หนังปะโมทัย

หนังปะโมทัยสมัยก่อน

หนังปะโมทัย

หนังตะลุงและมหากาพย์รามายณะนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ไม่เพียงแต่ทั้งคู่ต่างก็เป็นงานทางศิลปะที่เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมอินเดียเท่านั้น หากยังมีความเกี่ยวเนื่องกันในลักษณะที่ว่า การแสดงหนังตะลุงหรือหนังเงาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารหรือบอกเล่าเนื้อหาของมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่แพร่หลายแก่คนทั่วไป เพราะในอดีตนั้นความรู้เกี่ยวกับการอ่านการเขียนนั้นจำกัดอยู่แต่เฉพาะในราชสำนักและเมืองหลวงเป็นส่วนใหญ่ การแสดงหนังตะลุงที่มักจะแสดงเรื่อง “รามายณะ” เป็นหลัก จึงเป็นการเผยแพร่ ตีความหมายให้ความรู้ที่แฝงไว้ด้วยคติธรรมทางศาสนา และคติทางโลกรวมทั้งความบันเทิงแก่ผู้ชมในระดับกว้างได้เป็นอย่างดี

หนังตะลุงและมหากาพย์รามายณะ ถูกเผยแพร่และกระจายมายังแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ในราวต้นปีทางคริสตศักราช

หนังตะลุงในประเทศไทย

หนังตะลุงหรือหนังเงาของไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามขนาดและลักษณะการแสดงเป็นเกณฑ์ ได้แก่ หนังตะลุงและหนังใหญ่ โดยหนังทั้งสองประเภทมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างกัน คือ ตัวหนังตะลุงมีขนาดเล็กกว่าหนังใหญ่ และเป็นที่นิยมแพร่หลายไปตามหัวเมืองต่าง ๆ มากกว่า แต่การแสดงทั้งสองอย่างก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอินเดียที่แพร่กระจายมายังดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยังพบว่าเรื่องมหากาพย์รามายณะหรือรามเกียรติ์เป็นเรื่องที่นิยมในการแสดงอย่างแพร่หลาย

หนังตะลุงของไทยเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในทุกภูมิภาคของไทย แต่เชื่อกันว่าเริ่มต้นพัฒนามาจากหัวเมืองทางใต้ แต่เมื่อหนังตะลุงกลายเป็นศิลปการแสดงประจำถิ่นของแต่ละภาค ที่มีการปรับปรุงและดัดแปลงอย่างมากเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่นนั้น

หนังตะลุงภาคอีสาน

มีลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองและกลายมาเป็นมหรสพประจำถิ่น

หนังตะลุงในภาคอีสาน มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปหลายชื่อ2 เช่น

1. หนังปราโมทัย สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “ปราโมทย์” ซึ่งหมายถึง ความบันเทิงใจ ความปลื้มใจ

2. หนังปะโมทัย คำว่า ปะโมทัย มีผู้ให้ความเห็นว่า อาจจะเป็นชื่อคณะหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงก็ได้

3. หนังบักตื้อ คำว่า บักตื้อ หรือ ปลัดตื้อ เป็นชื่อรูปตลกที่สำคัญรูปหนึ่ง ซึ่งจะเป็นรูปที่ออกมาประกาศเรื่องที่จะแสดงในคืนนั้น ๆ ให้ผู้ชมทราบ

4. หนังบักป่องบักแก้ว นำมาจากชื่อตัวตลก คือ บักป่อง บักแก้ว

จากการศึกษารวบรวมของนักวิชาการ พบว่า การแพร่กระจายของหนังตะลุงภาคใต้มายังภาคอีสาน เป็นเรื่องของการติดต่อทางวัฒนธรรมระหว่างชาวบ้านต่อชาวบ้านล้วน ๆ จากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ของตนเองทั้งจากภาคใต้และภาคกลาง และผ่านการปรับเปลี่ยนจนเป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่ โดยคำว่าหนังประโมทัยนั้น คือการนำหมอลำกับหนังตะลุงมารวมกัน หรือ หนังประโมทัยก็เหมือนกับหมอลำ เพียงแต่เอารูปหนังมาเชิดแทน เพื่อให้สอดคล้องและกลมกลืนกับค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคมอีสาน

กระบวนการปรับเปลี่ยนและแพร่กระจายของหนังตะลุงสู่หนังประโมทัย ซึ่งเกิดจาก 3

1. การเผยแพร่ทางวัฒนธรรม หมายถึง การกระจายหรือการสื่อสารข้ามพื้นที่ขององค์ประกอบหรือลักษณะทางวัฒนธรรม จากแนวคิดนี้ จะเห็นว่ามีองค์ประกอบที่ทำให้การแพร่กระจายจากหนังตะลุงสู่หนังประโมทัย ด้วยกัน 3 ประการ

1.1 วัฒนธรรมเดิม มีหนังตะลุงเป็นต้นกำเนิดของการแสดงหนังประโมทัย

1.2 สื่อที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม การที่ประชาชนทางภาคอีสานได้มาหางานทำต่างถิ่น เนื่องจากปัญหาภายในท้องถิ่น แรงงานจากภาคอีสานเข้ามาทำงานในภาคใต้เป็นจำนวนมาก เมื่อได้สัมผัสและปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมทางใต้ได้ดีพอแล้ว จึงได้นำเอาวัฒนธรรมที่ตนเองได้พบเห็นกลับไปยังภาคอีสานด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายทางวัฒนธรรมที่สำคัญ

1.3 วัฒนธรรมใหม่ เมื่อได้รับวัฒนธรรมใหม่มาสู่ภูมิภาคอีสานแล้ว ได้ปรับวัฒนธรรมนั้นให้เกิดความเหมาะสมกับวัฒนธรรมของตนที่มีอยู่เดิม

2. การปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรม หนังประโมทัยจะเป็นการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแสดงหนังตะลุงให้เหมาะสมกับประเพณี วิถีชีวิต ตลอดจนระบบค่านิยมและความเชื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิม

องค์ประกอบของการแสดงหนังประโมทัย4 ที่สำคัญ คือ ผู้เชิด ตัวหนัง โรงและจอหนัง บทพากย์ บทเจรจา ดนตรีประกอบ ตลอดจนแสงเสียงที่ใช้ในการแสดง

บุคลากรในคณะหนังประโมทัย ในภาคอีสานนิยมเรียกเป็นคณะ ในคณะหนึ่ง ๆ จะมีบุคลากร 5-10 คน โดย แบ่งหน้าที่ออกกัน ดังนี้

1. คนเชิดหนัง มีประมาณ 2-3 คน

2. คนพากย์และเจรจา

3. นักดนตรี มีประมาณ 3-4 คน ตามจำนวนชิ้นของเครื่องดนตรี

คนเชิดและคนพากย์หนังประโมทัยมักจะเป็นคน ๆ เดียวกันเสมอ และส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย จะมีผู้หญิงร่วมพากย์และเชิดเพียง 1-2 คน เท่านั้น หรือบางคณะอาจจะไม่มีเลย เนื่องจากความไม่สะดวกในการร่วมเดินทางไปแสดงเป็นประจำกับชาวคณะ เล่นได้ไม่นานก็เลิก

ผู้เชิดและผู้พากย์บางคนเป็นหมอลำ เพราะบางเรื่องต้องใช้ลีลาการร้องแบบหมอลำหรือบางคนก็เป็นพระนักเทศน์มาก่อน

คุณสมบัติของผู้แสดงหนังประโมทัย5

1. เป็นคนที่มีเสียงดี กล่าวคือ เสียงดังฟังชัด เพราะต้องพากย์และเจรจาอยู่ตลอดเวลา และต้องสามารถทำเสียงได้หลายเสียงเพื่อให้เข้ากับลักษณะของตัวละคร รวมทั้งบางครั้งต้องสามารถลำในแบบต่าง ๆ และสามารถร้องเพลงได้อีกด้วย

2. มีศิลปะในการเชิด สามารถสวมวิญญาณให้กับรูปหนังที่ตนเชิดได้ทุกตัว และสามารถสับเปลี่ยนเล่นเป็นตัวอื่น ๆ ได้โดยฉับพลัน

3. เป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบดี เพราะบางทีต้องคิดแต่งกลอนสด หรือดัดแปลงเรื่องให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

4. เป็นผู้มีอารมณ์ขัน มีมุขตลกที่ดี เพราะผู้ที่มาดูส่วนมากจะมาดูและขำบทตลก

5. เป็นผู้มีความรอบรู้ ทั้งในคดีโลกและคดีธรรม

6. เป็นผู้ที่มีความสามารถในการจดจำ ถ้ามีความจำดีจดจำเรื่องราว ข้อคิด บทกลอน ต่าง ๆ มาใช้ในการแสดงได้มาก จะทำให้ผู้ชมติดใจได้มากเช่นกัน

ตัวหนัง มีขนาดสูงประมาณ 1-2 ฟุต เหมือนกับหนังตะลุงทางภาคใต้ แต่รูปลักษณ์และสีจะแตกต่างกัน ในคณะหนึ่ง จะมีตัวหนังในราว 80-200 ตัว โดยทั่ว ๆ ไป ตัวหนังจะไม่มีลักษณะเฉพาะ ทำให้ใช้แสดงได้หลายเรื่อง เช่น ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ ในเรื่องรามเกียรติ์ตัวหนังที่ต้องใช้ เช่น รูปฤาษี พระราม พระลักษณ์ นางสีดา ทศกัณฑ์ หนุมาน รูปยักษ์ รูปลิง รูปตลก เป็นต้น

ตัวหนังจะทำด้วยหนังวัวหรือหนังควาย บางที่อาจจะใช้หนังลูกวัว ลูกควาย เพราะบางและโปร่งแสงมากกว่า ตัวหนังแต่ละตัวจะประกอบด้วยตัวละครเพียงตัวเดียว เป็นตัวละครลอยตัว ไม่มีฉากและลวดลายประกอบอย่างหนังใหญ่ เพราะมีตัวหนังเบ็ดเตร็ดที่ทำเป็นรูปฉากต่าง ๆ ที่มือข้างหนึ่งของตัวหนังจะขยับเขยื้อนได้ โดยการเจาะรูตามข้อพับต่าง ๆ ได้แก่ ข้อศอก และข้อมือ แล้วใช้เชือกร้อยผูกไว้ ที่มือของตัวหนังผูกไม้เล็ก ๆ สำหรับให้แขนและมือขยับเคลื่อนไหวไปมาได้ ตัวตลกมักจะทำให้แขนเคลื่อนไหวได้ทั้งสองข้าง และปากก็ใช้เชือกผูกไว้ที่คาง สามารถชักให้ขยับขึ้นลงเหมือนพูดได้อีกด้วย

ตัวหนังประโมทัย ที่ส่วนหัวส่วนมากจะเป็นภาพใบหน้าด้านข้าง ในส่วนลำตัวจะมองเห็นแขนขาได้ครบทั้งสองข้าง ยกเว้นตัวนางจะเป็นภาพหน้าตรง โดยแกะบริเวณที่ต้องการให้มองเห็นเป็นสีขาวในเวลาฉายออก เรียกหนังตัวนางว่า “หนังหน้าแขวะ”

ขั้นตอนการทำตัวหนัง

1. การ “ฆ่าหนัง” คือการ นำเอาหนังวัวหรือหนังควายที่เป็นแผ่นมาแช่น้ำเกลือไว้ 5-7 คืนจากนั้นขูดขนและทำความสะอาดให้เกลี้ยง จากนั้นทำให้มีความหนาของหนังเสมอกันทั้งแผ่น และนำไปขึงตากแดดให้แห้ง จะได้แผ่นหนังที่มีลักษณะบางใส

2. การเขียนรูปหนัง นิยมใช้อยู่ 2 วิธี ได้แก่

2.1 ใช้รูปหนังเก่าทาบลงบนหนังที่เตรียมไว้แล้วเขียนรูปและลวดลายตามรูปหนังเก่า

2.2 เขียนรูปลงบนกระดาษแล้วก็นำไปทาบกับแผ่นหนัง จากนั้นตัดหนังหรือสับหนังตามลายบนกระดาษ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะหรือสับตัวหนังได้แก่ สิ่วร่อง สิ่วแบน เป็นต้น

ตัวหนังประโมทัยที่เป็นตัวนาง หรือที่เรียกว่า “หนังหน้าแขวะ”

3. ระบายสีตัวหนัง เมื่อตัดตัวหนังเสร็จแล้วทำการระบายสีสันให้สวยงาม นิยมใช้สีย้อมไหมผสมน้ำแล้วทา ซึ่งจะซึมเข้าไปในตัวหนังได้ดีกว่าสีย้อมฝ้าย หนังที่บางและโปร่งแสงที่ระบายสีแล้วเมื่อส่องไฟจะเห็นเงาสีชัดเจน การทาสีมักจะทาด้านเดียว

4. การยึดตัวหนังกับไม้ตับหรือไม้หีบ ที่ตอนกลางของตัวหนัง ผูกเชือก 3-5 จุด จากเท้าไปหาส่วนหัวของตัวหนัง เพื่อยึดตัวหนังกับไม้ตับ ปล่อยด้านล่างยาวยื่นลงมาสำหรับให้คนเชิดถือ

5. การเก็บตัวหนัง ที่นิยมกันมี 2 ลักษณะ คือ

5.1 ใช้ลังสังกะสี แต่ไม่ดีนักเพราะรูปหนังโค้งงอ เพราะตัวหนังได้รับความชื้นได้ง่าย

5.2 ใช้แผงเก็บรูป ซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ทำเป็นแผง 2 ชิ้น ประกบกันเหมือนทางใต้ เรียกว่า “ฝาเบอะ” การเก็บแบบนี้รูปหนังจะไม่โค้งงอ เก็บได้มากและอัดแน่น ช่วยรักษารูปทรงของรูปหนัง อีกทั้งยังเบาระบายอากาศได้ดี

รูปยักษ์ รูปลิง และมนุษย์ ส่วนรูปฤาษีจัดไว้ข้างบนสุด เพราะถือเป็นรูปครูในการแสดงหนังประโมทัย

โรงการแสดง

ทั้ง 2 ด้านกั้นทึบ ด้านหลังโรงใช้เป็นทางเข้าออกของผู้แสดง ด้านหน้ากั้นด้วยจอผ้าขาวที่มีผ้าสีดำหรือน้ำเงินเป็นขอบโดยรอบ ภายในโรงหนังมีต้นกล้วย

ทั้ง 4 ด้าน ต้นที่วางไว้ติดชิดกับจอจะใช้สำหรับปักตัวหนังในขณะที่แสดง ส่วนต้นอื่น ๆ มีไว้ปัก ตัวหนังที่เตรียมไว้รอออกแสดงหรือพักตัวหนังเพื่อรอฉากต่อ ๆ ไป นักแสดงทั้งหมด ได้แก่ คนเชิด และนักดนตรี จะอยู่บนโรงนี้ จอหนังยาวประมาณ 3-4 เมตร

ภาพที่ปรากฏบนจอสวยและคมชัด แหล่งกำเนิดแสงจะอยู่หลังจอ

เรื่องการแสดง

บางคณะได้นำวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานมาแสดงด้วย เช่น สังข์ศิลป์ชัย จำปาสี่ต้น การะเกด ฯลฯ บ้างก็แต่งเรื่องขึ้นเอง ซึ่งก็ได้รับความนิยมชมชอบเช่นกัน การแสดงหนประโมทัยเรื่องวรรณคดีอีสานนั้นจะแสดงเหมือนหมอลำผสมหนังตะลุง คือตัวพระถึงแม้จะพากย์และเจรจา

ด้วยภาษาไทยกลาง แต่ก็สามารถร้องหมอลำได้ด้วย ตัวนางนเล่นแบบหมอลำ เจรจาด้วยภาษาอีสาน การเล่นลักษณะนี้พบได้ทาง จ. อุดรธานี และ จ.ขอนแก่น

เป็นทำนองเดียวกันกับโขนและหนังตะลุงภาคใต้ทั้งท่วงทำนองและลีลาการพากย์ตลอดจนองค์ประกอบอื่น ๆ ของหนังประโมทัยเป็นไปในรูปแบบของการแสดงแบบเก่า ชาวอีสานเรียกการพากย์หนังประโมทัยว่า “ฮ้องหนังตะลุง” มีบางครั้งที่เป็นกลอนสด ทั้งที่เป็นกลอนแปด กลอนหก กลอนบทละครแบบภาคกลาง และกลอนลำชนิดต่าง ๆ เช่น ทางยาว ทางสั้น เต้ย เป็นต้น ทั้งนี้แล้วแต่เรื่องที่แสดง ถ้าแสดงเรื่องรามเกียรติ์ก็จะใช้บทพากย์ที่เป็นกลอนแปด กลอนบทละครจากภาคกลางเป็นหลัก ถ้าเป็นเรื่องสังข์ศิลป์ชัย ก็จะพากย์เป็นกลอนลำเป็นหลัก ทำนองการพากย์ ที่พบเห็นได้นั้นแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือการพากย์ทำนองร้องหนังตะลุง และการพากย์ทำนองแบบหมอลำ การพากย์ทำนองหนังตะลุงมักเป็นบทกลอนสั้น ๆ (ยกเว้นบทไหว้ครู) ที่นำมา

วีธีของของภาคกลาง ส่วนมากแล้วในการดำเนินเรื่องจะเป็นบทเจรจาเสียมากกว่า ถาเป็นกลอนลำยาวมาก ๆ จะใช้พากย์พระฤาษี บรรยายเรื่อง บรรยายราชรถ ความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร ใช้เป็นทำนองหลักของคณะที่เล่นเรื่องรามเกียรติ์ มีทำนองเหมือนกับอ่านทำนองเสนาะ จะแตกต่างกันบ้างที่สำเนียงเพี้ยน ๆ จากสำเนียงกลางเป็นสำเนียงอีสาน บางคนเรียกว่า “พากย์ทำนองอ่านหนังสือ” การพากย์ทำนองแบบหมอลำ ถ้าหากมีการแสดงวรรณกรรมพื้นบ้าน ก็จะมีการลำทำนอง

เรียกว่า “ลำอ่านหนังสือ” และทำนองลำเต้ยของหมอลำ ซึ่งเป็นทำนองที่มีความครึกครื้นสนุกสนานเข้าไปใช้เพิ่มเติม ตัวหนังที่ทำหน้าที่ลำเต้ย ได้แก่ ตัวตลก เช่น ปลัดตื้อ บักป่อง บักแก้ว การพากย์ทำนองแบบหมอลำเป็นหลักนี้สืบทอดมาจากทางอุดรธานี ขอนแก่น ซึ่งมีการแสดงหมอลำหมู่ก่อนแห่งอื่น กลุ่มนี้จะใช้กลอนลำแทนบทพากย์ บทเจรจาของหนังประโมทัย คือ บทสนทนา

หนังตะลุงภาคใต้ได้แก่ 1. บทเจรจาเป็นภาษากล

รวมทั้งยักษ์ และลิงที่เป็นท้าวพระยา บทเจรจาเป็นภาษาถิ่นอีสาน นิยมใช้กัน บางคณะตัวนางก็เจรจาด้วยภาษาถิ่นอีสานด้วย ตลก คนดูส่วนใหญ่ติดใจบทตลกของตัวตลก

ความเชื่อเกี่ยวกับการแสดงหนังประโมทัย

1.ห้ามตั้งโรงหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพราะมีความเชื่อว่าทิศตะวันตกเป็นทิศอัปมงคล อันจะทำให้การแสดงตกต่ำไม่เจริญรุ่งเรือง

2.จะต้องทำพิธีไหว้ครูระลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ก่อนการแสดงทุกครั้ง เพื่อให้เกิดศิริมงคล เกิดความมั่นใจในการแสดง และเพื่อให้ผู้ชมนิยมชมชอบในการแสดง เครื่องไหว้ครูประกอบด้วย ดอกไม้ขาว 5 คู่ เทียน 5 คู่ เงิน 12 บาท เหล้า 1 ขวด แป้งหอม 1 กระป๋อง บุหรี่ 1 ซอง

3.ห้ามตั้งโรงหนังและทำการแสดงใต้ถุนบ้าน เพราะจะทำให้เกิดเพทภัยและไม่เป็นมงคล เป็นการลบลู่ครูบาอาจารย์ ถ้าหากว่ามีความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ จะต้องทำพิธีขอขมาครูบาอาจารย์ก่อน เพื่อความเป็นศิริมงคลและเป็นการแก้เคล็ด

4.ทำการแสดง ณ ที่ใดจะต้องทำพิธีขอขมา ขออนุญาตต่อเทพาอารักษ์หลักบ้านและศาลปู่ตา เพื่อการแสดงจะได้ดำเนินไปด้วยดี ไม่มีการขัดข้องหรือเกิดเพทภัยต่าง ๆ

5.การออกเดินทางไปทำการแสดง ส่วนมากจะออกไปทางทิศเหนือก่อน เพราะเชื่อจะทำให้คณะของตนมีอำนาจเหนือสิ่งต่าง ๆ ที่จะเป็นอุปสรรค

6.ยึดถือฤกษ์ยามเดินทาง ดังนี้ วันอาทิตย์และวันพุธ ออกเดินทางตอนเช้า , วันจันทร์และวันอังคาร ออกเดินทางตอนเที่ยง , วันศุกร์และวันเสาร์ ออกเดินทางตอนบ่าย , วันพฤหัสบดี ออกเดินทางตอนค่ำ

หนังปะโมทัยปัจจุบัน