เรื่องที่ 5 ศักยภาพของประเทศไทย





5.1 ศักยภาพของประเทศไทย

ศักยภาพ หมายถึง อำนาจหรือคุณสมบัติที่มีแฝงอยู่ในสิ่งต่าง ๆ อาจทำให้พัฒนา หรือให้ปรากฏเห็นเป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้ กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายในการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีสร้างความมั่งคั่ง ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมให้กับประเทศโดยการนำศักยภาพของประเทศไทยใน 5 ด้าน มาใช้ประโยชน์ได้แก่

1) ด้านทรัพยากรธรรมชาติ

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างมากมาย ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิต ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและการพักผ่อนหย่อนใจ จำแนกทรัพยากรธรรมชาติแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรแร่ธาตุ

2) ด้านภูมิอากาศ

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน สภาวะอากาศโดยทั่วไปจึงร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทยมีค่าประมาณ 27 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามอุณหภูมิจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินบริเวณตั้งแต่ภาคกลาง และภาคตะวันออกตอนบนขึ้นไปจนถึงภาคเหนือจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก ระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวและระหว่างกลางวันกับกลางคืนโดยในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิสูงสุดในตอนบ่าย ปกติจะสูงถึงเกือบ 40 องศาเซลเซียส หรือมากกว่านั้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยเฉพาะเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุดในรอบปีส่วนฤดูหนาวอุณหภูมิตํ่าสุดในตอนเช้ามืดจะลดลงอยู่ในเกณฑ์หนาวถึงหนาวจัด โดยเฉพาะเดือนธันวาคมถึงมกราคมเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวมากที่สุดในรอบปี ซึ่งในช่วงดังกล่าวอุณหภูมิอาจลดลงตํ่ากว่าจุดเยือกแข็งได้ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณพื้นที่ซึ่งเป็นเทือกเขาหรือบนยอดเขาสูง สำหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเล ได้แก่ ภาคตะวันออกตอนล่างและภาคใต้ ความผันแปรของอุณหภูมิในช่วงวันและฤดูกาลจะน้อยกว่า โดยฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัดเท่าพื้นที่ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ลักษณะภูมิอากาศจำแนกเป็น 3 ฤดู คือ

ฤดูฝน จะเริ่มปลายเดือนพฤษภาคม และสิ้นสุดปลายเดือนตุลาคม

ฤดูหนาว จะเริ่มเดือนตุลาคมไปสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวจัด จะมีอุณหภูมิตํ่ากว่า 8.0องศาเซลเซียส อากาศหนาว มีอุณหภูมิระหว่าง 8.0 - 15.9 องศาเซลเซียส และอากาศเย็น มีอุณหภูมิระหว่าง16.0 - 22.9 องศาเซลเซียส

ฤดูร้อน จะเริ่มกลางเดือนกุมภาพันธ์ ไปสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 - 39.9 องศาเซลเซียส อากาศร้อนจัด มีอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป

3) ด้านภูมิประเทศ และทำเลที่ตั้ง

ประเทศไทย มีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 321 ล้านไร่) มีลักษณะคล้ายขวานโดยภาคใต้เป็นด้ามขวาน แนวด้านตะวันตกเป็นสันขวาน ภาคเหนือเป็นหัวขวาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเป็นคมขวาน จากลักษณะดังกล่าว ความยาวจากเหนือสุดถึงใต้สุด วัดจากอำเภอแม่สายจังหวัดเชียงรายไปจนถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีความยาว 1,650 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างสุดจากตะวันออกไปตะวันตก วัดจากอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ไปยังอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นระยะทาง800 กิโลเมตร บริเวณแผ่นดินส่วนที่แคบที่สุดของประเทศตั้งอยู่ระหว่างแนวชายแดนกัมพูชากับพื้นที่บ้านโขดทราย ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีระยะทางเพียง 450 เมตร และส่วนพื้นที่บ้านวังด้วน ตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วัดจากชายแดนประเทศพม่าจนถึงทะเลอ่าวไทย มีระยะทาง 10.6 กิโลเมตร ลำหรับส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู (แผ่นดินระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน) อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดชุมพรและระนอง มีระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร เรียกส่วนนี้ว่า "คอคอดกระ"

สภาวิจัยแห่งชาติได้แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภูมิภาค ตามลักษณะธรรมชาติ รวมไปถึงธรณี สันนิษฐานและทางน้ำ รวมไปถึงรูปแบบวัฒนธรรมมนุษย์ โดยภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้

4) ด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณี

ประเทศไทย เป็นสังคมที่ไม่เหมือนที่ใดในโลก ผู้คนมีความเอื้อเฟ้อเผื่อแผ่ มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีความสามัคคีในหมู่คนทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติที่คนไทยทุกคนภาคภูมิใจ เป็นความงดงามที่สืบทอดอันยาวนาน

ศิลปะ เช่น ภาพฝาผนังตามวัดวาอาราม พระราชวัง เครื่องประดับและเครื่องใช้ทั่วไปการแสดงแบบไทย ลิเก โขน รำวง ดนตรีไทย เพลงไทย ฯลฯ

วัฒนธรรม เช่น การแต่งกาย ภาษาไทย อักษรไทย อาหารไทย สมุนไพรไทย มารยาทไทยการไหว้ การเคารพผู้อาวุโส ฯลฯ

ประเพณี เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีชักพระ ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ฯลฯ

5) ด้านทรัพยากรมนุษย์

คนไทยนับเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของประเทศ มีศักยภาพที่แตกต่าง หลากหลาย มีความรู้ความเชี่ยวชาญในทุกสาขาอาชีพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เช่น ด้านการแพทย์ วิศวกรรม การเกษตร นักออกแบบ ตลอดจนภูมิปัญญาต่าง ๆ ฯลฯ ประกอบกับ บุคลิกลักษณะนิสัยของคนไทยที่มีความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความสามารถในการปรับตัวได้ดีรัฐบาลได้ตระหนักถึงคุณค่าที่มีอยู่ของศักยภาพทั้ง 5 ด้าน ดังกล่าวจึงได้ส่งเสริมให้ประชาชนได้นำศักยภาพดังกล่าว ไปใช้ประโยชน์เพื่อการมีรายได้และสร้างอาชีพที่มั่นคง


5.2 กระบวนการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนท้องถิ่น

1. สำรวจรวบรวมข้อมูลชุมชน

1.1 ข้อมูลที่สำรวจ ประกอบด้วย

1) ข้อมูลประชากร เช่น จำนวนประชากร ครอบครัว ระดับการศึกษาของคนในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น

2) ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ เช่น อาชีพหลัก อาชีพเสริม รายรับ รายจ่าย ของครอบครัวชุมชน ร้านค้าในชุมชน การบริโภคสินค้า สถานประกอบการ การใช้ประโยชน์จากที่ดิน

3) ข้อมูลด้านประเพณีและวัฒนธรรม เช่น ความเชื่อ ศาสนา ประเพณีท้องถิ่นการละเล่น กีฬาพื้นเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ

4) ข้อมูลด้านการเมืองการปกครอง เช่น บทบาทผู้นำ โครงสร้างอำนาจการปกครอง การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

5) ข้อมูลด้านสังคม เช่น โรงเรียน สถานีอนามัย แหล่งเรียนรู้ในชุมชน กลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน ความสัมพันธ์ของคนในชุมชน

6) ข้อมูลด้านระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม เช่น ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น สภาพดิน แหล่งน้ำ สภาพอากาศ วัตถุดิบ แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ท้องถิ่น


1.2 วิธีการสำรวจข้อมูล

การได้มาของข้อมูลดังกล่าวข้างด้น สามารถดำเนินการได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสำรวจ ลักษณะของข้อมูลที่ด้องการ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่มการศึกษาจากเอกสาร โดยมีเทคนิควิธีการดังนี้

1) การสังเกต เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้สังเกตเฝ็าดูพฤติกรรมจริงหรือ เหตุการณ์จริงโดยผู้สังเกตอาจเข้าไปทำกิจกรรมร่วมในเหตุการณ์ หรือไม่มีส่วนร่วมโดยเฝ็าดูอยู่ห่าง ๆ ก็ได้การสังเกตมีทั้งแบบมีโครงสร้างกับแบบไม่มีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีโครงสร้างต้องเตรียมหัวข้อ ประเด็นที่ต้องใช้ในการสังเกตล่วงหน้า แล้วบันทึกรายละเอียดสิ่งที่สังเกตตามประเด็นที่กำหนด ส่วนการสังเกตแบบไม่มีโครงสร้างเป็นการสังเกตไปเรื่อย ๆ ตามสิ่งที่พบเห็น

2) การสัมภาษณ์ เป็นวิธีเก็บข้อมูลโดยผู้สัมภาษณ์กับผู้ให้สัมภาษณ์พบปะกัน การสัมภาษณ์มีทั้งแบบมีโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้สัมภาษณ์จะเตรียมคำถาม เตรียมลำดับคำถามไว้ล่วงหน้า ส่วนการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างเป็นการพูดคุยไปเรื่อย ๆ จะถามคำถามใดก่อนหลังก็ได้

3) การใช้แบบสอบถาม ผู้เก็บข้อมูลจะต้องเตรียมแบบสอบถามไว้ล่วงหน้า โดยมีคำชี้แจง รายการข้อมูลที่ต้องการ

4) การสนทนากลุ่ม เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากวงสนทนา โดยผู้ร่วมวงสนทนาเลือกมาจากผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลตรงตามประเด็นที่ต้องการ และมีผู้จดบันทึกข้อมูลจากการสนทนาพร้อมปฏิกิริยาของผู้ร่วมสนทนาและบรรยากาศของการสนทนา แล้วสรุปเป็นข้อสรุปของการสนทนาแต่ละครั้ง

5) การศึกษาจากเอกสาร เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีผู้รวบรวมเรียบเรียงไว้แล้วในลักษณะของเอกสาร โดยพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสม

2. วิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน ท้องถิ่น

เมื่อดำเนินการสำรวจข้อมูลแล้ว นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ มาช่วยกันวิเคราะห์ โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ (เชิงคุณภาพ) คำนวณค่าตัวเลข (เชิงปริมาณ) ดีความ สรุป และนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถสื่อความหมายได้ เช่น ข้อความ ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ฯลฯ และที่สำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน คือ ประชาชนในชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ ให้ข้อคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน บ้านป่าเหมี้ยง โดยการพิจารณา จุดเด่น จุดด้อย(ปัจจัยจากภายในชุมชน ท้องถิ่น) โอกาส และอุปสรรค (ปัจจัยจากภายนอกชุมชน ท้องถิ่น)

จุดเด่นของชุมชน มีดังนี้

ด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งด้นนี้าลำธาร มีลำธารไหลผ่านหมู่บ้านเหมาะสำหรับการปลูกเหมี้ยง (ชาพันธุอีสลัม) จึงมีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ สืบเนื่องกันมานาน 200 ปี ด้วยการประกอบอาชีพทำสวนเหมี้ยง

ด้านภูมิอากาศ มีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปี อุณภูมิสูงสุด 25 องศา

ด้านภูมิประเทศ และทำเลที่ตั้ง เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ห่างจากจังหวัดลำปาง ประมาณ 81 กิโลเมตรเป็นหมู่บ้านรอยต่อระหว่างจังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนภูเขา อยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มีทิวทัศน์สวยงาม

ด้านศิลปวัฒนธรรม และประเพณี เป็นชุมชนเก่าแก่มีอายุกว่า 200 ปี วิถีชีวิตอาชีพของคนในชุมชนผูกพันกับการเก็บเหมี้ยง หยุดเก็บเหมี้ยงทุกวันพระ มีตำรายาโบราณที่บันทึกบนกระดาษพับสาที่เขียนเป็นภาษาล้านนา ประเพณีแห่โคมสาย การฟ้อนเจิง เทศกาลดอกเสี้ยวบาน

ด้านทรัพยากรมนุษย์ คนในชุมชนมีอัธยาศัยไมตรี แกนนำชุมชนเข้มแข็ง มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหมอเมือง (สมุนไพร) กลุ่มต่าง ๆ มีความเข้มแข็ง เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน กลุ่มสหกรณ์ผู้ใซ้ไฟฟ้าพลังน้ำ

จุดด้อย การประกอบอาชีพทำสวนเหมี้ยง ทำได้เพียง 7 เดือนในรอบปี อีก 5 เดือน จะว่างงาน

สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงไม่สามารถทำนาได้ ต้องซื้อข้าวจากภายนอก การคมนาคมติดต่อกับภายนอกค่อนข้าง

ลำบาก รายได้หลักของชุมชนจากการขายเหมี้ยงอย่างเดียว เครื่องอุปโภคบริโภคต้องซื้อจากภายนอกทั้งหมด

โอกาส สถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก คือ กระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อศึกษาวัฒนธรรม วิถีชีวิตของท้องถิ่น ตลอดจนพักผ่อน และการผจญภัย โดยพักค้างคืนกับชาวบ้านหรือที่เรียกกันว่า โฮมสเตย์ (Home Stay) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

อุปสรรค การติดต่อสื่อสารกับภายนอกยากลำบาก ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์

3. นำผลการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนไปใช้ประโยชน์ในการเชื่อมโยงสู่งานอาชีพ

จากตัวอย่างการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่การสร้างอาชีพใหม่คือ อาชีพโฮมลเตย์ (Home Stay) ซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และสามารถเสริมสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และเป็นอาชีพที่จัดอยู่ในกลุ่มอาชีพด้านการบริหารจัดการและการบริการ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 กลุ่มอาชีพ ตามนโยบายของรัฐบาล ได้แก่1) เกษตรกรรม 2) อุตสาหกรรม 3) พาณิชยกรรม 4) ความคิดสร้างสรรค์ และ 5) การบริหารจัดการและการบริการ