ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 ผลการบริหารหน่วยงานตามเกณฑ์ศูนย์ราชการสะดวก 

ผู้รับผิดชอบองค์ประกอบหลัก

ธนภัทร

ตัวบ่งชี้ที่ 2.5  :  ผลการบริหารหน่วยงานตามเกณฑ์ศูนย์ราชการสะดวก ด้านกายภาพ 

ชนิดของตัวบ่งชี้ :  ผลลัพธ์

วงรอบการประเมิน  : ปีการศึกษา

คำอธิบายตัวบ่งชี้  :  ผลการบริหารหน่วยงาน หมายถึง ร้อยละของผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์มาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก ที่ปรากฏในเกณฑ์มาตรฐาน ที่ทุกหน่วยงานดำเนินงานได้ในแต่ละปีการศึกษา

 

       การดำเนินการ

1. มีการให้บริการนอกเวลาราชการ หรือตามเวลาที่สอดคล้องกับผลการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการในแต่ละพื้นที่ เช่น 

  - วันจันทร์-ศุกร์ ในวันเวลาราชการ แต่เพิ่มเวลาพักเที่ยงหรือเวลา 17.00 – 19.00 น.

  - วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. เป็นต้น  

2.มีระบบการขนส่งสาธารณะที่เข้าถึงสถานที่บริการเพื่อให้สะดวกต่อการเดินทาง โดยสามารถเข้าถึงสถานที่ด้วยรถสาธารณะ

3.มีป้าย/สัญลักษณ์ บอกทิศทางหรือตำแหน่งในการเข้าถึงจุดให้บริการได้อย่างสะดวกและชัดเจน (ให้อนุกรรมการฯ พิจารณาจากป้ายบอกทิศทางหรือตำแหน่งจุดให้บริการภายในหน่วยงาน)

4.มีการออกแบบสถานที่คำนึงถึงผู้พิการ สตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ เช่น จุดให้บริการอยู่ชั้น ๑
(กรณีไม่มีลิฟต์) มีทางลาดสำหรับรถเข็น มีพื้นที่ว่างใต้เคาน์เตอร์ให้รถเข็นคนพิการสามารถเข้าได้ โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง เป็นต้น (หมายเหตุ ควรพิจารณาในเรื่องการใช้ได้จริงของสถานที่โดยให้อนุกรรมการฯ ทดสอบด้วย)

5.มีการออกแบบผังงาน และระบบการให้บริการระหว่าง “จุดก่อนเข้าสู่บริการ” และ “จุดให้บริการ” ที่อำนวยความสะดวกทั้งสำหรับเจ้าหน้าที่และประชาชน เพื่อให้สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วโดยคำนึงถึงลักษณะและปริมาณงานที่ให้บริการ (หมายเหตุ ต้องโล่ง โปร่ง ไม่แออัดและคำนึงถึงการให้บริการผู้มาใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง)

6.มีขนาดและพื้นที่ใช้งานสะดวกต่อการเอื้อมจับ (พื้นที่ว่างด้านข้างสำหรับการเคลื่อนไหวร่างกายที่สบาย) และออกแบบจัดวางเอกสารให้สามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็ว 

7.ในจุดที่สำคัญหรืออันตรายมีการออกแบบหรือจัดให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนตามหลักสากลทั้งขณะยืนหรือรถล้อเลื่อน (เช่น ติดแถบเตือนให้ระมัดระวังบริเวณจุดพื้นที่ต่างระดับ)

8.มีการจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดอันตราย และไม่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการ

9.มีการจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกที่สอดคล้องกับผลสำรวจความต้องการของผู้รับบริการ และความพร้อมของทรัพยากรที่มี เช่น น้ำดื่ม เก้าอี้นั่งพักรอ เป็นต้น

10.มีห้องน้ำที่สะอาด และถูกสุขลักษณะ (กรณีที่ห้องน้ำไม่อยู่ในอำนาจการบริหารจัดการของหน่วยงานเอง ให้พิจารณาจากการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ)

11.มีการจัดให้มีระบบคิวเพื่อให้บริการได้อย่างเป็นธรรม

12.มีจุดแรกรับ ในการช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น คัดกรองผู้รับบริการ ให้คำแนะนำในการขอรับบริการ หรือช่วยเตรียมเอกสาร กรอกแบบฟอร์มต่าง ๆ  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการและลดระยะเวลารอคอย

13.มีจุดประเมินผลความพึงพอใจ ณ จุดให้บริการในรูปแบบที่ง่ายและสะดวกต่อผู้ใช้บริการ

14.มีการกำหนดพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ และ/หรือ จัดให้มีเขตสูบบุหรี่เป็นการเฉพาะได้ในบริเวณที่เหมาะสม

เกณฑ์การประเมิน

0. มีการดำเนินงานน้อยกว่าร้อยละ 80 ของเกณฑ์มาตรฐานด้านกายภาพที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 0 

1. มีการดำเนินงานร้อยละ 80 ของเกณฑ์มาตรฐานด้านกายภาพที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50 

2. มีการดำเนินงานร้อยละ 80.01 - 89.99 ของเกณฑ์มาตรฐานด้านกายภาพที่ระบุไว้ในแต่ละปี  มีค่าคะแนนเท่ากับ 4.00 

3. มีการดำเนินงานร้อยละ 90.00 - 94.99 ของเกณฑ์มาตรฐานด้านกายภาพที่ระบุไว้ในแต่ละปี   มีค่าคะแนนเท่ากับ 4.50 

4. มีการดำเนินงานร้อยละ 95.00 - 99.99 ของเกณฑ์มาตรฐานด้านกายภาพที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 4.75 

5. มีการดำเนินงานร้อยละ 100 ของเกณฑ์มาตรฐานด้านกายภาพที่ระบุไว้ในแต่ละปี มีค่าคะแนนเท่ากับ 5