ตัวบ่งชี้ที่  3.4 ระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา 

ผู้รับผิดชอบองค์ประกอบหลัก

นางณัฏฐ์นัน ชัยยศ

ตัวบ่งชี้  3.4 :  ระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา 

ชนิดของตัวบ่งชี้ :  กระบวนการ 

วงรอบการประเมิน  :  ปีการศึกษา

คำอธิบายตัวบ่งชี้  : การผลิตบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ  มุ่งผลิตกำลังคนสาขาต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้/ตลาดแรงงานที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ความต้องการของท้องถิ่นเป็นไปตามทิศทาง เป้าหมาย ความเชี่ยวชาญที่สถาบันกำหนดรวมถึงบัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย สะท้อนความเป็นพลเมืองที่ดี ตื่นรู้และมีจิตสาธารณะ มีความสามารถในการทำงานและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขโดยมีระบบ กลไกในการดำเนินการ

ผลการดำเนินงานการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท และปริญญาเอกเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ มุ่งผลิตกำลังคนสาขาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้/ตลาดแรงงานที่สอดคล้องกับทิศทาง การพัฒนาประเทศ ความต้องการของท้องถิ่นเป็นไปตามทิศทาง เป้าหมาย ความเชี่ยวชาญที่สถาบันอุดมศึกษา ในการพัฒนาความรู้และทักษะในวิชาชีพไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโดยใช้ความรู้ขั้นสูงในการปฏิบัติและพัฒนางานเพื่อให้งาน/องค์กรเกิดความ ก้าวหน้า มีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษ รวมถึงผลงานของบัณฑิตที่จบการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับ (1) แนวทางการวิจัยและพัฒนาตามความเชี่ยวชาญของสถาบัน หรือ (2) แนวทางการวิจัยและพัฒนาเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ หรือ (3) งานวิจัยที่สามารถประยุกต์ใช้กับหน่วยงานภายนอก/ภาคอุตสาหกรรม โดยมีระบบ กลไกในการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สภาสถาบัน หรือสภาวิชาชีพ หรือองค์การวิชาชีพกำหนดเพิ่มเติมและสามารถสร้างนวัตกรรมที่ตรงตามความต้องการของประเทศได้

เกณฑ์มาตรฐาน 

1. มีระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ตอบสนองพันธกิจ

2. มีโครงการ/กิจกรรมพัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ก่อให้เกิดทักษะในการเรียนรู้และดำเนินชีวิต   

2.1 ทักษะความสามารถในการจัดการความรู้สู่อาชีพ (Cognitive Domain): ผู้ร่วมเสริมสร้างนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ มีความรู้เฉพาะทาง (Core Knowledge) ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา (Thinking Skill / Critical Thinking / Problem Solving) ทักษะการจัดการธุรกิจและการเงิน (Business, Financial Management Skill) ความ เข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literary and Technology Management) ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) และการวางแผนอย่างมีระบบ (Systematic Planning) โดยสะท้อนในประเด็นใดประเด็น หนึ่งเป็นอย่างน้อย 

2.2 ทักษะความสามารถในการจัดการตนเอง (Intrapersonal Domain): ผู้เรียนรู้และจัดการตนเอง ความมั่นคง และ คุณภาพชีวิตของตนเอง ได้แก่ มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning Skill) การสร้างความสุขทางกายและใจ (Well-being) แรงจูงใจใฝ่รู้ (Intrinsic Motivation) ทักษะการทำงานแบบมืออาชีพ ความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Flexibility and Adaptability) มีบุคลิกภาพที่ดี (Personality) ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking) ความอยากรู้และ ความคิดริเริ่ม (Curiosity and Initiative) และความวิริยะอุตสาหะ/ ความพากเพียร (Persistence/Grit) โดยสะท้อนใน ประเด็นใดประเด็นหนึ่งเป็นอย่างน้อย 

2.3 ทักษะความสามารถในการรู้จักสัมพันธ์เกี่ยวกับ (Interpersonal Domain): พลเมืองที่เข้มแข็งและครอบครัว ชุมชน สังคม และโลก ได้แก่ คุณธรรมและจริยธรรม (Moral and Ethics) ทักษะการสื่อสาร (Communication Skill) ทักษะการ ทำงานร่วมกันและการมีจิตบริการ (Collaboration and Service Mind) ทักษะทางด้านภาษา (Language Skill) ทักษะ ความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม (Leadership and teamwork) ทักษะความรับผิดชอบและสำนึกรู้คุณในหน้าที่ต่อ ตนเอง สังคม และโลก (Responsibility and Accountability, Self, Social & Global) และทักษะทางสังคมและการ เรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม (Social & Cross Cultural Skill) โดยสะท้อนในประเด็นใดประเด็นหนึ่งเป็นอย่างน้อย

3. มีการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ครอบคลุมครบถ้วน 2 ใน 3 ทักษะตามเกณฑ์ข้อที่ 2 พร้อมประเมินผลการ ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่ครอบคลุมในประเด็นความพึงพอใจในกระบวนการจัดกิจกรรม เนื้อหา และประโยชน์ในการ นำไปประยุกต์ใช้จากการเข้าร่วม

4. มีสัดส่วนผลงานของบัณฑิตที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ที่พัฒนาความเชี่ยวชาญ หรือการต่อยอดความรู้ที่สอดคล้องกับ (๑) แนวทางการวิจัยและพัฒนาตามความเชี่ยวชาญของสถาบัน หรือ (๒) แนวทางการวิจัยและพัฒนาเพื่อรับรองการพัฒนาประเทศ หรือ (๓) งานวิจัยที่สามารถประยุกต์ใช้กับหน่วยงานภายนอก หรือภาคอุตสาหกรรม

5. มีการนำความรู้และทักษะในวิชาชีพไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานโดยใช้ความรู้ขั้นสูงในการปฏิบัติและพัฒนางานเพื่อให้งานหรือองค์กรเกิดความก้าวหน้าในเชิงนโยบาย วิชาการ หรือด้านการบริหารโดยมีคุณภาพผลงานเป็นที่ยอมรับเชิงประจักษ์

6. มีการนำผลการประเมินตามข้อที่ 3 ไปใช้กำหนดแนวทางในการปรับปรุงและแผนการ พัฒนาโครงการ/กิจกรรมในอนาคต


เกณฑ์การประเมิน