รำบายศรีสู่ขวัญ

รำบายศรีสู่ขวัญ

การฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ เนื่องมาจากพิธีบายศรีสู่ขวัญเมื่อมีแขกมาเยือน ซึ่งเป็นแขกที่มีเกียรติหรือแขกผู้ใหญ่ที่มาจากต่างถิ่น ชาวอีสานจะทำพิธีบายศรีสู่ขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคลโดยมีพานบายศรี หรือที่เรียกว่า "พาขวัญ" การจัดพาขวัญนี้ปกติต้องจัดด้วยพานทองเหลือง หรือขันสัมฤทธิ์หลายใบซ้อนๆ กัน ซึ่งมีตั้งแต่ 1 ชั้นถึง 9 ชั้น มีใบตองจัดเป็นกรวยเข้าช่อ ประดับดอกไม้สดดูสวยงาม

ชั้นล่างของพาขวัญจะเป็นพานมีใบศรีทำด้วยใบตอง ดอกไม้สด ข้าวต้ม ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย ปั้นข้าว เงินฮาง มีดด้ามแก้ว มีดด้ามคำ ชั้นต่อไปจะตกแต่งด้วยใบศรีและดอกไม้สด ซึ่งจะเป็นดอกปาง ดอกดาวเรือง ดอกรัก ใบเงิน ใบคำ ใบคูณ ใบยอป่า

ชั้นที่ 5 จะมีฝ้ายผูกข้อมือ เทียนเวียนหัว นอกจากพาขวัญแล้วจะต้องมีเครื่องบูชาอื่นๆ เช่น ขันบูชา ขันธ์ 5 ซึ่งมีพานขนาดกลางสำหรับวางผ้า 1 ผืน แพร 1 วา หวี กระจกเงา น้ำอบน้ำหอม สร้อย แหวน ของผู้เป็นเจ้าของขวัญ โดยจะมีพรารหมณ์เป็นผู้ทำพิธีเรียกขวัญ ตามท่วงทำนองของชาวบ้าน ในคำเรียกขวัญนั้นมีทั้งคาถาที่เป็นภาษาบาลีและคำเรียกขวัญภาษาถิ่น หรือที่เรียกว่า "สูตรขวัญ" ซึ่งคำสูตรขวัญนั้นยากแก่การเข้าใจของผู้มาเยือน จึงมีการจัดทำชุดฟ้อน บายศรีขึ้น เพื่อให้คนต่างถิ่นได้เข้าใจเพราะมีคำร้องที่เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย แต่งโดย อาจารย์ดำเกิง ไกรสรกุลและท่าฟ้อนประดิษฐ์ขึ้นโดย อาจารย์พนอ กำเนิดกาญจน์แห่งวิทยาลัยครูอุดรธานี ซึ่งในปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่

เนื้อร้องอาจจะเพี้ยนจากเดิมไปบ้าง

มาเถิดเย้อ มาเย้อขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย

หมู่ชาวเมืองมา บื้องขวานั่งส่ายลาย เบื้องซ้ายนั่งเป็นแถว

ยอพอขวัญมากันเพริศแพรว ขวัญมาแล้วมาสู่คิงกม

เกศเจ้าหอมลอยลม ทัดเอื้องชวนชมเก็บเอาไว้บูชา

ยามฝนพรำเจ้าอย่าแข็ง แดดร้อนแรงเจ้าอย่าครา

อยู่ที่ไหนจงมา รัดด้ายไชยามาคล้องผ้าแพรกระเจา

อย่าเพลินเผลอ มาเย้อขวัญเอย มาเย้อขวัญเอย

อยู่แดนดินใด ฤาฟ้าฟากใด ขอให้มาเฮือนเฮา

เพื่อนอย่าคิดอาลัยสู่เขา ขออย่าเว้าขวัญเจ้าจะตรม

หมอกน้ำค้างพร่างพรม ขวัญอย่าเพลินชมป่าเขาลำเนาไพร

เชิญไหลทาประทินกลิ่นหอม ดมพะยอมให้ชื่นใจ

เหล่าข้าน้อยแต่งไว้ ร้อยพวงมาลัยจะคล้องให้สวยรวย