๒.๑ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

      สถานศึกษามีการวิเคราะห์ความต้องการของสถานศึกษา ชุมชน สังคมและท้องถิ่น ร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาออกแบบและวางแผนพัฒนาหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เป้าหมายและวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา การนำหลักสูตรไปวางแผนและออกแบบจัดการเรียนการสอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร และนำการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา

      โรงเรียนปากเกร็ดมีหลักสูตรที่สอดคล้องตามความต้องการจำเป็นของชุมชน สังคม ท้องถิ่น มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐) สอดคล้องกับเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของโรงเรียน นักเรียนสามารถเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจอย่างหลากหลาย ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖  ส่งผลให้นักเรียนจบหลักสูตรตามแผนการเรียนที่นักเรียนเลือก ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาหรือประกอบอาชีพได้  ในปีการศึกษา ๒๕๖๓ มีสถานศึกษาอื่นมาศึกษาดูงาน จำนวน ๕ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษน้อมเกล้า นนทบุรี  โรงเรียนราชวินิต นนทบุรี โรงเรียนทีปังกรวิทยพัฒน์ มัธยมวัดหัตถสาร โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช บางเขน และโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม

โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช บางเขน สพม.กทม.2
มาศึกษาดูงานโรงเรียนปากเกร็ด

วันที่ 9 มีนาคม 2564 โรงเรียนราชวินิต นนทบุรี
มาศึกษาดูงานโรงเรียนปากเกร็ด

ตัวชี้วัดข้อที่ ๑ วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาร่วมกับชุมชนสังคม ท้องถิ่น 

และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโรงเรียนมีการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา  

ร่วมกับชุมชนสังคม  ท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ครอบคลุมทุกประเด็น



โรงเรียนมีการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา ร่วมกับชุมชนสังคม ท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องครอบคลุมทุกประเด็นและได้นำผลการวิเคราะห์มาวางแผนในการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนปากเกร็ด พุทธศักราช ๒๕๕๑ และพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐) ซึ่งดำเนินการ ใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๑ - ปัจจุบัน มีการพัฒนาปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สภาพบริบท ความต้องการของชุมชน ความสนใจของนักเรียนและผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง 

ตัวชี้วัดข้อที่ ๒ นำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา
ให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน


โรงเรียนปากเกร็ดนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนปากเกร็ด ให้เป็นหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น และสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐)  มีแผนการเรียน และรายวิชาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมที่หลากหลาย สนองตามความต้องการของชุมชน ศักยภาพและความสนใจของนักเรียน และผู้ปกครอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ได้เลือกเรียนอย่างหลากหลาย ตามศักยภาพและความสนใจ ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  มีห้องเรียนปกติ  ห้องเรียนพิเศษ ที่เน้นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี  ห้องเรียนภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น   ห้องเรียนภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ห้องเรียนศิลปะ ดนตรี กีฬา ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ 

ตัวชี้วัดข้อที่ ๓ นำหลักสูตรสถานศึกษาไปออกแบบจัดการเรียนการสอน 

เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมาย


นำหลักสูตรสถานศึกษาไปออกแบบจัดการเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมาย ตัวชี้วัด โดยวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ จัดทำคำอธิบายรายวิชา โครงการสอน ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์ เทคนิค วิธีการเรียนการสอนที่หลากหลาย อาทิ ACTIVE LEARNING,   STEM,  PBL เป็นต้น วัดผลและประเมินผลหลากหลาย  บันทึกหลังสอน รายงานผลลัพธ์จากการจัดการเรียนการสอน ตามสภาพจริง นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการใช้หลักสูตร และนำผลการประเมินมาปรับปรุง และพัฒนา โดยใช้กระบวนการวิจัย การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

ตัวชี้วัดข้อที่ ๔  จัดทำแผนและดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมิน

การใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง 


           โรงเรียนจัดทำแผนและดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง โดยการนิเทศแบบกัลยาณมิตร นิเทศแบบ Blended Learning โดยเพื่อนครู หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน สาระสำคัญของการนิเทศ  รายงานผลการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง  

ตัวชี้วัดข้อที่ ๕ สรุปผลการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมิน มาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร  

โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนา


          สรุปผลการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมิน นำมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง  โดยใช้กระบวนการวิจัย เพื่อพัฒนา  มีการสำรวจ ความคิดเห็น/ความพึงพอใจจากทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และนำผลมาพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ทำให้การใช้หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิภาพผลสูงสุดต่อนักเรียน

         การประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรโรงเรียนปากเกร็ด พบว่า นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรในระดับมาก  โรงเรียนได้นำข้อเสนอแนะจากการประเมินมาปรับและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา เป็นหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียน และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน