การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม

การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัลกอริทึม

เป็นการ "ออกแบบลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม" โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้

1. ภาษาธรรมชาติ

2. การใช้รหัสจำลอง

3. การใช้ผังงาน

** ให้นักเรียนจดจำสถานการณ์นี้ **

ถ้านักเรียนต้องการออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม "คำนวณพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม" โดยแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณทางหน้าจอ นักเรียนจะสามารถออกแบบขั้นตอนการทำงานได้อย่างไร

สรุปสถานการณ์

1. ต้องการออกแบบขั้นตอนการทำงานของ "โปรแกรมคำนวณพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม"

2. แสดงผลลัพธ์การคำนวณออกทาง "หน้าจอคอมพิวเตอร์"

1. ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)

การออกแบบขั้นตอนการทำงานโดยใช้ภาษาธรรมชาติ หมายถึง เป็นการบรรยายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมออกมา โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่ออธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม หรือ อธิบายการทำงานเป็นข้อ ๆ อันไหนทำก่อน อันไหนทำหลัง

จากสถานการณ์ สามารถออกแบบขั้นตอนการทำงานได้ดังนี้

  1. เริ่มการทำงาน

  2. นำเข้าข้อมูล ความกว้างรูปสี่เหลี่ยม

  3. นำเข้าข้อมูล ความยาวรูปสี่เหลี่ยม

  4. คำนวณพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม = ความกว้าง X ความยาว

  5. แสดงผลรูปสี่เหลี่ยม

  6. จบการทำงาน

หากนำข้อมูลที่กำหนดมาแสดงผลจริง ดังนี้

  1. เริ่มการทำงาน

  2. นำเข้าข้อมูล ความกว้างรูปสี่เหลี่ยม (นำเข้า 4)

  3. นำเข้าข้อมูล ความยาวรูปสี่เหลี่ยม (นำเข้า 5)

  4. คำนวณพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม = ความกว้าง X ความยาว (พื้นที่ = 4X5)

  5. แสดงผลรูปสี่เหลี่ยม (พื้นที่ = 20 แสดงผลลัพธ์ 20 ออกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์)

  6. จบการทำงาน

สูตรหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม

พื้นที่สี่เหลี่ยม = ความกว้างxความยาว

2. รหัสจำลอง (pseudo code)

การออกแบบขั้นตอนการทำงานโดยใช้รหัสจำลอง หมายถึง เป็นการบรรยายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมออกมา โดยใช้ภาษาที่กระชับ ชัดเจน เพื่ออธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม โดยไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยส่วนใหญ่จะใช้คำง่าย ๆ ในภาษาอังกฤษ ดังนี้

จากสถานการณ์ สามารถออกแบบขั้นตอนการทำงานได้ดังนี้

  1. Start

  2. Input width

  3. Input lenght

  4. Compute area = width * length

  5. Output area

  6. End

หากนำข้อมูลที่กำหนดมาแสดงผลจริง ดังนี้

  1. Start

  2. Input width (นำเข้า 4)

  3. Input lenght (นำเข้า 5)

  4. Compute area = width * length (area = 4X5) หรือ (พื้นที่ = 4X5)

  5. Output area (area = 20) หรือ (แสดงผลลัพธ์ 20 ออกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์)

  6. End

สูตรหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม

พื้นที่สี่เหลี่ยม = ความกว้างxความยาว

3. ผังงาน (flowchart)

การออกแบบขั้นตอนการทํางานโดยใช้ผังงาน (Flowchart) เป็นการใช้แผนภาพสัญลักษณ์เพื่อแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้ เพราะทำให้เห็นภาพในการทำงานโปรแกรมได้ง่าย และเมื่อมีข้อผิดพลาดสามารถตรวจสอบจากผังงานได้ ซึ่งจะทำให้แก้ไขหรือปรับปรุงโปรแกรมได้ง่าย โดยใช้สัญลักษณ์ที่ใช้ในการออกแบบขั้นตอนการทำงานโดยผังงานมี ดังนี้

จากสถานการณ์ สามารถออกแบบขั้นตอนการทำงานได้ดังนี้

ข้อมูลอ้างอิง: ณัฏฐ์ โอธนาทรัพย์ และคณะ. 2562. การออกแบบขั้นตอนการทำงาน. ใน ดร.ฉัททวุฒิ พืชผล(บรรณาธิการ), เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2(17-19). บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด 142 ถนนตะนาว เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200