BTG NEWS

ติดตามข่าวสารต่างๆ จาก Bang trading

ศบค. ปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยทั่วราชอาณาจักร

เริ่ม 1 พ.ค. 65

• พื้นที่เฝ้าระวังสูง 65 จังหวัด

• พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว 12 จังหวัด

**ไม่มีพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวัง

1. พื้นที่เฝ้าระวังสูง 65 จังหวัด

กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตราด ตาก นครนายก นครปฐม นครพนม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา พะเยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ระนอง ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อำนาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ อุทัยธานี อุบลราชธานี


2. พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว 12 จังหวัด

กรุงเทพมหานคร กระบี่ กาญจนบุรี ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระยอง สงขลา (จังหวัดอื่นดำเนินการบางพื้นที่) ใช้มาตรการเดียวกับพื้นที่เฝ้าระวัง


#กรมควบคุมโรค

#กระทรวงสาธารณสุข  

รายชื่อร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว 'รับยา-ติดตามอาการตามระบบเจอ แจก จบ' คลิก!

https://www.nhso.go.th/storage/downloads/main/197/2022-04-20_export_%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99OPSI-Template_%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%8A.pdf

ทั้งที่ไปใกล้ชิดผู้ติดเชื้อมา แต่ตรวจ ATK แล้วผลเป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ) อย่าเพิ่งรีบวางใจ ควรทำตามคำแนะนำต่อไปนี้


#ชัวร์โควิดและวัคซีน

https://www.facebook.com/100068038301804/posts/271385198472755/?d=n


ที่มา : สสส.


อย่าลืมสวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง หมั่นล้างมือ และฉีดวัคซีนนะคะ 

กฎหมายเรื่องภาษีคริปโตเกิดขึ้นเมื่อปี 2561

และไม่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน


หลักการของกฎหมายมีสั้น ๆ 3 ข้อ คือ

1. ส่วนแบ่งกำไรที่ได้ต้องเสียภาษี

2. ผลประโยชน์ที่เกิดจากการโอนต้องเสียภาษี

3. ให้ผู้จ่ายเงินได้หัก 15% เมื่อมีการจ่ายเงินได้


และหักแล้วไม่สามารถใช้สิทธิ์ Final TAX

แต่ในปัจจุบัน เราจะเห็นว่า

กฎหมายทั้งหมดที่เล่ามา อาจจะไม่เหมาะสมแล้ว

เพราะโลกของคริปโตได้ไปไกลกว่าปี 2561 มาก

ทำให้เราเห็นว่ากฎหมายเก่า

กำลังถูกมาบังคับใช้กับเทคโนโลยีใหม่

---

แต่อย่างไรก็ดี

สิ่งที่เป็นหลักการพอจะยึดหลักไว้ได้


สำหรับการเสียภาษีเงินได้กรณีนี้ คือ

เรื่องเงินได้ต่างประเทศ (หลักถิ่นที่อยู่)


นั่นคือ ถ้ากรณีเป็นเงินได้จากต่างประเทศ

จะไม่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย ถ้าหาก

1. อยู่ในไทยในปีนั้นไม่ถึง 180 วัน

2. ไม่ได้นำเงินได้เข้ามาในปีที่เกิดเงินได้


เราจึงได้รับคำแนะนำว่า

ถ้าหากเทรดที่ต่างประเทศแล้วถือกำไรไว้

เอาเข้ามาปีถัดไป จะไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง

แต่กรณีของคนที่เทรดที่ไทย

ในเมื่อกฎหมายยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง

เลยทำให้การตีความของรายได้เป็น 3 ทางดังนี้


1. กรณีที่เทรด (กำไรจากการแลกเปลี่ยน)

สรรพากรตีความว่าคิดตาม Transaction ที่มีกำไร

โดยไม่ให้นำขาดทุนที่เกิดขึ้นมาหักออกได้เลย


และหากมีการซื้อขายที่กระดานเทรด (Exchange)

หากเกิดรายได้ (กำไร) เมื่อไร ก็ถือว่าเป็นรายได้ทันที

โดยที่ไม่จำเป็นต้องถอนเงินออกมาเข้าบัญชีธนาคาร


2. กรณีที่รับผลตอบแทน (ล็อกเหรียญ/Staking)

มองเหมือนการได้ดอกเบี้ยจากเงินฝากธนาคาร

ผลตอบแทนต้องนำมาเสียภาษีเงินได้บุคคลด้วยเช่นกัน

โดยทั้งข้อ 1-2 ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 4


3. กรณีขุด (Mining) จะถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8

เหมือนการผลิตสินค้าเพื่อขาย โดยจะเป็นรายได้

ก็ต่อเมื่อมีการขายให้กับทางผู้ซื้อแล้วเท่านั้น


และให้หักต้นทุนค่าใช้จ่ายตามจริงได้ (ไม่มีสิทธิ์หักเหมา)

และที่สำคัญก็คือ


หากผู้จ่ายมีการจ่ายเงินได้ให้ผู้รับเงิน

ก็ต้องหักภาษี 15% ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 

จากทั้งหมดนี้เราจะเห็นปัญหาว่า

1. การหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไม่สามารถทำได้

เพราะผู้จ่ายไม่ทราบว่าผู้รับเงินเป็นใคร (ผ่าน Exchange)

และหากให้ดำเนินการจริงย่อมเป็นภาระกับผู้จ่ายเงินได้


2. การวัดต้นทุนที่เกิดขึ้นยากมากในทางปฎิบัติ

ไม่ว่าจะเป็นจำนวนการทำรายการที่เกิดขึ้น

หรือวิธีการคำนวณต้นทุนในการซื้อขายว่าจะใช้วิธีไหน

อีกทั้งกรณีของการขุดเหรียญ

เราจะเห็นว่าการหักค่าใช้จ่ายจริงทำได้ยากมากในทางปฎิบัติ


3. ผลตอบแทนที่ได้รับกรณีต่างๆ

จะคำนวณด้วยมูลค่าเท่าไร ณ วันใดถึงจะเหมาะสม

หากมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าอยู่ตลอดเวลา

และถ้าหากมูลค่าลดลงจนขาดทุนจะคิดอย่างไร ?

สรุป "ระดับการเตือนภัยโควิด" ของกระทรวงสาธารณสุข มีทั้งหมด 5 ระดับ

ก่อนปีใหม่ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำแถลงข่าวเริ่มใช้ระดับการเตือนภัยที่ "ระดับ 3"


วันนี้ ( 6 ม.ค. 2565) เข้าสู่วันที่ 3 วัน หลังเทศกาลปีใหม่ สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย มีแนวโน้มการระบาดสูงขึ้น โดยตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ ที่มากกว่า 5 พันคน สอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลก ที่สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ที่กำลังแพร่ระบาดแซงหน้าสายพันธุ์อื่นๆ


ล่าสุดเช้าวันนี้ นพ.เกียรติภูมิ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวด่วนจาก จ.ภูเก็ต เพิ่มระดับการเตือนภัยโควิด จากเดิมที่ระดับ 3 มาเป็นระดับ 4 ซึ่งจะมีมาตรการที่เข้มข้นขึ้น เช่น การปิดสถานที่เสี่ยง ขอให้ประชาชนชะลอการเดินทาง เน้นทำงานแบบ Work From Home ให้ได้มากที่สุด เข้มงวดมาตรการส่วนบุคคล สวมหน้ากากอนามัย 100% งดเว้นการรวมกลุ่ม


ซึ่งในวันพรุ่งนี้ ( 7 ม.ค. 2565) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม จะเป็นประธานประชุม ศบค. ชุดใหญ่ คาดว่า ศบค. จะประกาศมาตรการต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อรับมือโควิด ระลอก 5 (WAVE 5) อีกครั้ง 

ชุดตรวจ ATK และหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว

ทิ้งอย่างไรให้ถูกวิธี ?

ชุดตรวจ ATK และหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ทิ้งอย่างไรให้ถูกวิธี ?

ที่มา  กรุงเทพมหานคร


#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19

#ศูนย์ข้อมูลCOVID19

#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ

ใกล้วันปีใหม่แล้ว จะไปเคาท์ดาวน์กันที่ไหนบ้าง 

ใกล้วันปีใหม่แล้ว จะไปเคาท์ดาวน์กันที่ไหนบ้าง ไม่ว่าที่ไหนก็ขอให้รักษาสุขภาพ ระมัดระวังตัวกันด้วย อย่าเผลอไปฉลองกับโอไมครอนเชียว ไม่อยากเห็นใครต้องมี timeline ต้นปีใหม่แบบนี้ วิธีป้องกันตัวเองยังเหมือนเดิม สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ และถ้าพร้อมก็ไปฉีดวัคซีนด้วยก็ดีนะ #โอไมครอน #เคาท์ดาวน์ #ปีใหม่ 

 อัพเดท เชื้อโควิดกลายพันธุ์ (Omicron)

- แพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์ที่ผ่านมา 2-5 เท่า

- ผู้ติดเชื้อ Omicron ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อยคล้ายโรคไข้หวัด

(ผู้ติดเชื้อในต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล)

- ยังไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ Omicron เสียชีวิต


มาตรการป้องกัน

- ฉีดวัคซีนโควิดให้ครอบคลุมมากที่สุด

ใช้มาตรการป้องกันส่วนบุคคลที่เข้มงวด

เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง และ VUCA


- ยกระดับการเฝ้าระวัง ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ และสถานที่ท่องเที่ยว

- ทำการสุ่มตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยไข้หวัดที่เป็นกลุ่มก้อน (Cluster)

- ส่งตัวอย่างเชื้อที่พบจากผู้เดินทางหรือรายที่น่าสงสัย

ไปตรวจหาสายพันธุ์ Omicron ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์


ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข


#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19

#ศูนย์ข้อมูลCOVID19

#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ #ไทยรู้สู้โควิด 

ขอเปลี่ยนแปลงสถานพยาบาลประจำปี 2565

 สำนักงานประกันสังคมได้เปิดให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถแจ้งขอเปลี่ยนแปลงสถานพยาบาลประจำปี 2565 

ได้ตั้งแต่ 16 ธันวาคม 2564 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 

ซึ่งหากผู้ประกันตนมีความประสงค์จะเปลี่ยนสถานพยาบาล สามารถยื่นแบบเลือกสถานพยาบาลในการรับบริการทางการแพทย์ สปส. 9-02 ได้ที่


ผู้ประกันสามารถแจ้งเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

1. ทำรายการผ่าน sso.go.th

2. ทำรายการผ่าน Applications SSo Connect

3. ยื่นแบบ (สปส.9-02) ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ

การขอรับวัคซีนพาสปอร์ต (Vaccine passport)

กรุณาตรวจสอบข้อมูลการรับวัคซีนก่อนการนัดหมาย


1) เอกสารรับรอง... การได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ต้องมี QR code เพื่อสแกนตรวจสอบข้อมูลได้


เอกสารที่ต้องเตรียม

1.บัตรประชาชน(ตัวจริง)

2.Passport(ตัวจริง)..อายุการใช้งานมากกว่า 6 เดือน

3.สำเนาใบรับรองที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด19 เมื่อครบ 2 เข็ม

2) สแกน QR code จะต้องปรากฏข้อมูลการฉีดวัคซีนของท่าน และรายละเอียด certificate no.  

3) หากพบข้อมูล certificate no. แล้ว ท่านสามารถลงทะเบียนนัดหมายออนไลน์เพื่อขอรับสมุด vaccine passport ได้


4) หากไม่พบข้อมูล หรือไม่มี QR code แสดงข้อมูล กรุณาติดต่อสถานที่ที่ท่านได้รับวัคซีนเพื่อตรวจสอบการขึ้นทะเบียนในระบบ MOPH immunization เท่านั้น


5) หากพบปัญหา กรุณาติดต่อสอบถามที่หมายเลข 02-5211668 หรือ inbox ใน facebook fanpage ศูนย์บริการโรคในเขตเมือง สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง


6) กรณีมอบอำนาจได้ไม่เกิน 5 คน ต่อผู้รับมอบอำนาจ 1 คน (ต่อ 1 วันการจอง Online)จะต้องลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล จองสิทธิทุกคน และมีหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนต้องเตรียมเอกสารข้อ 1,2ตัวจริงและถ่ายสำเนาเอกสารพร้อมเซ็นรับรองสำเนาให้เรียบร้อยของผู้รับมอบอำนาจและผู้มอบอำนาจ


** กรณีเพิ่มเติมเข็มที่ 3และเข็มที่ 4 ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนนัดหมาย ** 

หมอพร้อม กับการใช้งาน "Digital Health Pass"

หมอพร้อมออกเอกสารรับรองสุขภาพดิจิทัลที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยในการออกเอกสารรับรอง เตรียมพร้อมสำหรับการเปิดประเทศ

แสดง Digital Health Pass บน หมอพร้อม

เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ

หมอพร้อม "พร้อมแล้วสำหรับการเปิดประเทศ"


ตอบข้อสงสัย หน้ากาก KF94

                                                                                                                                                ลิกลูกศรเพื่ออ่านต่อ>>

🎯 ตรวจสอบกับ รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ 

หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม 

วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น


-----------------------------------------------------


📌 สรุป : ✅ ชัวร์ แชร์ได้ ✅


Q : หน้ากาก KF94 นี่คืออะไร ?

A : ตัว KF94 จริง ๆ จัดอยู่ในหน้ากากที่เขาเรียกว่าหน้ากากกรองอากาศ

ก็คือเป็นหน้ากากกันพวก PM 2.5

ตัว KF94 ย่อมาจากคำว่า

Korea filter

94 คือประสิทธิภาพการกรองอนุภาคที่ 94 เปอร์เซนต์

 

Q : แล้วหน้ากาก KF94 นี่กันแบคทีเรียหรือไวรัสได้ไหม ?

A : ตัว KF94 มันจัดอยู่ในประเภทหน้ากากกรองอากาศ

ซึ่งหน้ากากกลุ่มนี้ ไม่มีวิธีการกำหนดให้มีการทดสอบกับแบคทีเรีย

หรือไวรัส

เอาจริง ๆ แล้วคือมันไม่ได้จัดอยู่ในประเภทของหน้ากากอนามัย 

หรือ Surgical mask จึงไม่มีการทดสอบการกรองแบคทีเรีย

มันก็เลยไม่มีการระบุเรื่องของประสิทธิภาพการกรองแบคทีเรีย

 

Q : แม้จะไม่มีการทดสอบ 

ก็ไม่ใช่ว่าจะกรองไวรัสหรือแบคทีเรียไม่ได้ ?

A : ในการทดสอบตามมาตรฐานของ KF94, N95 หรือ KN95

จะมีการทดสอบที่อนุภาคขนาด 0.3 ไมครอน

แบคทีเรียมีขนาดใหญ่กว่า 0.3 ไมครอนมาก

ก็คือส่วนใหญ่จะมีขนาดอยู่ในช่วง 

2.5 ไมครอน ถึง 5 ไมครอนขึ้นไป

เพราะฉะนั้นถ้าหน้ากากสามารถกรองอนุภาค 0.3 ไมครอน ได้ตามเกณฑ์

อนุภาคระดับ 2.5 ถึง 5 ไมครอน ถือว่าผ่าน

 

Q : เขามีการแชร์ว่าหน้ากาก KF94 

มีอายุการใช้งานแค่ 8 ชั่วโมง จริงไหม ? 

A : อายุของหน้ากาก ทั้ง KF94 ทั้ง Surgical mask

ทั้ง N95, KN95 เป็นหน้ากากที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

ตามคำแนะนำไม่ได้บอกว่าให้สามารถนำมาใช้ซ้ำได้

หน้ากากกรองอากาศพวก KF94 ที่เราสนใจตอนนี้

ชั่วโมงการใช้งานรวมตามคำแนะนำของผู้ผลิต

ก็ไม่ควรเกิน 6 ถึง 8 ชั่วโมง

เขาให้ใช้ 3 ถึง 4 ชั่วโมงแล้วก็พัก แล้วก็สามารถใส่เข้าไปใหม่ได้

 

Q : เหตุผลที่ต้องมีระยะเวลาในการพักระหว่างใส่หน้ากากไว้ ?

A : ตัว KF94, N95 หรือ KN95 ถ้าใส่ถูกวิธี ใส่แล้วฟิตพอดีกับใบหน้า 

มันจะเกิดการต้านการหายใจสูงกว่าตัว Surgical mask

พอมันใส่ไปนาน ๆ เราก็เริ่มรู้สึกเหมือนกับ

เราได้รับปริมาณออกซิเจนเข้าไปต่ำลงกว่าปกติ

เพราะมันต้านการหายใจ

ในขณะที่เราหายใจออกมันก็ต้านการหายใจออกด้วย

ก็เลยทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มันสูง

เพราะฉะนั้น มันก็จะทำให้รู้สึกเพลียหรือว่ารู้สึกเหนื่อย

เพราะฉะนั้น เขาถึงแนะนำให้ใส่ 3 ถึง 4 ชั่วโมงแล้วก็พัก

 

Q : ไม่ใช่ว่าหน้ากากที่ใช้งานครบ 8 ชั่วโมงทุกชิ้น 

จะประสิทธิภาพต่ำกว่ามาตรฐาน ?

A : แต่จริง ๆ แล้วหน้ากากที่ใช้งานเกิน 8 ชั่วโมงแล้ว

ใช่ว่าจะประสิทธิภาพต่ำกว่ามาตรฐานนะ

บางตัวก็ยังประสิทธิภาพดีอยู่ 

แต่เพียงแต่ว่ามันสกปรก มันชื้น มันปนเปื้อน จำเป็นต้องทิ้ง

มันต้องสังเกตด้วยว่ามันเปียก มันสกปรกไหม

ไม่ชื้น ไม่สกปรก มันก็สามารถขยายไปเกิน 8 ชั่วโมงได้

มันขึ้นอยู่กับว่าเราใช้หน้ากากอยู่ในสภาพไหน

อยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือเปล่า

 

Q : เขามีคำแนะนำอีกว่าการเก็บหน้ากาก KF94 ไม่ควรพับเก็บตามรอยเดิม 

เพราะเชื้อจะปนเปื้อนไปส่วนอื่นของหน้ากากได้  ?

A : จริง ๆ แล้วก็มีเหตุผล

เพราะว่าถ้าประกบตามรอยเดิม

ส่วนหนึ่งที่เป็นด้านนอกก็อาจจะไปซ้อนทับกับด้านใน

ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่ามีการปนเปื้อนบนผิวหน้ากากด้านนอกหรือเปล่า

ถ้ามีการปนเปื้อนก็จะมีความเสี่ยง 

เพราะว่าด้านในเป็นด้านที่สัมผัสกับหน้าเรา

แล้วก็เป็นด้านที่เราหายใจเข้าไปด้วย

เพราะฉะนั้นควรจะแยกให้ชัดเจนว่าตรงไหนเป็นด้านนอกกับด้านใน

ด้วยวิธีการพับให้ชัดเจนแบบนี้นะครับ

แบบนี้ก็น่าจะปลอดภัยกว่า

 

Q : แต่เมื่อพับเก็บหน้ากาก 

มือของเราก็ไม่ควรสัมผัสด้านในของหน้ากาก ?

A : ตอนเราพับเก็บระหว่างวัน

เราต้องอย่าให้มือเราสัมผัสด้านใน(หน้ากาก)

เราก็ต้องมีวิธีการดึงสายออกมาแล้วก็พับ

โดยที่ให้มือสัมผัสแค่ด้านนอก พอสัมผัสด้านนอกก็ไปล้างมือ

ด้านในก็ต้องเป็นด้านที่สะอาดที่สุดจะดีกว่า

เพราะมันเป็นด้านที่สัมผัสกับหน้า ถ้ามันสกปรก 

ไม่ใช่แค่ว่ามีอะไรจะเข้าไปในระบบทางเดินหายใจเรานะ

มันก็จะมีส่วนหนึ่งที่ไปทำให้เกิดการระคายเคือง

หรือทำให้เกิดการแพ้ หรือทำให้เกิดอะไรที่ผิวหน้าเราได้

บางคนเป็นสิวเป็นอะไรเพราะว่าเกิดจากการเก็บรักษาหน้ากากไม่ดี

 

Q : วิธีดูหน้ากาก KF94 ที่มีคุณภาพได้ยังไงบ้าง ?

A : ดูยากถ้าจะดูว่าตัวไหนประสิทธิภาพดี ประสิทธิภาพไม่ดี

มันต้องเข้าแลปทดสอบอย่างเดียว

 

ถึงแม้จะดูได้ยาก แต่การอ่านฉลากก่อนซื้อหน้ากากก็เป็นสิ่งที่ควรทำ

ก็เลือกซื้อหน้ากากที่มีฉลาก มีซองที่ระบุถึงมาตรฐาน

ระบุถึงประสิทธิภาพ ระบุประเทศที่ผลิต ผู้นำเข้า

ระบุวันที่ผลิต วันที่หมดอายุ ต้องดูหมด

 

Q : หน้ากาก KF94 

จะมีการระบุการผ่านมาตรฐานไว้ที่บรรจุภัณฑ์ ?

A : ถ้าเป็นหน้ากากนำเข้าจากจีน

ให้สังเกตว่าผ่านมาตรฐาน GB 2626-2019 หรือเปล่า

 

แต่ถ้าเป็นหน้ากาก KF94 นำเข้าจากเกาหลี

จะต้องผ่านมาตรฐานที่เราเรียกว่า 

KMOEL-2017-64

 

Q : อีกอันนึงก็คือจากยุโรป 

ยุโรปมันจะมาในมาตรฐานที่เขาเรียกว่า FFP2 ?

A : จะเป็นหน้ากากคล้าย ๆ กับ KF94 นั่นแหละ

แล้วผ่านมาตรฐาน EN 149:2001

 

อีกประเภทนึงก็คือเป็นหน้ากากที่ใช้ทรงนี้

ทรง KF94 ผลิตในประเทศเริ่มมี

อันนี้อาจจะต้องดูว่าเขาได้มาตรฐานของไทยไหม

มี อย. รับรองหรือเปล่า

มีการรับรองการผลิตเครื่องมือแพทย์หรือเปล่า

หรือโรงงานเขามีมาตรฐาน ISO 

หรือเขาได้ มอก. อะไรหรือเปล่า อันนี้จะต้องดู

 

Q : และถ้าจะให้มั่นใจจริง ๆ ควรจะซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ?

A : เดี๋ยวนี้หน้ากากสอดไส้เยอะ

ก็คือเป็นหน้ากาก KF94 ที่นำเข้ามาจากจีน

เป็นกระสอบ ๆ เป็นลัง ๆ เลย

เสร็จแล้วก็เอามาใส่ซอง ใส่กล่องบ้านเราก็มี

มาแพ็คบ้านเราแบบนี้ก็มีนะครับ ก็ขายในตลาดเยอะแยะมากมาย

ก็ลองพิจารณาดูว่าซื้อตามแหล่งที่น่าเชื่อถือ

ร้านขายยา ซุปเปอร์มาร์เก็ตที่เขามีระบบการควบคุมสินค้าอะไรดี ๆ 

ก็น่าจะมั่นใจกว่า

 

👉 การสวมหน้ากากยังคงเป็นวิธีที่สำคัญ

ในการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

วัดภูมิคุ้มกันโควิด-19

                                                                                                                                                คลิกลูกศรเพื่ออ่านต่อ>>

บนโซเชียลมีหลายข้อสงสัยเกี่ยวกับการวัดภูมิคุ้มกันโควิด-19  การวัดภูมิคุ้มกันบอกอะไร หน่วยการวัดแต่ละแบบต่างกันอย่างไร และค่าเท่าไหร่ถึงเรียกว่ามีภูมิคุ้มกันเพียงพอ ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์


🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ หังสสูต

อาจารย์ประจำหน่วยไวรัสวิทยา 

ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น 


-----------------------------------------------------


📌 สรุป : ✅ ชัวร์ แชร์ได้ ✅


Q : การวัดภูมิคุ้มกันโควิด-19 นี่เป็นยังไง ?

A : เวลาวัดภูมิคุ้มกันมันวัดได้หลายแบบ

อันนี้เรียกว่าการวัดภูมิคุ้มกัน

หรือเรียกภูมิตอบสนองดีกว่า อย่าเรียกภูมิคุ้มกันเลย

เรียกว่าภูมิตอบสนอง แอนติบอดี

ภูมิมันสามารถวัดเพื่อบอกการติดเชื้อก็ได้

แล้วก็บอกเพื่อป้องกันการติดเชื้อก็ได้

บอกได้หลายอย่างด้วยกัน

 

Q : การวัดภูมิคุ้มกันโควิด-19 

ที่เห็นกันว่ามีหลายหน่วยการวัดนี่ต่างกันยังไง ?

A : ก็จะเห็นว่ามีคนออกมาโชว์กันในโซเชียลต่าง ๆ 

บางคนก็จะมาโชว์กันว่ามีค่าเป็นหลักสิบบ้าง เป็นหมื่นเป็นแสนบ้าง

ก็จะเห็นว่ามีเป็นตัวเลขมา ข้างหลังมันก็จะเป็นค่าเป็น AU บ้าง เป็น U บ้าง

ต่อ mL นะครับ mL ก็คือ cc

หน่วยข้างหลังที่เป็น AU หรือ U ก็มีค่าไม่เท่ากัน

ก็แล้วแต่บริษัทผู้ผลิตที่เขากำหนดออกมา

 

Q : จึงทำให้องค์การอนามัยโลก หรือ WHO มีการตั้งค่ามาตรฐานขึ้นมา ?

A : กรณีแบบนี้องค์การอนามัยโลก ก็เห็นจุดบกพร่องตรงนี้

พยายามจะทำให้เป็นมาตรวัดเดียวกัน พยายามเอามาเทียบเคียงกัน

ซึ่งมาตรตรงกลางที่เป็นมาตรฐานชื่อว่า BAU เติม B ไปข้างหน้า

ดังนั้นถ้าเกิดอยากจะรู้ว่าค่าหนึ่งแสนของเรา 

เทียบกับว่ามาตรวัดของ WHO หรือว่า องค์การอนามัยโลกเท่าไหร่

คือต้องไปเทียบตามเกณฑ์นั้นนะครับ

เช่น สมมติว่าผมบอกว่าค่าผมไปวัดได้แสนนึง 

เพื่อนวัดได้เจ็ดพันมันเท่ากันหรือเปล่า

อันนี้มันบอกตรง ๆ แบบนั้นไม่ได้นะครับ ถ้าหน่วยข้างหลังไม่เท่ากัน

 

Q : การวัดที่เห็นในปัจจุบัน

เป็นการวัดภูมิคุ้มกันที่มีต่อโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม ?

A : โดยทั่วไปแล้วที่เราวัดกันเห็นพบทั่วไปในโซเชียล

เป็นวัดภูมิตอบสนองต่อสายพันธุ์ไวรัสดั้งเดิม 

สายพันธุ์อู่ฮั่นที่มีดั้งเดิมมา

ไม่ได้แปลโดยตรง ๆ ว่าการตอบสนองนี้ 

จะสามารถป้องกันไวรัสในปัจจุบันได้

แปลว่ามีภูมิตอบสนองต่อสายพันธุ์วัคซีนที่เราฉีดเข้าไป

ตอบสนองต่อสายพันธุ์ปัจจุบันได้ดีมากน้อยเท่าไหร่

อาจจะต้องไปวิเคราะห์เพิ่มเติมในขั้นสูงขึ้นไป

 

Q : ถ้าอยากจะวัดภูมิคุ้มกันโควิด-19 จริง ๆ ควรวัดช่วงไหน ?

A : การตรวจครั้งแรกก็คงจะตรวจหลังเข็มสองประมาณ 28 วัน

เอาอย่างนี้แล้วกัน

ถ้าอย่าง (วัคซีน)จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ก็เข็มเดียว

แต่ว่าถ้าเป็นวัคซีนที่มีสองเข็มก็ 28 วัน

ถามผมตอนนี้ก็ว่าเป็น optional (ทางเลือก)

วัดก็ได้ไม่วัดก็ได้

 

Q : แล้วค่าเท่าไหร่ที่ถือว่าเรามีภูมิคุ้มกันเพียงพอแล้ว ?

A : วัคซีนในอดีตเรารู้แล้วว่าตรงนี้เป็นจุดตัด

ว่าระดับแค่นี้ไม่พอจะต้องฉีดเพิ่มมากกว่านี้ แค่นี้พอแล้ว

วัคซีนโควิดยังไม่มีจุดตัดตรงนั้น

เพราะฉะนั้นมันจะต้องศึกษาต่อไปว่าเท่าไหร่

 

ซึ่งภูมิคุ้มกันที่วัดได้นั้นจะลดลงตามเวลา

ถ้าเกิดภูมิสูงขึ้นมาในระดับนึงแล้ว

ผมยกตัวอย่างเฉย ๆ นะครับว่า พันห้า กับ สองหมื่น

มันอาจจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก

อันนี้เราพูดในเวลาเดียวกัน

ถ้าเกิดเราตามข่าวในเมืองนอกเราจะเห็นว่า

ภูมิพวกนี้มันจะลดลงตามเวลา

เช่นสมมติว่าภูมิสักแปดพัน ในเวลา 6 เดือนผ่านไป

ภูมิมันจะค่อยตก ๆ มาเรื่อย ๆ ท้ายที่สุดแล้วผ่านไป 6 เดือน 

ภูมิอาจจะตกมาเหลือสักไม่ทราบเท่าไหร่

แต่ว่าอาจจะไม่เพียงพอต่อการป้องกันตัวเราก็ได้ในอนาคต

 

Q : การฉีดวัคซีนก็มีหลักฐานว่าสามารถลดอัตราความรุนแรงของโรคได้ ?

A : เป็นหลักฐานทางอ้อม

วัคซีนทุกชนิดมันสามารถลดความรุนแรงของโรคได้

แม้ว่าจะไม่สามารถลดการติดเชื้อได้ 100 เปอร์เซนต์

แล้วก็ไม่ว่าวัคซีนชนิดไหน

สามารถจะลดอัตราการตายได้ร้อย 100 เปอร์เซนต์ อันนี้ไม่มี

 

Q : ดังนั้นถึงแม้จะฉีดวัคซีนโควิด-19 มาแล้ว 

มาตรการที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ก็ยังมีความจำเป็น ?

A : เราพยายามใช้มาตรการแรกเป็นกำแพงด่านแรกของเรา

คือมาตรการที่เรารู้กันตั้งแต่ก่อนมีวัคซีน

ล้างมือ

ใส่หน้ากาก

ไม่อยู่ในที่แออัด

อย่าเอามือกับหน้ามาชนกัน อย่าขยี้หูขยี้ตา

ทานข้าวเราก็ทานคนเดียว อย่าไปทานร่วมกับคนอื่น 

แล้วเอาวัคซีนที่เราฉีดเป็นด่านที่ 2 ช่วยอุดรอยรั่ว

อย่างนั้นจะดีกว่า 

 

👉 การฉีดวัคซีน

ประกอบกับการปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด 

จะเป็นเกราะป้องกันโควิดได้ดีมากขึ้น


#ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare 

ม.33 ม.39 ม.40ต่างกันอย่างไร 

ตกลงว่า เราอยู่ ม. อะไรกันแน่^^   คลิกลูกศรเพื่ออ่านต่อ>>

ประกันสังคม มาตรา 33 

ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมมาตรา 33 ออนไลน์ กลุ่มนี้ก็คือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป 

คุณสมบัติของผู้ประกันตน 

มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี 

การส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน

ลูกจ้างร้อยละ 5 % + นายจ้าง 5 % + รัฐบาล 2.75 % ของฐานเงินเดือนที่คุณได้รับขั้นต่ำ ตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท  

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ 

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ คือ ความคุ้มครองกรณีที่เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และกรณีที่ว่างงาน 

ช่องทางการสมัคร เป็นผู้ประกันสังคม มาตรา 33 

สำหรับผู้ประกันตนในมาตรา 33 นี้ นายจ้างจะเป็นผู้ดำเนินการสมัครประกันสังคมออนไลน์ให้กับเราเอง 


ประกันสังคม มาตรา 39  

คุณสมบัติของผู้ประกันตน 

ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมออนไลน์มาตรา39 กลุ่มนี้คือคนที่เคยทำงานบริษัทเอกชนมาก่อนและได้ลาออกแต่ต้องการรักษาสิทธิของประกันสังคมไว้ จึงสมัครใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน 

การส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน 

ต้องเป็นผู้ที่ประกันสังคมในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี และลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ และจะต้องส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาท/เดือน โดยรัฐจะช่วยสมทบอีก 120 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ  

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ คือ กรณีที่เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ทุพพลลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ

ช่องทางการสมัคร เป็นผู้ประกันสังคม มาตรา 39 

ช่องทางการสมัครประกันสังคมออนไลน์สามารถยื่นแบบคำขอ (แบบ 1-20) ได้ด้วยตัวเองภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน โดยสามารถยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ส่วนภูมิภาค ประกันสังคมจังหวัด และสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา 


ประกันสังคม มาตรา 40

คุณสมบัติของผู้ประกันตน 

ผู้สมัครประกันตนเอง มาตรา 40 กลุ่มนี้ คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างของบริษัทเอกชนในมาตรา 33 และ 39 จึงจะสามารถสมัครใช้สิทธิประกันสังคมออนไลน์ในมาตรา 40 นี้ได้ จะต้องประกอบอาชีพอิสระ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี

การส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน

การส่งเงินสมทบสามารถเลือกได้ 2 กรณี ดังนี้

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ  

สิทธิประโยชน์ประกันสังคมออนไลน์ที่จะได้รับนั้นมี 2 กรณี ดังนี้ 

ช่องทางการสมัคร เป็นผู้ประกันสังคมมาตรา 40

ติด COVID-19 ขาดรายได้ 

ประกันสังคมยังดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายให้คุณ!  คลิกลูกศรเพื่ออ่านต่อ>>

 สำหรับผู้ประกันตนที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นผู้ป่วยโรค COVID -19 #สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล และแพทย์ผู้ดูแลรักษาพิจารณาแล้วว่าผู้ป่วย เข้าเกณฑ์การดูแลรักษาในที่พักระหว่างรอเข้ารักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation) ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด


 ค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ดังนี้

1. ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ

2. ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตนที่ป่วย โดยเป็นค่าใช้จ่ายรวมค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามประเมินอาการ และการให้คำปรึกษา เหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาทต่อวัน ไม่เกิน 14 วัน

3. ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ค่าปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น ค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

4. ค่ายาที่ใช้รักษา

5. ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล

6. ค่าบริการ X-ray ทรวงอก

7. ค่า oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์


#การเบิกค่าทดแทนการขาดรายได้

- สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะพิจารณาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ ช่วงที่ 30 วันแรกที่ลาป่วยจะได้ค่าจ้างจากนายจ้าง แต่หากมีความจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วันจะสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมได้ ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยเป็นต้นไป

- สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 (4,800 บาท)

ทั้งนี้ พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนใช้สิทธิ์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

- กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ตามทางเลือก 1-2-3 โดยพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนใช้สิทธิ์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม www.sso.go.th หรือ

โทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง 

ความคืบหน้าวัคซีนโมเดอร์นา 

 คลิกลูกศรเพื่ออ่านต่อ>>

ความคืบหน้าวัคซีนโมเดอร์นา บริษัทซิลลิคฯ แจ้ง ส่งมอบล็อตแรกกลางเดือนตุลาคม ทยอยส่งสัปดาห์ละ 3 แสนกว่าโดส ต่อเนื่องในไตรมาส 4/64 คาดจบดีลไม่เกินมีนาคม 65 บริษัทซิลลิคฯ ยืนยันกำหนดการนำเข้าเป็นไปตามลำดับการสั่งซื้อกับผู้ผลิต (First Come First Serve) โรงพยาบาลเอกชนมั่นใจมีวัคซีนฉีดให้ผู้สั่งจองแน่นอน

เมื่อวาน (14 กันยายน 2564)  องค์การเภสัชกรรม จัดประชุมติดตามความคืบหน้าการส่งมอบวัคซีนโมเดอร์นา ร่วมกับบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จํากัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายและนำเข้าวัคซีนโมเดอร์นา และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน โดยบริษัทซิลลิคฯ ได้แจ้งความคืบหน้าว่า ด้วยกฎเกณฑ์การส่งมอบที่ต้องดำเนินการตามแนวทางของบริษัทผู้ผลิตต่างชาติและเป็นแนวทางเดียวกันกับทุกประเทศที่สั่งซื้อวัคซีนโมเดอร์นา ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีความต้องการวัคซีนจำนวนมาก โดยวัคซีนโมเดอร์นา จำนวน 1.958,400 ล้านโดส ผู้ผลิตจะสามารถส่งมอบล็อตแรกถึงไทยประมาณกลางเดือนตุลาคมนี้  และจะทยอยส่งสัปดาห์ละ 3 แสนกว่าโดส ต่อเนื่องทุกสัปดาห์จนครบในไตรมาส 4 ปี 2564 ส่วนที่เหลืออีกกว่า 3 ล้านโดส บริษัทจะได้เร่งทยอยส่งมอบจนจบดีลไม่เกินมีนาคม 2565

ทั้งนี้ในแต่ละครั้งที่ส่งมอบ บริษัทซิลลิคฯ จะส่งวัคซีนให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อทำการตรวจสอบคุณภาพตามกระบวนการ โดยใช้เวลาอีก 3-5 วัน ก่อนกระจายวัคซีนไปยังโรงพยาบาลเอกชนต่อไป

ในส่วนของการจัดสรรจำนวนวัคซีนที่บริษัทซิลลิคฯ นำเข้ามาในแต่ละครั้ง องค์การเภสัชกรรมจะจัดสรรตามสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของยอดโควต้าที่มีการจองเข้ามาเป็นหลัก ทั้งในส่วนของโรงพยาบาลเอกชนและสภากาชาดไทย โดยจะมีการแจ้งให้โรงพยาบาลทราบล่วงหน้า  เพื่อให้โรงพยาบาลแต่ละแห่งกำหนดเวลาบริการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนที่สั่งจองต่อไป

บริษัทซิลลิคฯ ยังได้ยืนยันว่า การดำเนินงานร่วมกับองค์การเภสัชกรรมและสมาคมโรงพยาบาลเอกชนในการนำเข้าและส่งมอบวัคซีนวัคซีนโมเดอร์นา นับเป็นพันธสัญญาแรกในประเทศไทย  ดังนั้นกำหนดการส่งมอบจึงเป็นไปตามลำดับการสั่งซื้อกับผู้ผลิต (First Come First Serve) โรงพยาบาลเอกชนจึงมั่นใจได้ว่าจะมีวัคซีนฉีดให้ผู้สั่งจองตามกำหนดการตามแผนแน่นอน

องค์การเภสัชกรรม และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ได้ติดตามความคืบหน้าการนำเข้าวัคซีนจากบริษัทซิลลิคฯ อย่างต่อเนื่อง และหลังจากนี้จะได้กระชับการติดตามให้มากขึ้นเนื่องจากใกล้เวลาการส่งมอบ  ซึ่งมีรายละเอียดที่ต้องดำเนินงานในกระบวนการอีกหลายอย่าง   อีกทั้งได้พยายามเร่งรัดให้บริษัทซิลลิคฯ ส่งมอบวัคซีนทางเลือกมาให้บริการกับประชาชนไทยให้ได้โดยเร็วที่สุด  โดยบริษัทซิลลิคฯ จะรายงานข้อมูลความคืบหน้าให้องค์การเภสัชกรรมและสมาคมโรงพยาบาลเอกชนทราบอย่างต่อเนื่อง  เพื่อจะได้แจ้งความคืบหน้าให้สาธารณชนรับทราบต่อไป

#องค์การเภสัชกรรม #GPO #โมเดอร์นา


เปิดแผนฉีดวัคซีนไขว้ ตลอด ต.ค.

 คลิกลูกศรเพื่ออ่านต่อ>>

ยังคงเป็นที่สับสนของผู้คนว่า สรุปแล้วประชาชนกลุ่มใด จะได้ฉีดวัคซีนสูตรไหนบ้าง หลังกระทรวงสาธารณสุขออกมาแถลงว่า จะเริ่มให้มีการฉีดวัคซีนไขว้ทั้งประเทศ ตลอดทั้งเดือนตุลาคมนี้ โดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าว่า จะจัดให้การฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มจำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ในทุกจังหวัด


สูตรการฉีดไขว้ จะใช้วัคซีนจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 24 ล้านโดส ซึ่งตรงกับช่วงเดือนตุลาคม ที่กระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ว่าจะมีวัคซีนส่งมายังไทยจำนวนมาก โดยจะเริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน - 31 ตุลาคม พ.ศ.2564 ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไร The MATTER ได้แจกแจงมาให้ตรงนี้แล้ว

.

เกณฑ์การฉีดกลุ่มเป้าหมายตลอดเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้

- ฉีด 1 เข็มให้ครอบคุลมประชากรทั้งหมดอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ของทุกจังหวัด และให้มีอย่างน้อย 1 อำเภอที่ฉีดครอบคลุม 70 เปอร์เซ็นต์ ตลอดจนทำ Covid Free Area ในจังหวัดที่ฉีดครอบคลุม 80 เปอร์เซ็นต์ โดยเน้นฉีดให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ให้ได้มากที่สุด ส่วนประชากรกลุ่มอื่นๆ นั้น คณะกรรมการโรคติดต่อในแต่ละจังหวัดจะเป็นผู้จัดสรร

- จัดการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ของทุกคน ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปก่อนหน้านี้

- ขยายกลุ่มอายุผู้ได้รับวัคซีน ไปเป็นผู้มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดเทอม

- ฉีดเข็มกระตุ้นในผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็มช่วงมีนาคม - พฤษภาคม พ.ศ.2564

- ฉีดในพื้นที่เศรษฐกิจและควบคุมการระบาด


แล้วใครได้ฉีดสูตรไหนกันบ้าง?

- ประชาชนทั่วไป ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วทั้งประเทศ จำนวน 16.8 ล้านโดส คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ตลอดการฉีดทั้งเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 แบ่งออกเป็น 3 สูตรการฉีด ได้แก่ Sinovac เข็มที่ 1 + AstraZeneca เข็มที่ 2, AstraZeneca เข็มที่ 1 + AstraZeneca เข็มที่ 2, AstraZeneca เข็มที่ 1 + Pzfier เข็มที่ 2


- นักเรียนที่มีอายุระหว่าง 12 - 17 ปี ทั่วทั้งประเทศ จำนวน 4.8 ล้านโดส คิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ ตลอดการฉีดทั้งเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 โดยจะใช้สูตร Pfizer เข็มที่ 1 + Pfizer เข็มที่ 2


- แรงงานในระบบประกันสังคม จำนวนกว่า 8 แสนโดส คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ ตลอดการฉีดทั้งเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 โดยจะใช้สูตร Sinovac เข็มที่ 1 + AstraZeneca เข็มที่ 2


- หน่วยงานอื่นๆ เช่น องค์กรภาครัฐ ราชทัณฑ์ จำนวน 1.1 ล้านโดส คิดเป็น 5 เปอร์เซ็นต์ ตลอดการฉีดทั้งเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 โดยจะใช้สูตร Sinovac เข็มที่ 1 + AstraZeneca เข็มที่ 2


- ผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็ม และต้องการฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 จำนวนกว่า 5 แสนโดส คิดเป็น 2 เปอร์เซ็นต์ ตลอดการฉีดทั้งเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 โดยจะใช้สูตร Sinovac เข็มที่ 1 + Sinovac เข็มที่ 2 ที่เคยได้รับไปก่อนหน้านี้ ตามด้วย AstraZeneca เข็มที่ 3 เป็นเข็มกระตุ้น

.

สูตรฉีดวัคซีนในไทยเป็นอย่างไร?

1. สูตรฉีดไขว้

- Sinovac เข็มที่ 1 + AstraZeneca เข็มที่ 2 ฉีดห่างกัน 3 - 4 สัปดาห์ ซึ่งใช้เป็นสูตรหลักในไทยตอนนี้ เพื่อฉีดให้แก่ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

- AstraZeneca เข็มที่ 1 + Pzfier เข็มที่ 2 ฉีดห่างกัน 3 - 4 สัปดาห์ ใช้ทดแทนสูตร AstraZeneca 2 เข็ม เนื่องจากมีระยะเวลาห่างระหว่างโดสของสูตร AstraZeneca 2 เข็มเดิม ไม่ทันต่อการรับมือการระบาด และใช้ในกรณีเหตุผลความจำเป็นอื่น


2. สูตรฉีดโดสเดียวกันตามบริษัทผู้ผลิต

- Pfizer 2 เข็ม ฉีดห่างกัน 3 - 4 สัปดาห์ ใช้ในผู้มีอายุ 12 - 17 ปี และผู้ที่จะต้องเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งปลายทางกำหนดให้ว่าต้องรับวัคซีน Pfizer

- AstraZeneca 2 เข็ม ฉีดห่างกัน 8 - 12 สัปดาห์ ใช้ในผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และผู้ที่จะต้องเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งปลายทางกำหนดให้ว่าต้องรับวัคซีน AstraZeneca

- Sinopharm 2 เข็ม ฉีดห่างกัน 8 - 12 สัปดาห์ เป็นวัคซีนทางเลือก รายละเอียดการใช้เป็นไปตามผู้ผลิตกำหนด


3. การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

Sinovac เข็มที่ 1 + Sinovac เข็มที่ 2 เว้นระยะห่างจากเข็มที่สอง 4 สัปดาห์ขึ้นไป แล้วตามด้วย AstraZeneca เข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ปัจจุบันกำลังเริ่มใช้ใน Phuket Sandbox


4. การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในผู้เคยติดเชื้อ

AstraZeneca หรือ Pfizer 1 เข็ม ฉีด 1 - 2 เดือน หลังจากตรวจพบเชื้อและหายดี รวมทั้งพ้นระยะกักตัว หรือหากเกิน 3 เดือนให้เข้ารับการฉีดโดยเร็ว โดยจะฉีดให้ผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน หรือได้รับวัคซีนไม่ครบ หรือได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม แต่ยังไม่ถึง 2 สัปดาห์แล้วติดเชื้อ


นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรคระบุว่า แผนการฉีดวัคซีน 24 ล้านโดส จะสามาถมีการปรับเปลี่ยนได้ หากในอนาคตวัคซีนไม่ได้ถูกจัดส่งมาตามแผนการ หรือชุดความรู้ใหม่ๆ ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการ Universal Prevention เช่น การใส่หน้ากาก การเว้นระยะห่าง การล้างมือ



อ่านต่อได้ที่: https://thematter.co/qui.../thailand-cocktail-vaccine/155058 

บริษัท แบงเทรดดิ้ง 1992 จำกัด
ฉีดวันพุธที่ 22 กันยายน 2564
เวลา 12.30.- 15.00 น.

หรือ
ฉีดวันพฤหัสที่ 23 กันยายน 2564
เวลา 08.00.- 12.00 น.

ณ ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค

*หมายเหตุ : วันนัดหมายของแต่ท่านไม่เหมือนกัน ให้ตรวจสอบ SMS และยึดวันเวลานัดหมายจาก SMS ที่ท่านได้รับ

การฉีดวัคซีน ช่วยทำให้อาการป่วยและการเสียชีวิตน้อยลง

“สถิติ ชี้ คนไม่ฉีดวัคซีนมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าคนฉีดวัคซีน “


การได้รับวัคซีน

1. ครบ 2 เข็ม จำนวนผู้ป่วยเสียชีวิต 107 ราย คิดเป็น 0.8%

2. วัคซีน 1 เข็ม จำนวนผู้ป่วยเสียชีวิต 1,967 ราย คิดเป็น 14.4%

3. ไม่ได้ฉีดวัคซีน จำนวนผู้ป่วยเสียชีวิต 8,803 ราย คิดเป็น 64.6%

4. ไม่มีประวัติการฉีดวัคซีน(ในระบบหมอพร้อม) จำนวนผู้ป่วยเสียชีวิต 2,760 ราย คิดเป็น 20.2%


การฉีดวัคซีน ช่วยทำให้อาการป่วยและการเสียชีวิตน้อยลง


ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19

#ศูนย์ข้อมูลCOVID19

#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ 

ดีเดย์ 16 ก.ย. 64 นี้ สปสช. แจก ATK ฟรี

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) แจกชุดตรวจ ATK ฟรี กระจาย 8.5 ล้านชิ้นผ่านหน่วยบริการ (รพ. รพ.สต. คลินิกเอกชน ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษา (สิทธิบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ) ตรวจโควิดด้วยตนเอง เพื่อป้องกันควบคุมโรค รู้เร็ว รักษาเร็ว ลดการระบาดโควิดแจกคนละ 2 ชุด ห่างกัน 5 วัน ดีเดย์ 16 ก.ย. 2564 เป็นต้นไป

การแจกชุดตรวจ ATK ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 2 รูปแบบ ดังนี้


ที่มา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19

#ศูนย์ข้อมูลCOVID19

#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ 

บริษัท เมดิไทม์ จำกัด
ได้คิวฉีดวันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2564
เวลา 08.00 - 12.00 น.
ณ ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค

บริษัท อินเตอร์ เมดิคอล จำกัด
ได้คิวฉีดวันพุธที่ 1 กันยายน 2564
เวลา 12.50 - 15.00 น.
ณ เซ็นทรัลบางนา

บริษัท แอฟฟินิเทค จำกัด
ได้คิวฉีดวันพฤหัสที่ 2 กันยายน 2564
เวลา 12.50 - 15.00 น.
ณ เซ็นทรัลบางนา

คู่มือรับมือ Covid-19 (V.2)

 คลิกลูกศรเพื่ออ่านต่อ>>

โหลด ebook ได้ที่

https://drive.google.com/file/d/1Xvw206q5tKSIGp_veQSJd64dj5hSNt9B/view?fbclid=IwAR10J1TPgG5AthQ17QCi1Oy1CjrAPspbfdY9qWdJ1HiSjKdlUHDrgeEJONo


หรืออ่านออนไลน์ได้ที่

https://meawzilaz.files.wordpress.com/2021/08/dramaaddict_covid_ebook_version2.pdf?fbclid=IwAR2E13Esp_sUR7kMIwwzVa-T9uDW5yB6s2v6C_nC6WnbF75rakVYcLkUrrY


หัวข้อทั้งหมดในเล่ม

การฉีดวัคซีน เข็มที่ 2

สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร

 สปส.พร้อมแล้ว ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 (AstraZeneca) ให้แก่ผู้ประกันตน ม.33

เริ่ม 16 สิงหาคม นี้

ตรวจสอบวันนัดหมายได้ที่ https://www.sso.go.th/eform_news/ 

ไทยร่วมใจ ระบบจะแสดงผลนัดใหม่

ไทยร่วมใจ แจ้ง ผู้ที่มีอายุ 18 - 59 ปี ที่มีคิวฉีดวัคซีน

เดิมวันที่ 27 ก.ค. - 15 ส.ค. 64 ให้มาฉีดวัคซีน

ตามกำหนดการใหม่ วันที่ 18 - 21 ส.ค. 64 

ไทยร่วมใจ ระบบจะแสดงผลนัดใหม่

ผู้ได้คิว 1 - 8 ก.ค. 64 ถกแขนเสื้อเลยค่ะ

หมายเหตุ: ระบบจะแสดงผลนัดใหม่ ตั้งแต่วันที่ 5 ส.ค. 64 เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป 

ประกันสังคม โอนเงินเยียวยา ม.33 

ผ่านพร้อมเพย์ ให้ผู้ได้รับสิทธิ์แล้ว 1 ล้านคน                                      คลิกลูกศรเพื่ออ่านบความ >>

เพื่อบรรเทาผลกระทบโควิด-19 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, สงขลา

โดยจะเริ่มทยอยจ่ายตั้งแต่วันที่ 4-6 ส.ค. 2564 เนื่องจากระบบการโอนผ่านพร้อมเพย์สามารถดำเนินการได้วันละ 1 ล้านบัญชีเท่านั้น โดยผู้ประกันตนที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยามีจำนวน 2.87 ล้านคน จะต้องใช้เวลาถึง 3 วันจึงจะสามารถโอนได้ครบภายในกำหนดเวลาวันที่ 6 ส.ค. 2564 โดยจะทยอยโอนครั้งต่อไปให้กับนายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ทุกๆ วันศุกร์ จนถึงวันที่ 29 ต.ค. 2564

ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 33 และนายจ้างที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 3 จังหวัดที่เหลือ ได้แก่ ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา มีผู้ประกันตนได้รับสิทธิ์จำนวน 272,746 คน นายจ้าง 19,213 ราย โดยสำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินในวันที่ 9 ส.ค. 2564

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 หากมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์สอบถามข้อมูลจาก สายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

คู่มือ การแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) 

เปิดตัว คู่มือการแยกกักตัวที่บ้าน (Home isolation) ที่คุณหมอหลายท่านช่วยกันรวบรวมข้อมูลสำคัญ เพื่อให้ใครก็ตามที่กำลังมองหาทางเลือกในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดในสถานการณ์ที่ระบบสาธารณสุขของประเทศกำลังตึงตัวเต็มที่

#ช่วยกันยกระดับป้องกันโควิด #HomeIsolation

ดาวน์โหลดคู่มือ การแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) 

http://ssss.network/rnzwu

Universal Prevention

วิธีป้องกันการติดโรคโควิด 19 ขั้นสูงสุด (แบบครอบจักรวาล) 

Universal Prevention วิธีป้องกันการติดโรคโควิด 19 ขั้นสูงสุด (แบบครอบจักรวาล)

โดยคิดว่าตนเองและคนรอบข้างอาจจะมีเชื้อ SARS-CoV-2 อยู่แล้ว จึงต้องมีการป้องกันขั้นสูงสุด

10 ขั้นตอน


ที่มา กรมควบคุมโรค


#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19

#ศูนย์ข้อมูลCOVID19

#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ