          - ANSI (American National Standard Institute) เป็นมาตรฐานการเขียนแบบของ สหรัฐอเมริกา 

          - IEC (International Electrotechnical Commission) เป็นมาตรฐานสากลทางไฟฟ้า นานาชาติ 

          - JIS (Japan Industrial Standard) สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น

          วิธีเขียนวงจรที่ถูกต้อง

         อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายตัวเมื่อนำมาประกอบกันจึงกลายวงจร วงจรหนึ่ง อุปกรณ์แต่ละชนิดแต่ละแบบ มีหน้าที่ในการทำงานแตกต่างกันไป ตลอดจนขาของอุปกรณ์แต่ละขาก็ทำหน้าที่แตกต่างกันไปเช่นกัน การเข้าใจหลักในการทำงานของอุปกรณ์แต่ละตัว เข้าใจหน้าที่การทำงานของขาอุปกรณ์แต่ละขา จึงถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ช่างอิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่าน ทำความเข้าใจวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้ และสามารถวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้ว่าผิดหรือถูก

         ประสบการณ์จากการฝึกทักษะในการเขียนวงจร ในการอ่านวงจร และในการประกอบทดลองวงจร จะมีส่วนช่วยเพิ่มประสบการณ์หรือ ทักษะทางช่างอิเล็กทรอนิกส์ ได้มาก ช่วยทำให้เกิดความคุ้นเคย เกิดความเข้าใจและความชำนาญ จนสามารถวิเคราะห์วงจรได้ ดัดแปลงวงจรได้ และออกแบบวงจรได้ การฝึกฝนในการเขียนวงจร ในการอ่าน วงจรทางอิเล็กทรอนิกส์จึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่นักศึกษา ที่เรียนในช่างอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องเรียนทุกคน ตลอดจนต้องมีความรอบคอบ ระมัดระวังเอาใจใส่ และหัดสังเกตวงจร ต่าง ๆ จนสามารถแยกแยะวงจรที่ถูกต้อง หรือวงจรที่บกพร่องได้

ข้อบกพร่องในการเขียนวงจร

1.   เขียนอุปกรณ์ไม่ได้ขนาด แต่ละวงจรที่ออกแบบขึ้นมา จะประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิด และต่างขนาดกัน ดังนั้นการเขียนสัญลักษณ์ของอุปกรณ์ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

2.   รายละเอียดอุปกรณ์ไม่ครบ อุปกรณ์บางชนิดมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่บอกถึงส่วนประกอบอันแสดงถึงหน้าที่ของส่วนประกอบนั้น โดยเฉพาะ อุปกรณ์ประเภท ไอซี อุปกรณ์ประเภทที่มีขั้ว เป็นต้น

3.   บอกตำแหน่งอุปกรณ์ไม่ถูกต้อง การบอกตำแหน่งขาของอุปกรณ์ไม่ถูกต้อง เกิดผลต่อการนำไปใช้งานในทางปฏิบัติ ทำให้ผลทาง การปฏิบัติไม่เป็นไปตามต้องการ เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์นั้น ๆ และ อุปกรณ์ที่ใช้ต่อร่วม

                                                                                   แบบฝึกการเขียนสัญลักษณ์อิเล็กทรอนิกส์ 1

 

                                                                                      แบบฝึกการเขียนสัญลักษณ์อิเล็กทรอนิกส์ 2

                                                                                           แบบฝึกการเขียนสัญลักษณ์อิเล็กทรอนิกส์ 3

                                                                                     แบบฝึกการเขียนสัญลักษณ์อิเล็กทรอนิกส์ 4  

 

 ตัวอย่างวงจรอิเล็กทรอนิกส์  

      

     การเขียนวงจร โดยทั่วไปในการเขียนวงจรอิเล็กทรอนิกส์นั้น เท่าที่สังเกตจะมีการเขียน หลายรูปแบบคือ การเขียนแบบครบวงจรซึ่งแบบนี้เหมาะกับวงจรขนาดเล็ก ไม่ซับซ้อนเกินไป ( หรือ จะใช้กับวงจรที่ใหญ่ก็ได้) 

 

 

  รูปการเขียนวงจรทั่วไป      การเขียนแบบย่อ โดยมากการเขียนแบบนี้จะแยกกันทำให้วงจรดูสบายตามากขึ้น 

               

                             

 รูปการเขียนวงจรย่อ

   จากรูปจะเห็นว่าจะตัดในส่วนของแหล่งจ่ายไฟออก และจะเขียนเพียง แรงดันที่เข้าไปเลี้ยงส่วนต่างๆแทน การเขียนแบบใช้ตัวอุปกรณ์จริง ซึ่งการเขียนแบบนี้จะทำให้เขาใจง่ายขึ้นโดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีจำนวนขามาก 

                            

                                         

รูปการเขียนวงจรอุปกรณ์จริง

            จากรูปจะเห็นว่า รูปทางด้านซ้ายมือคือวงจรทั่วไป ส่วนทางขวามือจะเปรียนรูปแบบการเขียน เพื่อให้ง่ายต่อการต่อวงจรมากยิ่งขึ้น การเขียนแบบลงบนโพโตบอร์ด การเขียนแบบนี้จะเน้นไปที่การต่อวงจรจริง ซึ่งผู้อ่านจะรู้สึกว่าทำตามได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับวงจรมากนัก 

                                                 

รูปการเขียนวงจรโฟโต้บอร์ด

            ในบทความต่อไปในส่วนของอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน จะเป็นเรื่อง แหล่งจ่ายไฟสำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์