Sino-Portuguese

Chinese Architecture

Sino-Portuguese architecture

สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส หรือ Chinese Baroque พอมีคำว่าไชนิสบาโรกก็ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ถ้าเราได้เห็นรูปแบบบาโรกมาแล้ว Shino คือ ชาวจีน ส่วนคำว่าโปรตุกีส มาจากการที่โปรตุเกสได้เข้ามายึดครองและทำการค้ากับชาวจีน บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงล่าอาณานิคม และได้มีการก่อสร้างอาคารของตนเองในแบบบาโรก จะได้พบเห็นรูปแบบชิโน ฯ ใน มาเลเซีย สิงค์โปร์ มาเก๊า ไหหลำ ดินแดนที่โปรตุเกสเข้ายึดครอง และทางใต้ของไทยได้รับอิทธิพลมาอีกต่อหนึ่งโดยเฉพาะที่ภูเก็ต

จุดที่เห็นได้ชัดเจนคือ ประตู หน้าต่างแบบโค้ง การตกแต่งกระจกช่องโค้งเหมือนกลีบดอกไม้ เป็นศิลปะแบบยุโรปที่นิยมทำกัน การตกแต่งเสาแบบกรีกโรมัน ฟาซาดที่เป็นจั่วบนยอดอาคารก็เป็นแบบบาโรก ซึ่งเป็นยุคที่ตรงกับช่วงที่ยุโรปล่าอาณานิคมมายังเอเชีย หน้าต่างแบบยุโรปจะนิยมยกขึ้นลง ส่วนของเอเชียจะเปิดออกซ้ายขวาและมีช่องระแนงตรงบานหน้าต่าง เพื่อการระบายความร้อนเป็นการปรับเปลี่ยนและผสมผสาน (hybrid) ของสองภูมิภาคเข้าด้วยกันเพราะอากาศทางเอเชียเป็นเขตร้อนชื้น ช่องระแนงของหน้าต่างแบบนี้จึงเป็นลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่นิยมใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยรวมเป็นการผสมระหว่างยูโรเปียนกับจีน เพราะนอกจากโปรตุเกสแล้วยังมี ฮอลแลนด์ อังกฤษ ฝรั่งเศส เข้ามาแย่งชิงดินแดนกันและได้สร้างอาคารในแบบของแต่ละชาติในภูมิภาคนี้เช่นกัน จึงเรียกสถาปัตยกรรมจากยุคอาณานิคมนี้ว่า "Colonial"

อาคารส่วนใหญ่จะเป็นอาคารพาณิชย์ของชาวจีนที่ใช้เป็นทั้งร้านค้าและที่อยู่อาศัยบนชั้นสอง มีการสร้างคฤหาสถ์ของทั้งชาวจีนและชนชั้นสูง และนิยมนำไปสร้างสถานที่ราชการทั้งภูมิภาคของเรา ไม่ว่าจะไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สิงค์โปร์ มาเลเซีย พม่า จะมีรูปแบบโคโรเนียลให้เห็นโดยทั่วไป


By made2homeเรียบเรียงจาก wikipedia

การออกแบบคอนโดมิเนียมที่นำรูปแบบโคโรเนียมมาใช้ ทั้งการตกแต่งภายในและภายนอก