จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

จริยธรรม คืออะไร?

จริยธรรม คือ หลักประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับการทำงานหน้าที่ของบุคคล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนอย่างสมบูรณ์และสอดคล้องกับมาตรฐานอันดีงามเป็นที่ยอมรับของสังคม

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร?

คือ หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นไปเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นดังนี้

ความเป็นส่วนตัว

ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปจะหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งสาระสำคัญส่วนบุคคล กลุ่มคน องค์กร และหน่วยงานต่างๆ

ความถูกต้อง

ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะบันทึกข้อมูลเก็บไว้ รวมไปถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้อง ของข้อมูลของตนเองได้

ความเป็นเจ้าของ

เป็นกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจจะเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์

การเข้าถึงข้อมูล

การเข้าใช้งานโปรแกรมหรือระบบคอมพิวเตอร์ มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล

จรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

จรรยาบรรณ คือ ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงาน จรรยาบรรณในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้

  • ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการก่ออาชญากรรมหรือละเมิดสิทธิผู้อื่น

  • ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่น

  • ไม่ทำการสอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูไฟล์เอกสารของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต

  • ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

  • ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานเท็จ

  • ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการคัดลอกโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์

  • ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยตนเองไม่มีสิทธิ์

  • ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อนำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

  • คำนึงถึงผลของการกระทำที่จะเกิดขึ้นต่อสังคม

  • ใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา มารยาท

ข้อกำหนด ข้อตกลงในการใช้แหล่งข้อมูล

สารสนเทศถูกสร้างสรรค์ขึ้นมามากมายในปัจจุบัน การเข้าถึงสารสนเทศทำได้ง่ายและสะดวก จึงมีการคัดลอกหรือนำสารสนเทศที่ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของตนเองไปใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต การจัดทำสัญญาอนุญาต (Creative Commons: CC) ขึ้น เพื่อให้เจ้าของสารสนเทศได้มอบสิทธิ์ในการทำซ้ำ เผยแพร่ จัดแสดง ดัดแปลงสารสนเทศของตนให้แก่บุคคลอื่นนำไปใช้ได้

Creative Common : CC

คือ ชุดสัญญาอนุญาตแบบเปิดกว้าง หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้งานที่ร่วมกันเป็นชุด โดยมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้

1. ลิขสิทธิ์ (Copyright) คือสิทธิ์ของผู้สร้าง โดยศิษย์นี้จะรวมไปถึงชิ้นงาน หรือวิธีการซึ่งหลังจากมีการเผยแพร่แล้ว ลิขสิทธิ์จะตกเป็นของผู้สร้างโดยอัตโนมัติ

2. สิทธิบัตร (Patent) คุ้มครอง กระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงาน สิทธิบัตรต่างจากลิขสิทธิ์ตรงที่ต้องยื่นขอจดสิทธิบัตรไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีขั้นตอนด้านเอกสารและค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น

3. ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ซึ่งครอบคลุม ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า(Trademark) และความลับทางการค้า(Trade Secret) เป็นต้น

ปัจจุบันประเทศส่วนมากจะใช้ระบบกฎหมายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาตามสนธิสัญญากรุงเบิร์น ซึ่งรวมไปถึงประเทศไทยด้วย ตามสนธิสัญญากรุงเบิร์นนั้น ลิขสิทธิ์จะต้องเป็นของผู้สร้างโดยทันทีที่เผยแพร่ผลงานนั้นออกไป ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติในทางกฎหมายและศิษย์นี้สามารถส่งต่อให้กับผู้อื่นได้ หากต้องการนำผลงานนั้นไปใช้งานต่อ ต้องขออนุญาตเจ้าของผลงาน

เครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) ได้สนับสนุนการใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ เผยแพร่แนวคิดนวัตกรรมเสรี และได้รณรงค์ให้สังคมไทยใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ให้เหมาะสมกับงานสร้างสรรค์ “สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์จัดทำขึ้นเพื่อให้เจ้าของผลงานอันมีลิขสิทธิ์ สามารถเปิดให้สาธารณะนำงานของตนไปใช้ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น อ้างอิงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า หรือคงต้นฉบับไม่ดัดแปลง การใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ไม่ใช่การสละลิขสิทธิ์หรืออาทิตย์งานเป็นสาธารณสมบัติ เจ้าของงานยังเป็นผู้ถือครองลิขสิทธิ์ของงานนั้นเหมือนเดิม หากผู้ที่นำผลงานของเจ้าของงานไปใช้โดยผิดเงื่อนไข เจ้าของงานสามารถฟ้องร้องและบังคับผู้ที่ทำผิดได้ตามที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง ซึ่งประเทศไทยได้รับรองกฎหมายนี้แล้ว” ( cc.ac.th)

รู้ทันลิขสิทธิ์ EP.1 ตอน ทำความรู้จักกับลิขสิทธิ์


รู้ทันลิขสิทธิ์ EP.2 ตอน เครื่องหมายการค้ากับลิขสิทธิ์


รู้ทันลิขสิทธิ์ EP.3 ตอน ลิขสิทธิ์ของเราหรือของใคร


ตัวอย่างเช่น เจ.เค. โรว์ลิง (J.K. rowling) ได้ให้สิทธิ์ วอร์เนอร์บราเธอร์ส (Warner Bros.) แนะนำนวนิยายแฟนตาซีแฮร์รี่พอตเตอร์ ไปทำภาพยนตร์เท่านั้น ไม่สามารถนำไปทำละครเวทีได้

J.K. Rowling ผู้เขียน Harry Potterที่มา : https://cdn.images.express.co.uk/img/dynamic/39/590x/JKR-703051.jpg

Creative Commons จะมีเงื่อนไขใบอนุญาตอยู่ 4 รูปแบบ และผสมผสานกันเป็นใบอนุญาต 6 ประเภท โดยเราสามารถแยกแยะได้จากสัญลักษณ์ที่กำหนด

เงื่อนไขใบอนุญาต (License Conditions)

แสดงที่มา ต้องแสดงที่มาของชิ้นงานตามรูปแบบที่ผู้สร้างสรรค์ หรือ เจ้าของชิ้นงานกำหนด

ไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่ให้นำข้อมูลนี้ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า

ไม่ดัดแปลง ไม่แก้ไข หรือ เปลี่ยนแปลงหรือสร้างงานจากงานนี้

อนุญาตแบบเดียวกัน ถ้าหากดัดแปลง เปลี่ยนรูป หรือ ต่อเติมชิ้นงานนี้ ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน หรือ ที่เข้ากันได้กับสัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน

CC-BY

ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา

CC-BY-SA

ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา และต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้ สัญญาอนุญาตเดียวกัน

CC-BY-ND

ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง

CC-BY-NC

ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง

CC-BY-NC-SA

ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตเดียวกัน

CC-BY-NC-ND

ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง และห้ามใช้เพื่อการค้า

ข้อมูลอ้างอิง: ณัฏฐ์ โอธนาทรัพ และคณะ. 2562. การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย. ใน ดร.ฉัททวุฒิ พืชผล(บรรณาธิการ), เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1(97-102). บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด 142 ถนนตะนาว เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200