ยินดีต้อนรับเข้าสู่ เว็บไซต์ : ระบบรายงานผลการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม

คณะผู้บริหารวิทยาลัย

หัวหน้างานประคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเจ้าหน้าที่งานวางแผนและงบประมาณเจ้าหน้าที่งานวิจัยพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

ข่าวประชาสัมพันธ์

ขอแสดงความยินดี รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันทักษะพื้นฐาน การประกวดเล่านิทานพื้นบ้านงานประชุมวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย (อวท.) ระดับชาติ ครั้งที่ 30 ประจำปีการศึกษา 2564 ณ วิทยาลัยเทคนิคน่าน เล่านิทานโดย นายปัญญาพงศพัศ ต้อยเตี้ย นักเรียนระดับปวช.ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ควบคุมการฝึกซ้อมโดย ครูณัฐสิทธิ์ พวงเงินสกุล วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.กมลวรรณ เชาว์ช่างเหล็ก ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคโพธาราม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบร่างผลการประเมินคุณภาพภายนอกระยะที่ 1 รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 โดยมีรองผู้อำนวยการ และคณะกรรมการรับผิดชอบมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมรับฟังและร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินภายนอกรอบ 4 ณ ห้องประชุมดีบอน วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม

วันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.กมลวรรณ เชาว์ช่างเหล็ก ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคโพธาราม พร้อมด้วย นายชิษณุพงศ์ ศรีวิบูลย์กุล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ นำคณะครูหัวหน้าแผนกวิชาและครูผู้สอนสาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิคส์ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง และสาขาวิชาช่างยนต์ เข้าศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนการสอนและการจัดทำนวัตกรรม สื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ ณ วิทยาลัยเทคนิคนครนายกและวิทยาลัยการอาชีพกบินทร์บุรี โดยได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งจากบุคลากรของวิทยาลัยเทคนิคนครนายกและวิทยาลัยการอาชีพกบินทร์บุรี

วันอังคาร ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.กมลวรรณ เชาว์ช่างเหล็ก ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคโพธาราม พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้การต้อนรับ คณะอนุกรรมการประเมินการคัดเลือกสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2564 ระดับอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรี

Ve-SAR

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ.2561

ด้านที่ 1 ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา ประกอบด้วย

1.1 การดูแลและแนะแนวผู้เรียน

1.2 ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

1.3 ผู้เรียนมีสมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือการประกอบอาชีพอิสระ

1.4 ผลงานของผู้เรียนด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย

1.5 ผลการแข่งขันทักษะวิชาชีพ

1.6 ผลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ

1.7 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET)

1.8 การมีงานทำและศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษา

ด้านที่ 2 ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน

2.1 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ

2.1.1 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบ

2.1.2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ หรือปรับปรุงรายวิชา หรือปรับปรุงรายวิชาเดิม

หรือกำหนดรายวิชาเพิ่มเติม

2.2 การจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.2.1 คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ

2.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและนำไปใช้ใน

การจัดการเรียนการสอน

ด้านที่ 3 ด้านครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา

3.1 ครูผู้สอน

3.1.1 การจัดการเรียนการสอน

3.1.2 การบริหารจัดการชั้นเรีย

3.1.3 การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ

3.2 ผู้บริหารสถานศึกษา

3.2.1 การบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม

3.2.2 การบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา

ด้านที่ 4 ด้านการมีส่วนร่วม

4.1 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

4.2 การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนการสอน

4.3 การบริการชุมชนและจิตอาสา

ด้านที่ 5 ด้านปัจจัยพื้นฐาน

5.1 อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน หรืองานฟาร์ม

5.2 ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน

5.3 แหล่งเรียนรู้และศูนย์วิทยบริการ

5.4 ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการใช้งานด้านสารสนเทศภายในสถานศึกษา

5.5 การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน


ประเด็นการประเมินตามมาตรฐานวิทยาลัยเทคนิคโพธาราม

  • มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ มี 3 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ดังนี้

1.1 ด้านความรู้

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 1 การสำเร็จการศึกษา

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 1) ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของแต่ละหลักสูตร

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 2 การมีงานทำและศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษา

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2) ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาที่มีงานทำ ประกอบอาชีพอิสระหรือศึกษาต่อภายใน 1 ปี

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 3 ความพึงพอใจของสถานประกอบการ หน่วยงาน องค์กร หรือสถานศึกษาที่มีต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 3) ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาที่มีผลการประเมินความพึงพอใจของสถานประกอบการ หน่วยงาน องค์กร หรือสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป

  • มาตรฐานที่ 2 การจัดการอาชีวศึกษา มี 50 ตัวชี้วัดความสำเร็จ ดังนี้

ประเด็นการประเมินที่ 2.1 ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 2.1.1 การพัฒนาและใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.1.1.1 ร้อยละของสาขาวิชา สาขางานที่มีการพัฒนาและใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะหรือปรับปรุงรายวิชาเดิม หรือกำหนดรายวิชาใหม่ หรือ กลุ่มวิชาเพิ่มเติม

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.1.1.2 ระดับคุณภาพเฉลี่ยในการพัฒนาหลักสูตรและใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะหรือปรับปรุงรายวิชาเดิม หรือกำหนดรายวิชาใหม่ หรือ กลุ่มวิชาเพิ่มเติม

ประเด็นการประเมินที่ 2.2 ด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 2.2.1 คุณวุฒิการศึกษาและจำนวนของครูผู้สอน

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.1.1 ร้อยละจำนวนครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาสอดคล้องหรือตรงกับสาขาวิชาที่สอน

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 2.2.2 การพัฒนาคุณภาพครูผู้สอน

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.2.1 ร้อยละของครูผู้สอนที่ได้รับการพัฒนาทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามเกณฑ์ที่กำหนด

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.2.2 ระดับคุณภาพเฉลี่ยการพัฒนาตนเองของครูผู้สอน

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 2.2.3 การจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.3.1 ระดับคุณภาพเฉลี่ยการจัดทำแผนการเรียน

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.3.2 ร้อยละของครูผู้สอนที่จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ โครงการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และนำแผนการจัดการเรียนรู้สู่

การปฏิบัติอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.3.3 ระดับคุณภาพเฉลี่ยของแผนการเรียนรู้ฯ ของครูผู้สอน

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.3.4 ระดับคุณภาพเฉลี่ยการจัดการเรียนการสอนของครู

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.3.5 ค่าร้อยละเฉลี่ยของครูที่จัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.3.6 ค่าร้อยละเฉลี่ยของครูผู้สอนที่บริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีคุณภาพ

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.3.7 ระดับคุณภาพเฉลี่ยการดูแล ช่วยเหลือ แนะนำผู้เรียน

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.3.8 ระดับคุณภาพการส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแลการจัดการเรียนการสอน (การนิเทศการสอน)

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 2.2.4 การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.4.1 ระดับคุณภาพในการจัดกิจกรรมตามพระราชปณิธานด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.4.2 ระดับคุณภาพในการจัดกิจกรรมองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ( อวท.)

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.4.3 ระดับคุณภาพในการจัดกิจกรรมลูกเสือวิสามัญ

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.4.4 ร้อยละของผู้เรียนที่แสดงออกถึงความเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.4.5 ร้อยละของกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมที่สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียน ได้รับการพัฒนา

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.4.6 ร้อยละของผู้เรียนชั้นปีสุดท้ายที่ลงทะเบียนเรียนครบทุกรายวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตร ที่มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.4.7 ร้อยละของผู้เรียนที่มีสุขภาวะที่ดี

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 2.2.5 ด้านการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพอาชีวศึกษา

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.5.1 ร้อยละของผู้เรียนชั้นปีสุดท้ายที่ลงทะเบียนเรียนครบทุกรายวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตร ปวช. และ ปวส.ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

มาตรฐานวิชาชีพ

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.5.2 ร้อยละของผู้เรียนชั้นปีสุดท้ายที่ลงทะเบียนเรียนครบทุกรายวิชาตามโครงสร้างของหลักสูตร ที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการ

ศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา( V –Net )ตั้งแต่ค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไป

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 2.2.6 ผลลัพธ์จากการจัดการเรียนการสอน

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.6.1 ระดับรางวัลที่ได้รับจากการประกวดแข่งขันทักษะวิชาชีพและทักษะพื้นฐาน

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.2.6.2 ระดับการนำไปใช้ประโยชน์หรือระดับรางวัลที่ได้รับจากการประกวด

ประเด็นการประเมินที่ 2.3 ด้านการบริหารจัดการ

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 2.3.1 การบริหารจัดการด้านบุคลากร

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.1.1 ระดับคุณภาพการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.1.2 ระดับคุณภาพของกระบวนการบริหารงานบุคคล

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.1.3 ร้อยละของบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการส่งเสริม พัฒนาด้านวิชาการ วิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.1.4 ร้อยละของบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพได้ครบถ้วน

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 2.3.2 การบริหารจัดการทรัพยากรของสถานศึกษา

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.2.1 ระดับคุณภาพการบริหารจัดการสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน และครุภัณฑ์

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.2.2 ระดับคุณภาพการบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภค

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.2.3 ระดับคุณภาพการบริหารจัดการศูนย์วิทยบริการ สื่อ และแหล่งเรียนรู้

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.2.4 ระดับคุณภาพการบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศฯ

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.2.5 ระดับคุณภาพการบริหารจัดการระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการใช้งานด้านสารสนเทศฯ

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.2.6 ร้อยละของห้องเรียน ห้องปฏิบัติการที่สามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการจัดการเรียนการสอนได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.2.7 ร้อยละของสาขางานที่พัฒนาห้องเรียนเฉพาะทางต่อเนื่อง

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 2.3.3 การบริหารงบประมาณ

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.3.1 ระดับคุณภาพในการบริหารงานแผนและงบประมาณ

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.3.2 ระดับคุณภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.3.3 ระดับคุณภาพในการบริหารงานการเงิน

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.3.3.4 ระดับคุณภาพในการบริหารงานบัญชี

ประเด็นการประเมินที่ 2.4 ด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 2.4.1 การดำเนินงานตามนโยบาย

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.4.1.1 ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการโครงการสถานศึกษาคุณธรรม

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.4.1.2 ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการโครงการสถานศึกษาตามรอยเบื้องพระยุคลบาท

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.4.1.3 ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการโครงการกองทุนทางการศึกษา

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.4.1.4 ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการโครงการอาชีวะสร้างช่างฝีมือ

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.4.1.5 ระดับคุณภาพในจัดการศึกษาเฉพาะทางในสาขางานเทคโนโลยีสิ่งทอ เคมีสิ่งทอและเทคโนโลยีเครื่องนุ่งห่ม (ตามนโยบายของรัฐบาลและ

หน่วยงานต้นสังกัด)

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.4.1.6 ระดับคุณภาพในจัดการศึกษาร่วม อ.กรอ.อศ. เทคโนโลยีสิ่งทอและแฟชั่น (ตามนโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานต้นสังกัด)

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.4.1.7 ระดับคุณภาพจัดการเรียนการสอนด้วยระบบทวิภาคีในระดับ ปวส. (ตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด)

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.4.1.8 ระดับคุณภาพในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของแต่ละสาขาวิชา สาขางาน

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.4.1.9 ระดับคุณภาพการบริการชุมชนและจิตอาสา

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.4.1.10 ระดับคุณภาพการส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ หรือ การประกอบอาชีพอิสระ

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 2.4.1.11 ร้อยละของผู้รับการศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการหรือประกอบอาชีพอิสระ

  • มาตรฐานที่ 3 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

สถานศึกษาร่วมมือกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีการจัดทำนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย ประกอบด้วยประเด็นการประเมิน ดังนี้

ประเด็นการประเมินที่ 3.1 ด้านความร่วมมือในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 3.1.1 ด้านการสร้างความร่วมมือ

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 3.1.1.1 ระดับคุณภาพการระดมทรัพยากรเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 3.1.1.2 ร้อยละของสาขางานที่ระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ประเด็นการประเมินที่ 3.2 ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย

ประเด็นการประเมินย่อยที่ 3.2.1 การส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน จัดทำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัยด้วยตนเองหรือร่วมกับบุคคล ชุมชน องค์กร

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 3.2.1.1 ระดับคุณภาพการส่งเสริม สนับสนุนการจัดทำนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 3.2.1.2 ร้อยละของผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาที่จัดทำนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย

ตัวชี้วัดความสำเร็จที่ 3.2.1.3 ร้อยละของนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัยที่ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียนจัดทำด้วยตนเองหรือร่วมกับบุคคล

ชุมชน องค์กร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงตามวัตถุประสงค์ เพื่อการต่อยอดพัฒนาอาชีพของชุมชน สังคมและเผยแพร่สู่สาธารณชน