ตัวบ่งชี้ที่  3.8 การพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

ผู้รับผิดชอบองค์ประกอบหลัก

พิชญ์ณาภรณ์

ตัวบ่งชี้ที่  3.8  :  การพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ  

วงรอบการประเมิน  : ปีการศึกษา

คำอธิบายตัวบ่งชี้  : ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑมาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 ได้กำหนดใหหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ซึ่งการจัดวิชาศึกษาทั่วไปในลักษณะจำแนกเป็นรายวิชาหรือลักษณะบูรณาการใด ๆ ก็ได้โดยโดยผสมผสานเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ภาษา และกลุ่มวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ที่ตองจัดการศึกษาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปใหมีจำนวนหน่วยกิจรวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิจ และได้ให้นิยามของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง หมวดวิชาที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ใหมีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง เข้าใจ และเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ ใส่ใจต่อความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม พร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และเป็นผลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก (ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑมาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีประกาศ ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2558) 

การจัดการศึกษาหมวดรายวิชาศึกษาทั่วไป ตามเกณฑมาตรฐานอุดมศึกษาในการเตรียมความพรอมให้แก่นักศึกษาเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ใหมีความรู ทักษะ และทัศนคติ (KSA) ที่พึงประสงครวมทั้งการนำแนวคิดของทักษะแหงอนาคตใหม่ และการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 มาประยุกตผนวกเสริมเขาไปในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาในหมวดศึกษาทั่วไป เพื่อใหสอดคลองกับการเรียนรูในยุคปจจุบัน ทันตอสถานการณในอนาคต และสอดคลองตามมาตรฐานด้านผลลัพธ์ผู้เรียน ได้แก่ บุคคลผู้เรียนรู้ (Learner Person) ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovative Co-creator) พลเมืองที่เขมแข็ง (Active Citizen)


เกณฑ์มาตรฐาน 

1.มีระบบและกลไกในการวางแผนการดำเนินงานการพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2.มีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่พัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปตามลำดับขั้น รับผิดชอบและปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินการตามข้อ ๑ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.มีคณะกรรมการบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน

 4.มีการนำเสนอผลการดำเนินงานของการพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปต่อคณะกรรมการบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และมหาวิทยาลัย

5.มีรายงานผลการปรับปรุง (ถ้ามี) และรายงานผลการพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปต่อมหาวิทยาลัย 


เกณฑ์การประเมิน