รำจัมปาศรี

ระบำจัมปาศรี

อาณาจักรจัมปาศรี หรือ นครจัมปาศรี ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคามนั้นมีความรุ่งเรืองมา 2 ยุคด้วยกันคือ ยุคทวาราวดี (พ.ศ. 1000 - 12000) และยุคลพบุรี (พ.ศ. 1600 - 1800)

นครจัมปาศรีนี้คงมีอายุใกล้เคียงกับเมืองฟ้าแดดสูงยาง ซึ่งพระอริยานุวัตรเขมจารีเถระ ได้เล่าถึงประวัตินครจัมปาศรีไว้ว่า

"เมืองนครจัมปาศรีอยู่ในสมัยที่พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในดินแดนแถบนี้ บรรดาหัวเมืองน้อยใหญ่ในสมัยนั้นพร้อมกันมานอบน้อมเป็นบริวาร ทำให้อาณาเขตของนครจัมปาศรีได้ขยายกว้างขวางออกไป นครจัมปาศรีมีพระยศวรราชเป็นเจ้าผู้ครองนคร มีพระนางยศรัศมีเป็นพระราชเทวี มีวงศ์ตระกูลมาจากกษัตริย์เสนราชา บ้านเมืองในขณะนั้นมีความสงบสุข และพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในช่วงนั้น"

นครจัมปาศรี เป็นอาณาจักรหนึ่งในยุคเดียวกับอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ทวาราวดีอินทปัตถ์ และเมืองสาเกตุนคร ซึ่งอยู่ในยุคฟูนัน ในหนังสืออุรังคนิทานได้กล่าวถึงยุคอวสานของนครจัมปาศรีว่า ในสมัยเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี เมืองชวา (หลวงพระบาง) ได้ยกกองทัพข้ามแม่น้ำโขงเข้าโจมตีเมืองสาเกตุนครพร้อมทั้งเมืองบริวาร และเมืองนครจัมปาศรีได้ถึงกาลวิบัติ และกลายเป็นเมืองร้างไปตั้งแต่บัดนั้น

ในปี พ.ศ. 2522 ชาวอำเภอนาดูนได้ขุดค้นพบโบราณวัตถุรอบกู่สันตรัตน์ ได้พบพระทองสำริด พระพิมพ์แบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก และมีการขุดพบซากเจดีย์โบราณและสถูปที่ใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ต่อมาทางจังหวัดมหาสารคามได้ร่วมกันสร้างพระธาตุนาดูน โดยจำลองแบบมาจากสถูปทองสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุนาดูนนับได้ว่าเป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา จนมีผู้กล่าวว่าพระธาตุนาดูนเปรียบเหมือนพุทธมณฑลของภาคอีสาน

ระบำจัมปาศรี จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงความเจริญรุ่งเรืองของโบราณสถานในจังหวัดมหาสารคาม และเป็นความภาคภูมิใจร่วมกันของชาวอีสาน พระธาตุนาดูนซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนับเป็นของคู่บ้านคู่เมือง ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)โดยอาจารย์ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ จึงได้จัดทำระบำจัมปาศรีขึ้น โดยอาศัยจากเอกสารทางโบราณคดีและข้อเขียนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนครจัมปาศรี

ท่าฟ้อนชุดระบำจัมปาศรีประยุกต์ท่าฟ้อนพื้นเมืองอีสาน ซึ่งได้แก่ ฟ้อนภูไท ฟ้อนตังหวาย ฟ้อนสังข์ศิลป์ชัยฯลฯ ผสมกับท่าระบำโบราณคดี ชุดระบำทวาราวดี และภาพจำหลักที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยท่าเคลื่อนไหวจะเป็นท่าฟ้อนพื้นเมือง ส่วนท่าหยุดจะเป็นท่าโบราณคดี

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ซึ่งได้แก่ พิณ แคน โปงลาง กลอง โหวด ฉิ่ง ฉาบ และใช้เครื่องดนตรีโลหะประกอบ ได้แก่ระนาดเหล็กเพลงที่ใช้ประกอบการฟ้อนชุดระบำจัมปาศรีใช้ลายเพลง มโหรีอีสาน

การแต่งกาย

ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน นุ่งเสื้อในนางรัดอก มีสไบพาดไหล่ซ้าย นุ่งผ้าไหมพื้นเมืองอีสานโดยใช้ผ้าซิ่น 2 ผืน ผ้าซิ่นผืนในนุ่งพับหน้านาง ส่วนผ้าถุงผืนนอกพับทบทั้ง 2 ข้างตรงสะโพกหักคอไก่คล้ายรำมโนราห์บูชายันต์ สวมเครื่องประดับคอ (ทับทรวง) รัดต้นแขน ต่างหู กำไลและเข็มขัดทอง

การแสดงชุดระบำจัมปาศรีจะมี 2 แบบ

แบบที่1

คือ แบบของวงแคน ชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแม่แบบ ซึ่งจะเป็นการแสดงที่ไม่มีตัวเอกหรือตัวนางพญา ถ้าค้นๆในภาพในเว๊บต่างๆ ก็จะมีหลายโรงเรียนที่นิยมเอาระบำจัมปาศรีแบบวงแคนไปใช้ เพียงแต่สีสันเสื้อผ้าอาจแตกต่างกันเล็กน้อยนะครับ ยกตัวอย่างเช่น

วงฮักอีสาน โรงเรียนสารคามพิทยาคม, มีความเป็นตัวของตัวเองแต่ก็สวยลงตัวครับ

วงพ่อแล โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล, ต่างกันแค่สีเสื้อผ้าครับ

วงโปงลางโกสุมพิทยาสรรค์ จ.มหาสารคาม, โรงเรียนนี้เสื้อผ้าการแต่งกายเหมือนวงแคนเป๊ะ

วงโปงลางโรงเรียนผดุงนารี จ.มหาสารคาม, เป็นต้น

แบบที่2 เป็นแบบของวงแกนอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งจะเป็นการแสดงที่มีตัวเอกหรือตัวนางพญา โรงเรียนที่นิยมเอาระบำจัมปาศรีแบบวงแกนอีสานไปใช้ยกตัวอย่างเช่น