ผังการปฏิบัติ

ผังการปฏิบัติ หมายถึง แบบแผนการปฏิบัติที่มีแนวทางรูปแบบที่มองเห็นออกมาเป็นรูปภาพหรือเส้นทางการเดินทางสู่การปฏิบัติธรรมสู่มรรคผลนิพพานการลงมือสู่การปฏิบัตินั้นอันต้องเข้าใจในสภาพการเป็นอยู่ของตนเอง หลักตามธรรมชาติ จุดมุ่งหมายที่เราต้องการจะไป และสิ่งที่เราจะต้องทำให้แ้จ้งให้ถึงอย่างแท้จริง

  1. ต้องเตรียมให้พร้อมในด้านกำลังใจ และหาเวลาให้แก่ตนเองให้ได้อย่างน้อย ปีละ 7 วันเป็นอย่างน้อย

  2. การเลือกหาครูอาจารย์ของการประพฤติปฏิบัติของเรา เพื่อเป็นแนวทาง หรือ การให้แนวทางสู่การปฏิบัติของเราง่ายขึ้นและมุ่งตรงสู่จุดหมายได้ถูกทาง

  3. คัมภีร์ ตำรา ทางพระพุทธศาสนาที่เชื่อถือได้ เพื่อเป็นการอ้างอิง เพื่อที่จะไม่หลงทาง ตำราที่สำคัญเช่น พระไตรปิฏก พระวิสุทธิมรรค พระวิมุตติมรรค

การปฏิบัติสามารถแบ่งจริตออกได้หลายประการแต่โดยหลักๆแล้ว แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  1. ผู้ประกอบด้วยปัญญามาก จำพวกนี้จิตมักมีพลังงานมาก แล้วจะทำให้ชอบคิดวิเคราะห์ ไม่สงบจติลงได้ง่ายนัก มักคิดค้น แก้ปัญหาได้รวดเร็ว

  2. ผู้ประกอบด้วยปัญญาน้อย จำพวกนี้เป็นพวกไม่ชอบการคิดค้น ชอบสงบ มักทำสมาธิได้สงบลึกและเป็นระยะเวลานาน

เมื่อเราตรวจดูตัวเราเองแล้ว พร้อมกายใจ มีครูอาจารย์(อาจต้องขึ้นกรรมฐานสำหรับผู้ใช้สมาธิเป็นหลักในการเดินกรรมฐาน//การขึ้นกรรมฐานดูได้ที่หน้าสมถกรรมฐาน) มีตำรา คัมภีร์อ้างอิง(ซึ่งเป็นครูอาจารย์เราเช่นกัน)

การปฏิบัติในแบบผู้ประกอบปัญญามาก (ปัญญาธิกะ)

  • ศึกษาให้รู้เบื้องต้นของการปฏิบัติให้ดี รู้ว่าจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาคืออะไร มีอะไรเป็นองค์ประกอบอะไรบ้างที่สำคัญ

  • เรียนรู้ตัวตนของเรา ให้สามารถแยกแยะให้ได้ว่าสิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด สิ่งไหนควร ไม่ควร กล่าวคือ รู้ผิดรู้ถูก

  • หลักธรรมในการเดินทางไปสู่มรรค ผล นิพพานมีอย่างไรบ้าง

กลุ่มปัญญามากจะใช้วิธีการคิดค้น(ธมฺมวิจย) จนจิตสงบเกิดปัญญาควบคู่ไปกับจิตสงบจนก้าวเข้าสู่ฌานที่4 อันเป็นองคฺ์ประกอบใน มรรค 8 จน เกิดอาสวขยญาณ ขึ้นจนเกิดวิชชา ละอุปาทาน(ความยึดมั่นถือมั่น) จนรู้แจ้ง

ยกตัวอย่างเช่น สวดมนต์แปลจนจิตสงบจากการคิดตามเนื้อความในบทสวดจนใจสงบ แล้วใช้ปัญญาพิจารณษหลักธรรมควบคู่ไปกำกับให้จิตได้สงบตาม

การปฏิบัติในแบบผู้ใช้สมาธิเป็นหลักนำ(สมาธิกะ)

  • ศึกษาการทำสมาธิและองค์ประกอบของสมาธิว่าเป็นลักษณะอย่างไร มีอะไรที่เป็นเครื่องปิดกั้น(นิวรณ์)

  • เข้าสู่การอบรมสมถกรรมฐานโดยขึ้นกรรมฐาน เพื่อรักษาประคองจิต

  • สมถกรรมฐาน ----> วิปัสสนากรรมฐาน

กลุ่มที่มีปัญญาน้อยกว่ากลุ่มแรก จะไม่ชอบการคิดค้นขบปัญหา แต่มักจะนั่งสมาธิ ซึ่งชอบนั่งสมาธิเป็นระยะเวลานานๆได้มากกว่ากลุ่มแรก การปฏิบัตินั้นจำเป็นต้องนั่งสมาธิให้ได้ถึงระดับฌานเลยจนจิตเข้าสู่ความสงบระดับที่จะให้ญาณ จำเป็นต้องเดินสมถกรรมฐานให้ถึงฌานที่ 4 แล้วนำกำลังฌาน 4 นั้นน้อมจิตพิจารณาหลักธรรมในมหาสติปัฏฐาน 4 จนได้บรรลุซึ่งมรรคแลผล

ยกตัวอย่างเช่น ภาวนาท่องบริกรรมคาถาบทใดบทหนึ่ง เช่น พุทโธ นะมะพะทะ และบริกรรมนิมิต(นึกรูปเป็นอารมณ์ในใจจนเห็นได้ด้วยตาใน) จนใจท่องติดเองมิได้บังคับ จิตเข้าสู่อารมณ์ฌาน ยืนเดินนั่งนอน ทุกอิริยาบท

หลักธรรมเบื้องต้นที่ควรทำความเข้าใจ

กฏพระไตรลักษณ์

หมายถึง เป็นสภาพลักษณะอันเป็นสามัญของสรรพสิ่งในโลก จักรวาล วัฏฏสงสาร นี้

ประกอบด้วย 3 ประการคือ อนิจจัง 1 (สภาพความไม่เที่ยงแท้ แน่นอน เปลี่ยนแปรไป) ทุกขัง 1 (สภาพความเป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก) อนัตตา 1 (สภาพความไม่ใช่ตัวใช่ตน เราเขา ไม่ใช่แก่นสารสาระ)

ไตรสิกขา

หมายถึง การศึกษาในสามประการอันเป็นแนวทางเพื่อก้าวสู้ความพ้นจากทุกข์

ปรกอบด้วยองค์ 3 ประการ คือ

    1. ศีล คือ การสำรวมระวังให้อยู่ในสภาพ สภาวะอันเป็นปกติ

    2. สมาธิ คือ การทำจิตใจให้ตั้งมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างแน่วแน่ มี ปฐมฌาน จน ถึง จตุตถฌาน เป็นต้น หรือ สมาบัติ 8 ใน กรณีที่ทรงซึ่งปฏิสัมภิทาญาณ 4

    3. ปัญญา คือ สภาพการหนึ่งที่รู้แจ้งได้ไม่ข้องขัด หรือการรอบรู้ในกองสังขารทั้งปวง ไม่ลุ่มหลง ไม่ตกอยู่ในสภาพที่ไม่รู้จริง(อวิชชา)

ธรรมที่มีอุปการะมาก

สติ สัมปชัญญะ

    1. สติ หมายถึง ความระลึกถึงได้ ในส่วนนี้สัญญา คือจำได้

    2. สัมปชัญญะ หมายถึง การรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในส่วนนี้สัญญาคือหมายรู้อย่างทั่วถึงในสภาพนั้นๆ

โลกบาลธรรม

สังขารคือโลก สังขารคือร่างกาย

ความหมาย ธรรมคุ้มครองโลก (โลกคือร่างกาย โลกคือโลกสัตว์อันเป็นแดนเกิด) **เทวตาธรรม = ธรรมที่ยังตนให้เป็นเทวดา หรือ ผู้ใฝ่ดี

    1. หิริ คือ ความละอายต่อบาป

    2. โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อผลของบาปกรรมนั้น

ขันธ์ 5

ขันธ์ หรือ กอง หรือ หมวด 5 ประการที่ ปรากฏอยู่ในสภาวะสังขารร่างกายของคนเรา มีดังนี้

รูปขันธ์ คือ สภาวะที่เป็นกายสังขารมีดิน น้ำลมไฟ ประชุมรวมกันเป็น ตา หู จมูก ลิ้น ฯ

เวทนาขันธ์ คือ กองเวทนา ความรู้สึกประกอบด้วย สุข ทุกข์ อทุกขมสุขา(เฉยๆ)

สัญญาขันธ์ คือ ความจำได้หมายรู้ ซึ่งแบ่งเป็นจำได้ในสิ่งใเสิ่งหนึ่ง และหมายรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

สังขารขันธ์ คือ กองความคิดที่ปรุงแต่งจิต

วิญญาณ คือ กองของความรู้ทางทวารทั้ง 6 คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ หรือความรู้สึกรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามลำดับ