การคิดเชิงออกแบบ

การคิดเชิงออกแบบ คืออะไร?

ในกระบวนการคิดเชิงออกแบบจะมีขั้นตอนที่ต้องสร้างต้นแบบ( Prototype) ซึ่งจะเป็นการสร้างต้นแบบเบื้องต้นอย่างง่ายๆโดยอาจสร้างต้นแบบเป็นภาพ 3 มิติ ภาพวาด แสดงละครจำลองสถานการณ์ หรือสร้างบทภาพก็ได้ การคิดเชิงออกแบบจะทำให้ต้นแบบที่เราต้องการสร้างมีข้อผิดพลาดน้อยมาก

การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดีในยุคที่ประเทศไทยมีนโยบายที่เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่มีการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ หรือสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก เช่น ข้าวไทย ซึ่งมีมูลค่าต่อหน่วยให้ประเทศค่อนข้างต่ำไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรมซึ่งสร้างมูลค่าให้ประเทศสูงขึ้น เช่น การนำกากน้ำมันรำข้าวมาพัฒนาเป็นครีมเคลือบเงาอเนกประสงค์ที่ปราศจากกลิ่นเหม็นและสารเคมี และยังช่วยลดการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ภายในรถยนต์ เช่น เบาะหนัง รวมทั้งสามารถป้องกันแสง UV ได้ด้วย

สินค้าโภคภัณฑ์และสินค้าเชิงนวัตกรรม

ความแตกต่างระหว่างการคิดเชิงออกแบบ และการคิดเชิงวิศวกรรม

หากดูไม่ได้คลิกที่นี่: https://youtu.be/-Ejm7tJzRC8

แนวคิดของการคิดเชิงออกแบบ

การคิดเชิงออกแบบ เป็นกระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ต้องค้นหาประสบการณ์ของผู้ใช้ (User experience) เพื่อพัฒนาต้นแบบออกมาทดลองในการตลาด (Interative prototyping) จากนั้นเมื่อทดลองใช้และได้รับผลตอบกลับจากผู้ใช้ที่มีการใช้งานจริง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ (Stakeholder Feedback) จึงนำมาปรับปรุง และผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป

การคิดเชิงออกแบบจึงเป็นกระบวนการออกแบบที่เรียนรู้จากผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางอย่างลึกซึ้ง ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าการคิดเชิงออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของผู้ใช้อย่างแท้จริง

การคิดเชิงออกแบบของขวดซอสมะเขือเทศซึ่งครั้งแรกการออกแบบให้ใส่ในขวดแก้วใส เพื่อต้องการให้ลูกค้าเห็นคุณภาพของซอสข้างใน เพราะเชื่อว่าจะกระตุ้นความอยากกิน แต่ต่อมาผู้ผลิตได้สอบถามจากประสบการณ์ของผู้ใช้งานจนพบว่า ผู้ใช้มักมีปัญหากับการเทซอสจากขวด จึงได้พัฒนาเป็นขวดพลาสติกแบบบีบ และเมื่อเจาะลึกประสบการณ์ของผู้ใช้พบว่า เวลาซอสใกล้จะหมดขวดผู้ใช้จะต้องพลิกขวดคว่ำไปมาเพื่อให้ซอสไหลออกมา ผู้ผลิตจึงพัฒนาจนออกมาเป็นขวดพลาสติกที่คว่ำลงซึ่งตอบสนองต่อการใช้ของผู้ใช้งาน ทำให้ยอดขายของผลิตภัณฑ์สูงขึ้น ด้วยการคิดเชิงออกแบบมีแนวคิด 3 ขั้นตอนดังนี้

การคิดเชิงออกแบบ

1. การเข้าใจปัญหาอย่างถูกต้อง ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง เป็นขั้นตอนที่มีบทบาทต่อการกำหนดทิศทางในการแก้ไขปัญหา โดยควรตั้งคำถามที่ถูกต้องเท่านั้นจึงจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็นการคิดเชิงออกแบบมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง คือ การออกแบบโดยนำคนที่เราต้องการจะแก้ไขปัญหาให้เป็นศูนย์กลาง ตัวอย่างเช่น หากเป็นหมอหรือพยาบาลที่ต้องการสร้างสรรค์บริการที่ดีควรเริ่มพี่การทำความเข้าใจความต้องการของคนไข้ หรือหากเป็นครูที่ต้องการพัฒนาการเรียนการสอนของตัวเองควรเริ่มที่การทำความเข้าใจนักเรียน

2. การคิดแบบไม่มีกรอบ ขั้นตอนนี้เป็นการทำให้ข้ามผ่านอุปสรรคสำคัญที่ทำให้นวัตกรรมใหม่ไม่เกิด คือ กรอบแนวคิดในกระบวนการคิดเชิงออกแบบซึ่งจะมุ่งเน้นการแจกการสร้างสรรค์แนวคิดออกจากการประเมิน นั่นคือการสร้างแนวคิดออกมาให้มาก แล้วนำแนวคิดเหล่านั้นมาประเมินว่าแนวคิดใดมีความเป็นไปได้บ้าง

3. การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ ขั้นตอนนี้ต่อยอดมาจากขั้นตอนการคิดแบบไม่มีกรอบ ซึ่งหลายครั้งที่ได้แนวคิดมากมาย แต่ไม่ลงมือทำจะทำให้นวัตกรรมไม่เกิดขึ้น ขั้นตอนนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิดดีๆ ให้เป็นรูปร่างด้วยการสร้างต้นแบบ หรือแบบจำลองอย่างง่ายที่สามารถนำไปสืบสานแนวคิดต่อได้ การสร้างต้นแบบ คือ การลงมือทำที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และทำให้เราเห็นชัดเจนขึ้นว่าแนวคิดที่เลือกมานั้นตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือไม่

กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ

เดวิด เคลลี่(David Kelly) ได้นำแนวคิดการคิดเชิงออกแบบมาใช้ในธุรกิจ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และแบ่งกระบวนการคิดของการคิดเชิงออกแบบออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. การทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Empathize)

คือ การทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ใช้ กลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะใช้ ลงที่ไม่ใช้งานผลิตภัณฑ์หรือผู้ที่ใช้ครั้งแรกแล้วจะเลิกใช้ ทั้งเรื่องของปัญหา ความต้องการ ความรู้สึก โดยวิธีการทำความเข้าใจผู้ใช้อย่างลึกซึ้งทำได้ ดังนี้


    1. การสังเกตสิ่งรอบตัวของผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นกิริยาท่าทาง หรือของใช้ส่วนตัว สภาพแวดล้อมทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน เพื่อที่จะทำความเข้าใจในชีวิตของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น

    2. การสัมภาษณ์ ซึ่งมีเทคนิคในการสัมภาษณ์ที่จะได้ข้อมูลอย่างลึกซึ้ง ดังนี้

      • กำหนดทีมสัมภาษณ์ 3 คน ต่อผู้ใช้ที่ให้สัมภาษณ์ 1 คน

      • การเตรียมคำถามปลายเปิดที่เกี่ยวกับปัญหา ความต้องการ ความจำเป็น ซึ่งควรเป็นคำถามกว้าง

      • การสร้างความคุ้นเคย สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เพื่อให้ผู้ใช้เปิดใจและให้ข้อมูลเชิงลึก

      • ทบทวนข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ แล้วสรุปเป็นประเด็นสำคัญ ๆ

2. การระบุปัญหาและกรอบของปัญหา (Define)

คือ การระบุปัญหาหรือประเด็นหลังจากที่ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายด้วยกระบวนการข้างต้น จากนั้นจะนำข้อมูลของผู้ใช้งานทุกคนมาจากกลุ่มของปัญหา และระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไขให้ชัดเจน

3. การหาแนวทางแก้ไข (Ideate)

คือ ขั้นตอนการค้นหาความคิดใหม่ ๆ ที่จะสามารถตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานได้มากที่สุด โดยวิธีการระดมสมอง


      1. หลักการระดมสมอง

        • ต้องกำหนดเวลาในการระดมสมอง เพื่อไม่ให้เกิดการใช้เวลานาน จนทำให้ออกนอกเรื่องไกลเกินไป

        • ให้ทุกคนในกลุ่มสามารถเสนอไอเดียได้ยัง โดยไม่มีการตัดสินว่าไอเดียไหนดีหรือไม่ดี ก็จะทำให้สมาชิกในทีมไม่กล้าแสดงความคิดเห็น

        • จัดกลุ่มของความคิดใหม่ๆทั้งหมดที่ได้มา และจัดความคิดที่เป็นเรื่องเดียวกันหรือเรื่องที่คล้ายกันเอาไว้ด้วยการ เพื่อให้ง่ายต่อการคัดเลือกไอเดีย

        • คัดเลือกไอเดีย โดยตัดที่ใช้ไม่ได้ออก เป็นการทำให้เหลือแต่ทางเลือกที่ดีที่สุด โดยห้ามทิ้งไอเดียที่ตัดออกเด็ดขาด ให้เก็บรวบรวมไอเดียที่ตัดออกไว้ เพราะไอเดียที่มองว่าไม่มีประโยชน์ในวันนี้อาจเป็นไอเดียที่มีประโยชน์ในอนาคตก็ได้

        • นำไอเดียหรือทางที่ได้มาพิจารณาร่วมกันอีกครั้งว่ามีอะไรควรเพิ่มเติมอีกหรือไม่

4. การสร้างต้นแบบ (Prototype)

คือ การสร้างแบบจำลอง เพื่อใช้สื่อสารกับผู้ใช้ว่าไอเดียที่ได้คิดค้นขึ้นมานั้นจะสามารถตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานได้จริงหรือไม่ โดยทำการทดสอบความพอใจของผู้ใช้งาน เพื่อให้ทีมออกแบบสามารถรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนการสร้างผลิตภัณฑ์ การสร้างต้นแบบสามารถทำได้ตั้งแต่การวาดแผนผังบนกระดาษไปจนถึงการสร้างโมเดล ซึ่งมีรูปแบบในการสร้าง ดังนี้

    1. แบบจำลอง 3 มิติ (Moc-Up) เป็นการสื่อสารไอเดียโดยการสร้างแบบจำลอง 3 มิติ ที่จับต้องได้จริงและสามารถทำให้ผู้ใช้งานเห็นภาพของผลิตภัณฑ์ได้ชัดเจน

    2. การสื่อสารด้วยภาพบนกระดาษ (Paper Drawing) การสร้างต้นแบบอ่านการวาดภาพบนกระดาษ ทำได้ทั้งแบบการว่าที่มีรายละเอียดของชิ้นงานน้อยไปจนถึงใส่รายละเอียดลงไปในชิ้นงานที่มากขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้ได้เห็นภาพที่ชัดเจน

    3. การแสดงละครจำลองสถานการณ์ (Role-Play) เป็นการจำลองสถานการณ์โดยการแสดงการใช้เครื่องมือหรือของอุปกรณ์ใช้งาน โดยอาจจะนึกไว้ในรูปแบบของคลิปวีดีโอหรือการสาธิตจริง

    4. การสร้างบทภาพ (Storyboard) เป็นการร่างนำเสนอความคิดซึ่งใช้ในการทำภาพยนตร์หรือละคร โดยระบุเป็นภาพที่การกระทำในแต่ละฉากอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีข้อความ เสียงดนตรี เสียงพูดในแต่ละฉาก

5. การทดสอบ (Test)

คือ ขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่จะช่วยสร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พัฒนาขึ้นจะสามารถตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานได้ตามที่คาดหวังไว้ และรับสิ่งที่ผู้ใช้สะท้อนกลับมาปรับปรุงต่อไป การทดสอบผู้ใช้ต้องมีต้นแบบตามเกณฑ์ประเมิน ดังนี้

    1. การทำงาน เป็นการประเมินประสิทธิภาพในความสามารถของผลิตภัณฑ์หรือบริการ

    2. ราคาต้นทุน เป็นการประเมินจากต้นทุนในการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ และราคาที่ผู้ใช้งานสามารถยอมรับได้

    3. ความสวยงาม เป็นการประเมินถึงความดึงดูดด้านรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์และบริการต่อผู้บริโภคผู้ใช้งาน

    4. การใช้งาน เป็นการประเมินถึงความยากในการใช้งานโดยผู้ใช้งาน

    5. การบำรุงรักษา เป็นการประเมินถึงความทนทานและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา

ถอดความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ของในหลวงรัชกาลที่ 9

การแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ดีไม่ได้เริ่มจากการคิดและค้นคว้าวิจัยในห้องทำงาน หรือศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) แต่เริ่มต้นจากการสัมผัสประสบการณ์ด้วยการลงพื้นที่ เพื่อให้ทราบถึงความต้องการและความรู้สึกของผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างแท้จริงเหมือนดังการสร้างโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชในทุกโครงการ (อ้างอิงนิตยสาร creative Thailand ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 หน้าที่ 6)

1. เข้าใจปัญหา(Empathize)

“เดือดร้อนเรื่องอะไร” สิ่งที่พระองค์ตรัสถามราษฎร เพื่อนำปัญหามาศึกษาทำความเข้าใจสภาพสังคมและภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่

2. การกำหนดปัญหา(Define)

ความเข้าใจในปัญหาอย่างถ่องแท้สามารถนำมามองหาความสัมพันธ์โดยรวม เพื่อนำไปสู่การระบุความต้องการที่แท้จริง ทรงแสดงให้เห็นถึงวิธีคิดแบบนักวิเคราะห์และวิธีคิดเชิงระบบ

3. การหาแนวทางแก้ไขปัญหา(Ideate)

เมื่อระบุปัญหาได้อย่างแม่นยำ การคิดหาทางเลือกสามารถทำได้ด้วยวิธีคิดแบบนักวิทยาศาสตร์และผู้สร้างนวัตกรรม

4. การสร้างต้นแบบ(Prototype)

หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการออกแบบคือการพัฒนา “ต้นแบบ” สำหรับเปลี่ยนความคิดให้เป็นรูปร่าง ขั้นตอนนี้ยังต้องอาศัยทั้งการค้นคว้าทางเทคนิค และความคิดแบบไม่ยอมแพ้ ตัวเราจะเห็นว่าหลักสำคัญของโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คือ ความเรียบง่ายและความสมเหตุสมผล ทำให้โอกาสในการนำต้นแบบไปประยุกต์ในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างไม่รู้จบกันเอง

5. การทดสอบ(Test)

เมื่อได้ต้นแบบแล้ว สิ่งสำคัญในการนำไปใช้งานจริง คือ วิธีคิดแบบนักทำ หมายถึง การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง และการนำความรู้ใหม่มาปรับปรุงต้นแบบอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ถอดความคิดเชิงออกแบบ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในโครงการฝนหลวง

ใครจะคิดว่ามีเวทมนตร์เสกฝนได้จริง ๆ แต่มาเลยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาไม่ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือ ทำได้ (พระราชดํารัส, 17 มีนาคม พุทธศักราช 2529)

จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จะเห็นได้ว่า พระองค์ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ซึ่งต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและใช้ในการเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งที่มีสาเหตุมาจากความคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ


1. เข้าใจปัญหา(Empathize)

(ความยากจนเกิดจากน้ำท่วมและแห้งแล้ง) การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 15 จังหวัด ในเดือนพฤศจิกายนพุทธศักราช 2498 ได้มีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรทำให้ทรงทราบปัญหาน้ำท่วม พืชพรรณเสียหายในช่วงหน้าฝน ประกอบกับที่ส่งพบเห็นความแห้งแล้งและน้ำท่วม คือสาเหตุของความยากจนของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว

2. การกำหนดปัญหา(Define)

(หาวิธีชะลอน้ำและเพิ่มปริมาณน้ำ) ในกรณีน้ำท่วมนั้น พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่าการทำฝายชะลอน้ำเพื่อชะลอการไหลของน้ำจากปาก จะสามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้ แต่สำหรับปัญหาน้ำแล้งนั้นมีทางเลือกอยู่ 3 ทางด้วยกัน ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำใต้ดิน การพัฒนาแหล่งน้ำในชั้นบรรยากาศอันเป็นที่มาของฝนหลวง ด้วยส่งมีความรู้เดิมมาจากการอ่านหนังสือว่ามนุษย์สามารถจะสร้างฝนได้ กับการที่ทรงสังเกตเห็นว่า บนท้องฟ้าเหนือพื้นที่ที่แห้งแล้งนั้นมีก้อนเมฆ ซึ่งน่าจะทำให้ตกลงมาเป็นฝนได้ จึงได้พระราชทานแนวคิดให้ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ทำการศึกษาต่อไป

3. การหาแนวทางแก้ไขปัญหา(Ideate)

(เพิ่มปริมาณน้ำด้วยการดัดแปลงสภาพอากาศให้เกิดฝน) อีก 2 ปีต่อมา ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ได้เสนอแนวคิดเบื้องต้นถึงความเป็นไปได้ในการใช้เกลือทะเลและน้ำแข็งแห้งเพื่อดูดซับความชื้นและชักนำให้ความชื้นกลั่นตัว แล้วรวมตัวเป็นเมฆ จากนั้นใช้เวลาอีกหลายปีในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม โดยเป็นการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพอากาศให้เกิดฝนซึ่งพระราชทานให้ ร่วมกับตำราวิชาการด้านอุตุนิยมวิทยา รายงานการวิจัยและกรณีศึกษาจากต่างประเทศรวมทั้งข้อมูลและข้อสังเกตซึ่งส่งบันทึกและพระราชทานมาให้

4. การสร้างต้นแบบ(Prototype)

(ใช้เครื่องบินโปรยสารฝนหลวง) ตลอดระยะเวลาหลายปีของการศึกษาวิจัยมีเพียงเงินทุนจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบกับเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการพัฒนาด้านการเกษตรวิศวกรรม โดยขาดเครื่องบินและอุปกรณ์ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำฝน ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ได้พัฒนาสารฝนหลวงจากหลักการเบื้องต้นที่มีเพียงเกลือทะเลและน้ำแข็งแห้ง มาเป็นการทดลองใช้สารชนิดต่างๆซึ่งต่อมาเรียกเป็นสูตร เช่น สูตร 1 โซเดียมคลอไรด์, สูตร 2 น้ำทะเล, สูตร 3 น้ำแข็งแห้ง, สูตร 4 ยูเรีย

5. การทดสอบ(Test)

(ทดสอบต้นแบบตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2512) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2521 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในสมัยนั้นเห็นว่า หน่วยบินเกษตรมีเครื่องบินเล็กสำหรับโปรยาฆ่าแมลงหลายลำ จึงอนุมัติให้ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล จัดตั้งคณะปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อสนองพระราชประสงค์และเริ่มทดลองขึ้นบินจริงเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม ณ พื้นที่วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ด้วยการโปรยน้ำแข็งแห้งออกจากทางหน้าต่างเครื่องบินเข้าไปในตัว ผลปรากฏว่าเมฆใหญ่และหนาแน่นขึ้นจริงจนเป็นสีเทาเข้มทั้งก้อน และได้รับการยืนยันจากชาวบ้านว่า มีฝนตกพอประมาณในพื้นที่เป้าหมายการทดลอง

ข้อมูลอ้างอิง: เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล. 2562. การคิดเชิงออกแบบ. ใน ดร.ฉัททวุฒิ พืชผล(บรรณาธิการ), เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2(48-56). บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด 142 ถนนตะนาว เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200