พัฒนาการด้านเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสุโขทัย

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ

ลักษณะเศรษฐกิจสมัย สุโขทัย ขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของราษฎร คือ การเกษตรกรรม หัตถกรรม และ พาณิชยกรรม (ค้าขาย)

เกษตรกรรม

อาชีพหลักของ ชาวสุโขทัย คือ เกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน และการเลี้ยงสัตว์ ชาวสุโขทัยมีการสร้างระบบชลประทานที่เป็น

พื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพ เกษตรกรรม เนื่องจากสุโขทัยมีปัญหาความแห้งแล้งในฤดูแล้ง เพราะดินเป็นดินปนทราย ทำให้ดินไม่

อุ้มน้ำ จึงมีการสร้างเขื่อนดินทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมือง สุโขทัย เขื่อนดินนี้ เรียกว่า สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง สำหรับเก็บกักน้ำ

ไว้ภายในหุบเขา และ ขนระบายน้ำเข้าไปใช้ภายในตัวเมือง และ บริเวณใกล้เคียงตัวเมือง นอกจากนี้ภายในตัวเมืองยังมีการขุดสระน้ำที่เรียกว่า

ตระพัง เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้สอย

พืชที่ปลูกมาก คือ ข้าว รองลงมาเป็นผลไม้ เช่น มะม่วง มะขาม มะพร้าว หมากพลู เป็นต้น โดยพื้นท่ีเพาะปลูกที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณที่

ราบลุ่มทางแถบเมืองศรีสัชนาลัย ชากังราว สองแคว และนครชุม

หัตถกรรม

ที่มีชื่อเสียงมากของสุโขทัยคือ เครื่องสังคโลก มีแหล่งผลิตอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย สินค้าเครื่องสังคโลกที่ผลิต ได้แก่ ถ้วย โถ จาน ไห กระปุก เป็นต้น นอกจากค้าขายกันภายในประเทศแล้ว ยังส่งออกไปขายต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งจากการสำรวจทางโบราณคดีได้พบแหล่งเตาเผามากมาย โดยเฉพาะบริเวณทิศเหนือนอกกำแพงเมืองสุโขทัย น้ำโจน และเมืองศรีสัชนาลัย ริมฝั่งแม่น้ำยมที่รู้จักกันดี คือ เตาทุเรียงสุโขทัย เตาทุเรียงป่ายาง และเตาทุเรียงเกาะน้อย

พาณิชยกรรม(ค้าขาย)

การค้าขายในสุโขทัยที่ ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 แสดงให้เห็นว่ามีการค้าขายอยู่ 2 ประเภท คือการค้าขายภายในอาณาจักรและการค้าขาย

กับต่างประเทศ

การค้าภายในอาณาจักร เป็นการค้าแบบเสรี มีตลาดเป็นศูนย์กลางการค้า เรียกว่า " ปสาน "ไว้สำหรับประชาชนจากถิ่นต่าง ๆ ที่เดินทางมา

แลกเปลี่ยนสินค้ากัน การค้าขายระหว่างเมืองจะไม่มีการเก็บภาษีผ่านด่าน ที่เรียกว่า " จกอบ " ดังศิลาจารึก กล่าวว่า " เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง " ทำให้ประชาชนค้าขายได้อย่างเสรี

การค้าขายกับต่างประเทศ เช่นการค้ากับหงา วสดี ขอม มลายู ชวา ซึ่งสินค้าออกที่สำคัญได้แก่ เครื่องเทศและของป่า เช่น พริกไทย ไม้ฝาง

งาช้าง หนังสัตว์ ไม้หอม นอแรด ส่วนสินค้าเข้า เป็นประเภท ผ้าไหม เครื่องประดับ โดยเฉพาะผ้าไหมที่พ่อค้าจีนนำมาขายเป็นที่ต้องการของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ชั้นสูงและขุนนางสุโขทัย

ระบบเงินตรา

สุโขทัยมีการค้าขายในชุมชนของตนเองและกับพ่อค้าต่างบ้านต่างเมือง จึงมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและการซื้อขายในระบบเงินตรา เงินตราที่ใช้ คือ " เงินพดด้วง " ซึ่งทำจากโลหะเงิน ก้นเบี้ยหอย มีขนาดตั้งแต่ 1 - 4 บาท โดยมีการใช้เงินตราเป็นสื่อการในการแลกเปลี่ยน

ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการซื้อขาย

พัฒนาการด้านสังคม

ลักษณะทางสังคมของอาณาจักรสุโขทัย

กลุ่มคนในสังคมสุโขทัยแบ่งเป็นชนชั้น แต่ละชนชั้น แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย

1. ชนชั้นปกครอง ได้แก่ กษัตริย์ ราชวงศ์ชั้นสูง ขุนนาง

2. ชนชั้นใต้ปกครอง ได้แก่ ไพร่ ข้า

3. ชนชั้นนักบวชในศาสนา ได้แก่ พระสงฆ์

1. ชนชั้นปกครอง ประกอบด้วย

กษัตริย์หรือเจ้านาย มีอำนาจสูงสุดในอาณาจักรสุโขทัย เป็น ผู้บำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชน สร้างความเป็นปึกแผ่นในอาณาจักร ตลอด จนการดำรงชีวิต และการทำมาหากินของประชาชน เป็นผู้นำกองทัพส่งเสริม ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา

ราชวงศ์ชั้นสูง มีเชื้อสายเดียวกับพระมหากษัตริย์และเป็นชนชั้นที่ พระมหากษัตริย์ทรงไว้วางใจ และมีความใกล้ชิดพระองค์ โดยกษัตริย์จะส่งไป ปกครอง หัวเมืองต่างๆที่สำคัญ

ขุนนางหรือข้าราชการ มีหน้าที่ดูแลบ้านเมือง ปกครองประชาชน ตามพระบรมราชโองการของกษัตริย์ โดยพระมหากษัตริย์ทรงโปรดให ้ขุนนาง ข้าราชการ มีส่วนร่วมในการปกครองแต่ไม่มีอำนาจใดๆ ต้องรับนโยบาย ปกครอง และการตัดสินพระทัยจากพระมหากษัตริย์

2. ชนชั้นใต้ปกครอง ประกอบด้วย

ไพร่ คือราษฎรสามัญชนธรรมดา มีอิสระในการดำรงชีวิต อยู่ภายใต้ การควบคุมของขุนนาง ตามพระราชโองการของพระมหากษัตริย์ จะถูกขุนนาง เกณฑ์แรงงานไปรับใช้แก่ราชการเป็นครั้งคราว เช่น การเกษตรกรรม การก่อสร้าง และการชลประทาน นอกจากนั้นไพร่ในสุโขทัยได้รับสิทธิ หลายด้านได้แก่ สิทธิในการประกอบอาชีพ ทรัพย์สิน การรับมรดก จากหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 เรียกชนชั้นนี้ว่า ลูกบ้านลูกเมือง

ข้า/ทาส พวกข้ามิใช่พวกทาส ข้าในสมัยสุโขทัยเป็นผู้ติดตาม คอยรับใช้ชนชั้นปกครอง มีอิสระในการดำรงชีวิตของตนเองอยู่บ้าง

3. ชนชั้นนักบวชในศาสนา (พิเศษ)

พระสงฆ์ เป็นผู้สืบทอด เผยแผ่พระพุทธศาสนา สั่งสอนประชาชน ให้ความศรัทธาต่อพระสงฆ์ ตลอดจนเป็นผู้เชื่อมโยงให้ชนชั้นปกครอง และชนชั้นใต้ปกครองอยู่ด้วยกัน อย่างมีความสุข


แบบฝึกท้ายบทเรียน

ให้นักเรียน "คลิก" ปุ่มด้านล่างแล้วทำแบบฝึก

ณรัชช์อร คงลิ้มกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม[narachon1187@gmail.com]