การเคารพ สิทธิ หน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น

สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ

สถานภาพ

หมายถึง ตำแหน่งที่บุคคลได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคม แบ่งออกเป็นสถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น ลูก หลาน คนไทย เป็นต้น และสถานภาพทางสังคม เช่น ครู นักเรียน แพทย์ เป็นต้น

บทบาท

หมายถึง การปฏิบัติตามสิทธิ หน้าที่อันเนื่องมาจากสถานภาพของบุคคล เนื่องจากบุคคลมีหลายสถานภาพในคนคนเดียว ฉะนั้นบทบาทของบุคคลจึงต้องปฏิบัติไปตามสถานภาพในสถานการณ์ตามสถานภาพนั้น ๆ

สิทธิ

หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง เช่น สิทธิเลือกตั้ง กฎหมายกำหนดให้บุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ มีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายมีสิทธิเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

เสรีภาพ

หมายถึง ความมีอิสระในการกระทำของบุคคลที่อยู่ในของเขตของกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน เป็นต้น

หน้าที่

หมายถึง ภาระรับผิดชอบของบุคคลที่จะต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ของบิดาที่มีต่อบุตร หน้าที่ของนักเรียนที่ต้องเรียนให้จบการศึกษาภาคบังคับ เป็นต้น

หน้าที่พลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กล่าวถึงหน้าของชนชาวไทยตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งทุกคนจะต้องรักษาและปฏิบัติตามจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ พอสรุปได้ ดังนี้

การรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

  • การรักษาชาติ

  • การรักษาศาสนา

  • การรักษาพระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การปฏิบัติตามกฎหมาย

เมื่อเราต้องเกี่ยวข้อง หรือ สัมพันธ์กับกฎหมายใด ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นๆ อย่างเคร่งครัด เพราะกฎหมายแต่ละฉบับนั้น ได้มีการร่างและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาอย่างเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชน

การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

ถ้าไม่มาใช้สิทธิตามหน้าที่ ก็จะไม่มีสิทธิ์ในการลงสมัครเลือกตั้ง

การพัฒนาประเทศ

  • การป้องกันประเทศ

  • การรับราชการทหาร

  • การเสียภาษีอากร

  • การช่วยเหลือราชการ

  • การศึกษาอบรม

  • การพิทักษ์ปกป้องและสืบสานศิลปะ วัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น

  • การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม