นกเป็ดน้ำ

นกเป็ดน้ำ

Callonetta leucophrys (Vieillot, 1816)

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวิทยาศาสตร์

Callonetta leucophrys (Vieillot, 1816)

นกเป็ดน้ำ

เป็นนกน้ำลำตัวป้อม ปากแบนใหญ่ หางสั้น มีแผ่นพังผืดยึดนิ้วตีน ช่วนให้ว่ายน้ำได้ดี ตัวเมียมีลายสีน้ำตาลไม่ค่อยสวยงาม ต่างจากตัวผู้ที่มีสีสดใสกว่าชอบลอยตัวรวมกันเป็นฝูงในแหล่งน้ำ มีทั้งว่ายใช้ปากไซ้จิกพืชน้ำ จับกินสัตว์น้ำตามผิวน้ำ และดำลงไปจับใต้น้ำ ส่วนใหญ่ทำรังตามริมน้ำด้วยพืชน้ำ บางชนิดทำรังในโพรงไม่หรือซอกกำแพง พบในเมือง 25 ชนิด

พฤติกรรม

ตอนกลางวันลอยตัวรวมกับนกเป็ดน้ำอื่น ๆ ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หากินโดยใช้ปากไซ้ตามผิวน้ำ และมุดน้ำโผล่หางแหลมชี้ขึ้นมาให้สังเกตได้ชัดเจน

นกน้ำรูปร่างอ้วน เจ้าเนื้อ ปากแบนกว้าง ว่ายน้ำเก่ง ส่วนใหญ่กินพืชน้ำและสัตว์น้ำเป็นอาหาร บางชนิดกินหญ้าและพืชผักบนบกด้วย บินเก่ง บินเป็นแนวตรง ปีกเหยียดตรง กระพือปีกได้เร็ว เวลาบินคอและหัวเหยียดตรง ตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะต่างกัน ตัวเมียจะมีสีทึบในขณะที่ตัวผู้มีสีสันสวยงามโดยเฉพาะในวัยเจริญพันธุ์ อย่างไรก็ตามมีนกเป็ดน้ำหลายชนิดที่ตัวผู้มีสีสันคล้ายกันกับตัวเมีย (ก่อนถึงวัยเจริญพันธุ์)

เป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นฝูง ตามแหล่งน้ำธรรมชาติที่ห่างจากการรบกวนของมนุษย์ในช่วงฤดูหนาว ส่วนใหญ่จะทำรังหยาบๆตามกอพืชน้ำ มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ทำรังในโพรงไม้ เกือบทุกชนิดเป็นนกย้ายถิ่นที่เข้ามาประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ยกเว้นเพียง 4 ชนิดที่เป็นนกประจำถิ่นของไทย ทั่วโลกมี 154 ชนิด พบในประเทศไทย 21 ชนิด สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 3 เหล่าด้วยกัน

  • เหล่าเป็ดน้ำที่ว่ายหากินบนผิวน้ำ (Dabbling ducks)

  • เหล่าเป็ดน้ำที่ดำน้ำหากิน (Diving ducks)

  • เหล่าเป็ดน้ำที่ทำรังในโพรงไม้สูงและอื่นๆ (perching ducks)

ภาพประกอบ

นกเป็ดน้ำถือเป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง สำหรับนกเป็ดน้ำส่วนใหญ่กินพืชน้ำและสัตว์น้ำเป็นอาหาร บางชนิดกินหญ้าและพืชผักบนบกด้วย ตัวเมียสีทึบ ตัวผู้มีสีสันสวยงามโดยเฉพาะในวัยเจริญพันธุ์ อยู่รวมกันเป็นฝูงตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่ห่างจากการรบกวนของมนุษย์ในช่วงฤดูหนาว เกือบทุกชนิดเป็นนกย้ายถิ่นที่เข้ามาประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ยกเว้นเพียง 4 ชนิดที่เป็นนกประจำถิ่นของไทย ทั่วโลกมี 154 ชนิด พบในประเทศไทย 21 ชนิด

การอพยพย้ายถิ่นของนก ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ระหว่างพื้นที่ที่นกใช้เป็นแหล่งสร้างรังวางไข่ในฤดูผสมพันธุ์กับพื้นที่ที่นกใช้เป็นแหล่งหากินในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ มีสาเหตุสำคัญเพื่อหาพื้นที่ที่มีแหล่งอาหารสมบูรณ์และเหมาะสมในการสร้าง รังวางไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อนในซีกโลกตอนเหนือซึ่งมีนกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวอุณหภูมิลดต่ำลง น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง พืชหยุดการเจริญเติบโต สภาพที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม และอาหารลดน้อยลง นกจึงเป็นต้องอพยพเคลื่อนย้ายลงไปยังซีกโลกทางใต้ ที่มีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์

ฝูงนกอพยพจะอยู่อาศัยตลอดฤดูหนาว เมื่อถึงฤดูร้อนก็อพยพกลับไปยังถิ่นเดิม เพื่อสร้างรังวาง ไข่เลี้ยงลูกนกให้เติบโตแข็งแรงจากนั้นเมื่อถึงฤดูหนาวนกก็อพยพมาทางใต้อีก จะเกิดขึ้น เช่นนี้เป็นประจำ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอพยพย้ายถิ่นของนก ก็คือความอุดมสมบูรณ์และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละฤดูกาล

วงจรชีวิตของนกน้ำในเมืองไทย

นกน้ำในเมืองไทยแบ่งเป็น2กลุ่ม คือกลุ่มที่เป็นนกอพยพและกลุ่มที่เป็นนกประจำถิ่น

สำหรับนกอพยพนั้นชุดแรกๆจะอพยพหนีหนาวเข้ามายังประเทศไทยในช่วงกลางเดือนกันยายน ของทุกปีและจะทยอยเข้ามาเรื่อยๆจนถึงราวเดือนธันวาคม ส่วนนกประจำถิ่นจะอาศัยหากิน ผสม-

พันธุ์ วางไข่ และเลี้ยงลูกอยู่ในเมืองไทยตลอดทั้งปี แผนผังด้านล่างนี้จะช่วยอธิบายให้เห็นภาพ

วงจรชีวิตของนกทั้งสองกลุ่มได้ชัดเจนขึ้นครับ

แผนผังแสดงวงจรชีวิตของนกอพยพในประเทศไทย

พื้นที่สีน้ำเงินเข้ม คือส่วนบนสุดของทวีปที่เรียกว่าเขตทุนดรา (High Arctic Tundra)

พื้นที่ส่วนนี้จะมีช่วงฤดูร้อน(ใบไม้ผลิ)ที่สั้นเพีนง55-60วัน นกอพยพจากพื้นที่นี้จะมีเวลาจำกัด

ในการทำรังวางไข่ นกที่จะมายังทุนดราจึงต้องอพยพมาก่อนและอพยพกลับลงใต้ก่อนนกในพื้นที่

ที่ต่ำลงมา

พื้นที่สีน้ำเงิน คือพื้นที่ทางตอนเหนือของทวีป ประมาณตั้งแต่ทางตอนเหนือของจีนขึ้น

ไปยังไซบีเรีย พื้นที่นี้อาจเรียกว่าเขตซับอาร์คติค (Sub Arctic)ที่จะมีช่วงฤดูร้อน(ใบไม้ผลิ)

ยาวนานกว่าเขตทุนดรา และยิ่งต่ำลงมาเท่าใดระยะเวลาแห่งฤดูแห่งการผลิใบก็จะยิ่งนานขึ้น

นกอพยพในพื้นที่นี้จึงมีเวลามากกว่ายึดหยุ่นกว่าในการอพยพไปและกลับ

พื้นที่สีเขียว คือพื้นที่ในประเทศไทยที่นกอพยพกลุ่มหนึ่งเลือกหยุดพักหากินตลอดช่วง

นอกฤดูผสมพันธุ์ นกชายเลนอพยพชุดแรกๆจะอพยพเข้ามาถึงเมืองไทยในราวกลางเดือน

กันยายน นกอพยพส่วนหนึ่งหยุดพักหากินตลอดช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ อีกกลุ่มใหญ่ใช้เป็นจุด

แวะพัก(Stop Overs)เพื่อสะสมพลังงานก่อนบินไกลลงสู่ประเทศทางใต้ต่อไป

พื้นที่สีเหลือง คือช่วงผลัดขน นกอพยพส่วนใหญ่จำเป็นต้องผลัดขนใหม่หลังเสร็จสิ้นจาก

การผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ขนชุดใหม่ที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการบินไกลลงใต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นกจะผลัดขนอีกครั้งในช่วงก่อนอพยพกลับขึ้นเหนือซึ่งจะอยู่ราวเดือนมีนาคมถึงราวต้นเดือน

พฤษภาคม ในครั้งนี้นอกจากนกจะผลัดขนเพื่อการบินแล้วยังมีผลต่อการดึงดูดความน่าสนใจ

ต่อเพศตรงข้ามด้วย ขนจึงดูสดใหม่น่าสนใจส่วนนกที่ผลัดสีขนด้วยก็จะมีสีสันสะดุดตา เช่นนก-

ชายเลนส่วนใหญ่จะผลัดขนเป็นสีส้มแดง นกบางกลุ่มอาจผลัดขนเมื่อกลับถึงพื้นที่ผสมพันธุ์

อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการผลัดขนของนกเป็นพฤติกรรมที่ซับซ้อนและนกอพยพแต่ละ

ชนิดก็มีพฤติกรรมการผลัดขนที่แตกต่างกันไป เช่นนกชายเลนจะค่อยผลัดขนเฉพาะส่วนที่

จำเป็นระหว่างการเดินทางอพยพได้ เราจึงมักพบว่านกชายเลนบางตัวที่เพิ่งอพยพเข้ามาใหม่ๆ

ยังอยู่ในขนชุดผสมพันธุ์ที่ยังผลัดขนไม่เสร็จ แต่นกน้ำบางชนิดเช่นเป็ด ห่านที่มีขนาดใหญ่

จะหาพื้นที่ๆปลอดภัยผลัดขนเก่าที่จำเป็นในการบินออกจนหมดแล้วค่อยๆผลัดขนใหม่เข้ามา

แทนที่ ในช่วงที่นกผลัดขนนี้นกจึงไม่สามารถบินได้

แผนผังด้านล่างนี้แสดงวงจรชีวิตของนกน้ำที่อยู่ประจำถิ่น

พื้นที่สีเหลือง คือช่วงเวลาที่นกน้ำประจำถิ่นส่วนใหญ่ผสมพันธุ์

ในช่วงเวลาเช้าที่ตำบลหนองแสนจะเห็นนกเป็ดน้ำบินจากหนองน้ำประจำหมู่บ้านบินไปทิศเหนือไปยังอ่างเก็บน้ำบึงแกดำและตกเย็นนกเป็ดน้ำก็จะบินกลับมายังหนองน้ำแห่งนี้อีกเป็นประจำ