พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แผนที่อาณาจักรโบราณในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  1. อาณาจักรพุกาม/ อาณาจักรศรีเกษตร

  2. อาณาจักรฟูนัน/ อาณาจักรเจนละ/ อาณาจักรเขมร

  3. อาณาจักรสิงหัสส่าหรี / อาณาจักรมัชปาหิต

  4. อาณาจักรนามเวียต/ อาณาจักรจัมปา

  5. อาณาจักรล้านช้าง

  6. อาณาจักรทวราวดี

  7. อาณาจักรมะละกา

  8. อาณาจักรศรีวิชัย

1 อาณาจักรพุกาม ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๙

  • พุกามเป็นอาณาจักรและราชวงศ์แห่งแรกในประวัติศาสตร์พม่า มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพุกามในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่า "พยูคาม"

  • ตั้งอยู่ลุ่มน้ำอิรวดี ซึ่งเป็นที่อาศัยของคนหลายเผ่า เช่น พวกมอญ พม่า พยูหรือปยู พวกพยูสามารถสถาปนาอำนาจได้ก่อน

  • ในรัชสมัยพระเจ้าจานสิตา กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พุกาม เป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด

  • พุกามเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดทางด้านศิลปวิทยาการในสมัยพระเจ้าอลองสิธู ใน พ.ศ. 1687 พระองค์ได้โปรดให้สร้างเจดีย์ชื่อ "ตะเบียงนิว" (แปลว่า เจดีย์แห่งความรู้) ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในพุกาม

  • สร้างเป็นอาณาจักรศรีเกษตร โดยรับอารยธรรมจากอินเดีย อาณาจักรพุกามเสื่อมสลายลงเพราะการรุกรานของมองโกล และมอญตั้งตัวเป็นเอกราช

  • อาณาจักรศรีเกษตรตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองแปรในประเทศพม่า

2 อาณาจักรฟูนัน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 - 12

  • มีเมืองหลวงชื่อ วาธปุระอยู่ในกัมพูชาในปัจจุบัน สิ้นสุดลงเนื่องจากถูกอาณาจักรเจนละ ยึดครองในปลายพุทธศตวรรษที่ 11 ด้วยเหตุนี้เขมรจึงได้รับอารยธรรมฟูนัน ซึ่งรับมาจากอินเดียอีกทอด

อาณาจักรเจนละ ประมารณพุทธศตวรรษที่ 11 - 16

  • เมื่อแรกก่อตั้งสันนิษฐานว่าอยู่บริเวณตะวันออกของทะเลสาบเขมร และขึ้นต่อฟูนัน

  • เมืองสำคัญคือ "นครเชษฐาปุระ" แต่หลักฐานของจีนกล่าวว่า สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7 กษัตริย์ของเจนละมาประทับที่เมืองอิสานปุระ เมื่อครอบครองฟูนันแล้วชาวฟูนันอยู่ปะปนกับชาวเจนละ เจนละจึงรับวัฒนธรรมฟูนันไว้

  • ต่อมารัฐเจนละอ่อนแอลงจนแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ เจนละบก (Upper Chenla) และเจนละน้ำ (Lower Chenla) เมื่อหลังค.ศ.706 เล็กน้อย

  • ต่อมาคริสต์ศตวรรษที่ 8 เจนละตอนล่างถูกโจมตี โดยราชวงศ์ไศเลนทร์(Sailendras) แห่งเกาะชวา และเจนละทั้งหมดตกเป็นเมืองขึ้นของไศเลนทร์ระยะหนึ่ง จน ค.ศ.802 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (ค.ศ. 802 - 850) สามารถรวบรวมเจนละทั้งสองเข้าด้วยกัน

อาณาจักรเขมร ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๒๐

  • มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองพระนครประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

  • ปลายพุทธศตวรรษที่ 13 อาณาจักรชวา ตีได้เจนละน้ำและรุกรานจัมปากับตังเกี๋ย ทำให้อาณาจักรเจนละตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรชวา พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ยกทัพมากู้เอกราชให้เจนละ และทรงรวมเจนละบกกับเจนละน้ำเข้าด้วยกัน แล้วประกาศตั้งอาณาจักรเขมร

  • พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงรับความเชื่อในเรื่องการบูชาพระศิวะ พร้อมกับประกาศตนเป็นกษัตริย์แห่งภูเขา แสดงถึงความยิ่งใหญ่และเป็นอิสระ ดังนั้นกษัตริย์เขมรทุกพระองค์จะต้องสร้างภูเขาวิหารขึ้นในเขมร

  • ศาสนสถานหรือวิหารภูเขาที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์เขมร คือ นครวัด และปราสาทบายนที่นครธม (พระนครหลวง) ซึ่งเป็นศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบบายน ผสมแนวความเชื่อในพระพุทธศาสนานิกายมหายานเข้าไปด้วย

3 รัฐแถบริมทะเล

อาณาจักรมัชปาหิต ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๒๐

  • เป็นอาณาจักรที่มีความเจริญต่อจากอาณาจักรศรีวิชัย มีอาณาเขตเท่ากับประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียในปัจจุบันรวมกัน

  • กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งมัชปาหิต คือ ฮะยัม วูรุค (Hayam Wuruk) ครองราชย์ ในช่วง ค.ศ. 1350 - 1389

  • เริ่มเสื่อมเนื่องจากอยุธยาได้แผ่ขยายอำนาจ

อาณาจักรสิงหัสส่าหรี

  • เกิดขึ้นเนื่องมาจากการแย่งชิงสมบัติในชวา

  • มีการผสมผสานของวัฒนธรรมฮินดูและชวา

  • เป็นอาณาจักรสุดท้ายในหมู่เกาะอินโดนีเซียที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมแบบฮินดูชวา

4 อาณาจักรจัมปา ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๒๑

  • มีศูนย์กลางการปกครองสมัยแรกบริเวณเมืองสิงหปุระต่อมาย้ายมาศูนย์กลางลงมาทางตอนใต้ที่เมืองวิชัยนคร

  • เป็นรากฐานของรัฐในลุ่มแม่น้ำแดง เมืองศูนย์กลางของจัมปา คือ เมืองเว้

  • จัมปาเคยเป็นเมืองขึ้นของจีน แม้ตกเป็นเมืองขึ้นของจีนอยู่นานแต่ไม่ได้รับเอาวัฒนธรรมของจีนมาเท่าที่ควร แต่กลับรับเอาอารยธรรมอินเดีย

อาณาจักรนามเวียด

  • มีศูนย์กลางอยู่ที่ลุ่มน้ำแดง เป็นถิ่นที่อยู่ของพวกโล

  • พวกเวียดตกอยู่ภายใต้อำนาจของจีน และได้รับเอกราชอย่างแท้จริง เมื่อราชวงศ์ถังของจีนเริ่มเสื่อมอำนาจ

  • เมื่อได้รับเอกราชได้เปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรไดเวียด

  • ต่อมาทำสงครามกับอาณาจักรจามปา

  • พุทธศตวรรษที่ ๑๙ พระองค์ทรงตั้งถังหลงหรือฮานอยเป็นเมืองหลวง จึงทำให้เวียดนามมีอาณาเขตขยายทางใต้มาถึงปลายแหลมญวน

  • พุทธศตวรรษที่ ๒๓ ได้เกิดกบฎไกเซิน องเชียงสือกษัตริย์ญวนหนีมาไทย แล้วหนีกลับไปปราบกบฎไกเซินจนสำเร็จใน พ.ศ.๒๓๔๕

  • พ.ศ. ๒๔๖๐ ฝรั่งเศสจึงได้ยกกำลังเข้ายึดครองเวียดนามไว้ทั้งหมด ต่อมาพวกเวียดมินห์ได้ทำการกู้ชาติจากฝรั่งเศส ได้รับเอกราชในพ.ศ. ๒๔๙๗ (ค.ศ. 1954) ทำให้มีการแบ่งเวียดนามออกเป็นเวียดนามเหนือ ปกครองแบบคอมมิวนิสต์ และเวียดนามใต้ ปกครองแบบประชาธิปไตย

  • เวียดนามเหนือ โดยการนำของโฮจิมินห์ พยายามใช้กำลังยึดครองเวียดนามใต้

  • เวียดนามเหนือเป็นฝ่ายชนะ เมื่อ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๘ ( ค.ศ. 1975) จากนั้นเวียดนามจึงรวมประเทศเข้าด้วยกันสำเร็จ

5 อาณาจักรล้านช้างหรือศรีสัตนาคนหุต

  • เจ้าฟ้างุ้ม ได้รวบรวมรัฐอิสระของพวกลาวเป็นรัฐเดียวกัน ในพุทธศตวรรษที่ 19 มีชื่อว่า อาณาจักรล้านช้างหรือศรีสัตนาคนหุต มีเมืองหลวงอยู่ที่หลวงพระบาง

  • รับวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาจากอาณาจักรเขมรและล้านนา

6 อาณาจักรทวราวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔

  • สันนิษฐานว่ามีอาณาเขตบริวตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบ่างบริเวณเมืองนครชัยศร

  • เป็นรากฐานทางวัฒนธรรมของประเทศไทย

  • การปกครองเป็นระบบเครือญาติที่เป็นพันธมิตร ตามลักษณะการปกครองแบบนครรัฐ

  • ศิลปกรรมประติมากรรมระยะแรกเลียนแบบศิลปะอินเดีย ต่อมาจึงดัดแปลงเป็นฝีมือช่างพื้นเมือง ส่วนใหญ่เป็นศิลาจำหลักและลายปูนปั้น

  • ประติมากรรมสมัยนี้ได้รับอิทธิพลอินเดียสมัยคุปตะ ซึ่งเจริญแพร่หลายทางภาคกลางและตะวันตกของอินเดียระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10-11 จนถึงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-13 ซึ่งสมัยคุปตะเป็นสมัยที่เจริญสูงสุด เรียกว่า คลาสสิกของอินเดีย

7 อาณาจักรมะละกา

  • ผู้ก่อตั้งเป็นเชื้อสายกษัตริย์ศรีวิชัย

  • ส่งบรรณาการให้อยุธยาเพื่อไม่ให้ถูกรุกราน ต่อมาจีนให้การสนับสนุนมะละกา จึงทำให้สามารถขยายอำนาจออกไปได้

  • เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ

8 อาณาจักรศรีวิชัย ประมาณศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๙

  • ก่อตั้งโดยราชวงศ์ไศเลนทร์

  • ดินแดนที่รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดีย โดยเฉพาะ พระพุทธศาสนา

  • พุทธศาสนาแบบมหายานเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรศรีวิชัย หลักฐานจากบันทึกหลวงจีนอี้จิงของจีน

แบบทดสอบ กิจกรรมที่ 2

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ณรัชช์อร คงลิ้มกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม[narachon1187@gmail.com]