STRONG

จิตพอเพียงต้านทุจริต STRONG

จิตพอเพียงต้านทุจริต STRONG

โครงการ “จิตพอเพียงต้านทุจริต” เป็นโครงการที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการ ทุจริต ซึ่งประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) การปรับฐานความคิดทุกช่วงวัยตั้งแต่ปฐมวัยให้สามารถแยกแยะ ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม (2) ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม เพื่อต้านทุจริต (3) ประยุกต์หลักพอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต และ (4) เสริมสร้างพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน และทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต

การคิดค้น STRONG model เกิดขึ้นจากการตกผลึกทางความคิดของความหมายของ “จิตพอเพียงต้าน ทุจริต” ที่ประกอบด้วยคำสำคัญ 3 คำ คือ จิต พอเพียง ต้านทุจริต

จิตพอเพียงต้านทุจริต ต้องเป็นจิตที่มีความแข็งแกร่ง ทำให้คิดถึงคำภาษาอังกฤษ คือ Strong ที่เป็นคำง่าย ๆ มีการใช้บ่อย ๆ ความหมายเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป แต่ต้องคิดให้ตกผลึกในตัวอักษรทั้ง 6 ตัว ให้สามารถเชื่อมโยงกับคำว่า พอเพียง และคำว่า ต้านทุจริต จึงเป็นการตั้งต้นในการหาความหมายในตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้ง 6 ตัว ที่มีความเชื่อมโยงกันและสามารถคิดกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมได้

S / Sufficient / พอเพียง

เนื่องจากความพอเพียงของปัจเจกบุคคล ย่อมที่ระดับที่แตกต่างกันตามวิธีคิด สภาพความพร้อมและความสามารถ รวมทั้งตามสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของบุคคลและครอบครัว

กลไกหลัก คือ ปรับวิธีคิดที่แยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวมได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และเป็นอัตโนมัติจะนำไปสู่จิตสำนึกที่พอเพียง ไม่กอบโกยผลประโยชน์โดยมิชอบ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดบังรัฐ ไม่รับอามิสสินบนโดยมิต้องจำกัดขอบเขตของการประกอบอาชีพที่สุจริต สามารถหาทรัพย์สินเงินทองได้ตามความสามารถ ทั้งนี้ โดยไม่เดือดร้อนตนเองและผู้อื่น

T / Transparent / โปร่งใส

ความโปร่งใส ทำให้เห็นภาพหรือปรากฏการณ์ชัดเจน

กลไกหลัก คือ สร้างความรู้ความเข้าใจ และวิธีสังเกตเกี่ยวกับความโปร่งใสของโครงการต่าง ๆ

R / Realise / ตื่นรู้

เมื่อบุคคลรู้พิษภัยของการทุจริต และไม่ทนที่จะเห็นการทุจริตเกิดขึ้น

กลไกหลัก คือ การเรียนรู้สถานการณ์การทุจริตในพื้นที่ ในชุมชน หรือในกรณีที่ปรากฏการทุจริตขึ้น หรือกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นมาแล้วและมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว

O / Onward / มุ่งไปข้างหน้า

การไม่มีการทุจริตของภาครัฐ จะทำให้เงินภาษีถูกนำไปใช้ในการพัฒนาอย่างเต็มที่

กลไกหลัก คือ การป้องกันและการป้องปราม ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ในการทุจริต เช่น การบุกรุกพื้นที่สาธารณะ หรือเฝ้าระวังโครงการให้ดำเนินการด้วยความโปร่งใส

N / Knowledge / ความรู้

ความรู้ด้านต่าง ๆ มีความจำเป็นต่อการป้องกันและป้องปรามการทุจริต

กลไกหลัก คือ การให้ความรู้ในรูปแบบการฝึกอบรม หรือให้สื่อเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เช่น (1) ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการทุจริตแบบต่าง ๆ ทั้งแบบสมัยอดีต แบบปัจจุบัน และแบบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต (2) ความรู้เกี่ยวกับการทุจริตในต่างประเทศ (3) วิธีการป้องกัน – ป้องปรามแบบต่าง ๆ (4) ความรู้เกี่ยวการเฝ้าระวัง (5) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

G / Generosity / ความเอื้ออาทร

การพัฒนาสังคมไทยให้มีน้ำใจ โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยไม่มีผลประโยชน์ตอบแทนหรือหวังผลตอบแทน ในฐานะเพื่อนมนุษย์

กลไกหลัก กิจกรรมจิตอาสา ช่วยเหลือบุคคล ชุมชน/สังคมในยามวิกฤติ หรือการร่วมมือในการร่วมพัฒนาชุมชน