วัดป่ากุง

วัดประชาคมวนาราม หรือวัดป่ากุง

วัดประชาคมวนาราม หรือวัดป่ากุง เป็นสถานที่/กิจกรรมการท่องเที่ยว ใน จังหวัดร้อยเอ็ด

วัดป่ากุง ห่างจากตำบลหนองแสนไปทางทิศตะวันออกระยะทาง 6 กิโลเมตร เป็นเส้นทางลัดไปจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งคนในชุมชนมีสายสัมพันธ์กันมายาวนาน

ประวัติบ้านป่ากุง

เดิมราษฎรบ้านป่ากุง อาศัยอยู่บ้านหนองแดง ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ต่อมาหลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้ธุดงค์มาปักกลดปฏิบัติธรรมบริเวณดู่ร้างป่ากุงหรือโบสถ์ร้างป่ากุง (ที่ตั้งวัดป่ากุงปัจจุบัน) ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เลื่อมใสศรัทธาในธรรมะที่หลวงปู่เมตตา จึงได้ย้ายบ้านเรือนมาอาศัยบริเวณป่ากุง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งสมเด็จพระสังฆราชได้เสด็จมาสนทนาธรรมกับหลวงปู่ศรี เมื่อปี พ.ศ. 2511 จึงได้แบ่งเขตการปกครองใหม่โดยใช้ชื่อหลวงปู่ศรีกับสมเด็จพระสังฆราชมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน คือบ้านศรีสมเด็จ และกิ่งอำเภอศรีสมเด็จ เพื่อความเป็นศิริมงคล ต่อมาปี พ.ศ. 2532 บ้านศรีสมเด็จมีจำนวนครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น จึงได้แยกเป็นหมู่บ้านอีกหนึ่งหมู่บ้าน ซึ่งหมู่บ้านดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณวัดป่ากุง จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านป่ากุง” จนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้งของหมู่บ้าน

บ้านป่ากุง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอศรีสมเด็จ การเดินทางจากที่ว่าการอำเภอไปตามเส้นทางสาย ก่อ-ร้อยเอ็ด ถึงหมู่บ้านระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร โดยสามารถเดินทางได้ทั้งรถโดยสารและรถรับจ้าง ซึ่งมีบริการทุกฤดูกาล มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,200 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำกิน 1,141 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 59 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ จรด บ้านหนองเม็ก หมู่ที่ 8 ต.ศรีสมเด็จ

ทิศใต้ จรด บ้านศรีสมเด็จ หมู่ที่ 10 ต.ศรีสมเด็จ

ทิศตะวันออก จรด บ้านหนองแดง หมู่ที่ 8 ต.บ้านบาก

ทิศตะวันตก จรด บ้านศรีสมเด็จ หมู่ที่ 10 ต.ศรีสมเด็จ

จำนวนประชากร/จำนวนครัวเรือน

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 66 ครัวเรือน

จำนวนประชากรทั้งหมด 302 คน แยกเป็นชาย 154 คนและเพศหญิง 148 คน

สถานภาพทางสังคม

ประชาชนบ้านป่ากุงส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยอิสานเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันโดยทั่วไป นับถือศาสนาพุทธ

วัดประชาคมวนาราม หรือวัดป่ากุง ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ วัดนี้มีชื่อทางการว่า วัดประชาคมวนาราม สร้างโดยหลวงปู่ศรี มหาวีโร มีเจดีย์ขนาดใหญ่ทำจากหินทรายธรรมชาติเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เหตุที่หลวงปู่ศรี ท่านมีดำริให้สร้างพระเจดีย์หิน เนื่องจากเมื่อพ.ศ. 2531 หลวงปู่ได้ไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ มหาเจดีย์บุโรพุทโธ หรือ โบโรบูโดร์ และได้ประทับใจในความยิ่งใหญ่อลังการของมหาเจดีย์แห่งนี้ จึงได้เล่าให้คณะศิษย์ฟัง ต่อมาใน ปี พ.ศ 2535 การก่อสร้างจึงเริ่มขึ้น จนกระทั่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 มีพิธียกยอดเจดีย์ทองคำแท้หนัก 101 ขึ้นประดิษฐาน ภายในพระเจดีย์เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุอยู่จุดศูนย์กลางของเจดีย์ ผนังแกะสลักเรื่องราวพระพุทธประวัติและเวสสันดรชาดก รวมทั้งประวัติของหลวงปู่ศรีและรูปบูรพาจารย์

ประวัติ หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง

ประวัติ พระราชสังวรอุดม หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง

พระป่าสายกรรมฐานที่น่ากราบไหว้ พระราชสังวรอุดม (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

พระราชสังวรอุดม (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด เดิมชื่อ ศรี เกิดในสกุล ปักกะสีนัง เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๖๐ ตรงกับวันศุกร์ เดือนหก ปีมะเมีย ที่บ้านขามป้อม อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม โยมบิดาชื่อ อ่อนสี โยมมารดาชื่อ ทุม ช่วงปฐมวัย ท่านเข้าศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดบ้านขามป้อม จบชั้นประถมปีที่ ๖ จากนั้นได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม จ.มหาสารคาม จนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ ต่อมาท่านได้เข้ารับราชการเป็นครูอยู่ระยะหนึ่ง จึงได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ ณ พัทธสีมาวัดราษฎร์รังสรรค์ บ้านป่ายาง จ.ร้อยเอ็ด โดยมี พระโพธิญาณมุนี (ดำ โพธิญาโณ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนา เป็นภาษามคธว่า "มหาวีโร"

พรรษาแรก ท่านได้ศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่กับ พระอาจารย์คูณ อุตตโม วัดประชาบำรุง จ.มหาสารคาม ปีต่อมา ท่านได้จาริกไปจำพรรษาที่วัดป่าแสนสำราญ จ.อุบลราชธานี และมีโอกาสศึกษาปฏิบัติธรรม เจริญวิปัสสนา กับ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งเป็นศิษย์สำคัญของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่ศรี มหาวีโรท่านจาริกแสวงธรรม ไปตามป่าตามเขาต่างๆ ซึ่งเป็นสัปปายะสถาน ที่พ่อแม่ครูอาจารย์พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ เคยธุดงค์จาริกมาก่อนหน้านี้ เป็นแหล่งเจริญธรรม ที่ผู้กล้าแห่งกองทัพธรรมได้มาประพฤติธรรม บำเพ็ญเพียร ด้วยเป็นสถานที่อยู่ไกลจากชุมชน ขาดแคลนขัดสนในปัจจัยสี่ แต่มีภูมิทัศน์ที่เหมาะแก่การพัฒนาภูมิธรรมสัมมาปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

ต่อมาท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดบ้านนาแก จ.นครพนม ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นดินแดนที่คุกรุ่นไปด้วยสถานการณ์แห่งความขัดแย้ง ด้านอุดมการณ์ทางการเมือง และสังคม แต่ท่านก็อยู่ด้วยความราบรื่น ปราศจากอันตราย

จนกระทั่งออกพรรษา หลวงปู่ศรี มหาวีโรท่านได้จาริกไปยัง จ.สกลนคร จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นการเดินตามทางรอยธรรมของพ่อแม่ครูอาจารย์ คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน

ในยามเช้า จะมีคณะศรัทธาชาวบ้านทั้งใกล้และไกล จากหลายถิ่น มารวมกันที่หน้าวัดประชาคมวนาราม เพื่อเตรียมถวายภัตตาหาร บิณฑบาตพระคุณเจ้า และจะเป็นโอกาสที่พุทธศาสนิกชนจะได้กราบไหว้ขอพร หลวงปู่ศรี มหาวีโร อย่างใกล้ชิด ซึ่งท่านได้เมตตาโดยเสมอหน้า ถ้วนทั่วทุกๆ คน

การบิณฑบาต เป็นธุดงควัตรที่พระกรรมฐานประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นประจำ สำหรับหลวงปู่ศรี ท่านจะตื่นแต่ดึก ออกเดินไปรอบๆ วัด จนถึงเวลาบิณฑบาต พระราชสังวรอุดม ท่านจึงเป็นผู้มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง แม้จะมีอายุถึง ๙๒ ปีแล้วก็ตาม

หลวงปู่ศรี จึงนับเป็นพระวิปัสนาจารย์กรรมฐาน ที่มีความสามารถอย่างสูงในการแจกแจงแสดงธรรม พระราชสังวรอุดม เป็นพระเถราจารย์ผู้เปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรม เป็นเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ ของพระพุทธศาสนา เป็นพระป่า พระกรรมฐาน ที่มีศิษยานุศิษย์ให้ความเคารพศรัทธาอย่างมหาศาล เป็นสมณะผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบที่น่ากราบไหว้สักการะเป็นอย่างยิ่ง

ในส่วนของวัตถุมงคล หลวงปู่ศรี มหาวีโร พระราชสังวรอุดมได้มีคณะศิษย์สร้างถวายท่านอยู่เสมอ เพื่อขอบารมีให้ท่านแผ่เมตตาอธิษฐานจิตเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้นำไป สักการบูชา มีหลากหลายรุ่นด้วยกัน

เจดีย์หินทรายวัดป่ากรุง

ก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ครบรอบ 90 ปี พรรษา 60 พระเทพวิสุทธิมงคล "หลวงปู่ศรี มหาวีโร" พระเกจิอาจารย์ฝ่ายกัมมัฏฐาน ชื่อดังแห่งภาคอีสาน เลียนแบบเจดีย์โบโรบูโด(บรมพุทโธ) ที่เกาะชวา อินโดนีเซีย

สร้างด้วยแรงศรัทธาของคณะศิษยานุศิษย์ เสียสละกำลังกายกำลังทรัพย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความสมัครสมานสามัคคี เทิดทูนความดีที่หลวงปู่ศรีได้ประพฤติปฏิบัติ และทำงานแข่งกับเวลาให้สำเร็จเสร็จลงภายใน 2 ปี ซึ่งจัดพิธีสมโภชไปแล้วเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2549 ด้วยงบประมาณ 40 ล้านบาท

วัดประชาคมวนาราม(วัดป่ากุง) สถานที่จำพรรษาของพระเทพวิสุทธิมงคล(หลวงปู่ศรี มหาวีโร) ในทุกๆปีวัดป่ากุงจะได้จัดพิธีระลึกถึงพระคุณของหลวงปู่ศรี(วันคล้ายวันเกิด) มีการสวดมนต์ จัดตั้งโรงทาน ตักบาตร ในระว่างวันที่ 1-3 พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว จะมีพุทธศาสนิกชนหลั่งไหลมาร่วมงานในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก

รวมภาพ เจดีย์

(หลายองค์) พร้อมกับ รูปเหมือนปั๊ม รุ่นแรก ประกอบด้วยเนื้อทองคำ เงิน ทองแดง ทองเหลือง และชินตะกั่ว

และเมื่อปีที่ผ่านมา (๒๕๕๑) ได้มีคณะศิษยานุศิษย์ จัดสร้าง พระปิดตามีโชคมีลาภ ยันต์หลวงปู่ศรี มหาวีโร รุ่นแรก ประกอบด้วยเนื้อทองคำ เงิน นวโลหะแก่เงิน สัมฤทธิ์ ทองแดง และชนิดเป็นช่อ

พระกริ่งหลวงปุ่ศรี

หลวงปู่ศรีรุ่นสุดท้าย