๔.๓ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ตัวชี้วัดข้อที่ ๑ ครูวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียน และให้นักเรียนมีการประเมินตนเอง

  มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยเน้นการประเมินเพื่อพัฒนานักเรียนเป็นหลัก วัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยมุ่งเน้นให้ครูวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียน และให้มีการประเมินตนเองตามสภาพจริง

โดยมีการกำหนดการวัดและประเมินผลการเรียนประจำภาค ดังนี้

๑. การวัดและประเมินผลก่อนการจัดการเรียนรู้  โดยทำการวัดความรู้พื้นฐานของนักเรียนก่อนเรียนรวมถึงการสัมภาษณ์นักเรียนเป็นรายบุคคล  

๒. การวัดและผลประเมินผลระหว่างการจัดการเรียนรู้ โดยทำการวัดและประเมินผลตามแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาผลของความก้าวหน้าและความสามารถของนักเรียน 

๓. การวัดและประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้ เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา ทักษะและความสามารถในด้านต่างๆ เพื่อนำผลการประเมินไปวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนรู้และกำหนดกิจกรรมในการแก้ปัญหานักเรียนต่อไป

ตัวชี้วัดข้อที่ ๒ ครูวัดและประเมินผลนักเรียนด้วยวิธีการและเครื่องมือประเมินที่หลากหลาย
สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของรายวิชาที่สอน

  ใช้วิธีการวัดและประเมินผลนักเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การถามตอบในชั้นเรียน การทดสอบย่อย การให้ทำรายงาน การนำเสนองาน การทำโครงงาน การผลิตชิ้นงาน เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานและชี้วัดของรายวิชาที่สอน ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลหลากหลายรูปแบบ

วัดประเมินผลด้วยการถามตอบ และให้นักเรียนพิมพ์คำตอบในช่องสนทนาของ Google Meet

นักเรียนสะท้อนความรู้สึกหลังจัดการเรียนรู้ในแต่ละวันเพื่อนำมาพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไป
ด้วย Poll Everywhere

ใบกิจกรรมที่ใช้ทดสอบความรู้นักเรียนหลังเรียน ด้วย Live WORK SHEET

ตัวชี้วัดข้อที่ ๓ ครูตรวจสอบความรู้พื้นฐานของนักเรียนก่อนเรียน และประเมินเมื่อจบบทเรียน
ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีและปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

  ครูตรวจสอบความรู้พื้นฐานของนักเรียนก่อนเริ่มบทเรียน โดยใช้การซักถามหรือแบบทดสอบก่อนเรียน ทั้งยังมีการตรวจสอบนักเรียนเป็นระยะๆ ว่านักเรียนทุกคนเข้าใจในสิ่งที่ครูสอนหรือไม่

  เมื่อจบบทเรียนครูได้วัดผลการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อประเมินว่านักเรียนบรรลุตามตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ของบทเรียนนั้น และมีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันที่และปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

ตัวชี้วัดข้อที่ ๔ ครูนำข้อมูลการวัดและประเมินผลมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของครู
รวมทั้งแก้ไขและพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน

  เมื่อครูดำเนินการวัดและประเมินผลนักเรียนเรียบร้อยแล้ว ครูจะนำผลการประเมินมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของครู ด้วยกระบวนการวิจัย โดยทำการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อค้นหาสาเหตุ พิจารณาหาแนวทางในการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้จากกระบวนการเรียนการสอนมากที่สุด

ตัวชี้วัดข้อที่ ๕ ครูตัดสินผลการเรียนของนักเรียนตามระเบียบที่กำหนด ใช้ข้อมูลจากหลายแหล่ง
มีเกณฑ์อธิบายระดับผลการเรียนชัดเจน

  ครูตัดสินผลการเรียนของนักเรียนตามระเบียบที่สถานศึกษากำหนด ใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งหลากหลายวิธีที่สะท้อนพัฒนาการและศักยภาพของผู้เรียน มีเกณฑ์อธิบายระดับผลการเรียนที่ชัดเจน มีการปรับเกณฑ์ที่ท้าทายความสามารถของนักเรียน

  โรงเรียนปากเกร็ดได้กำหนดเกณฑ์การตัดสินผลการเรียนให้สูงขึ้น เพื่อยกระดับผลการเรียน
โดยกำหนดเป้าหมายว่านักเรียนต้องได้ระดับผลการเรียน ๓ ขึ้นไป ร้อยละ ๗๐