๔.๑ การออกแบบการจัดการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ ๑ ครูออกแบบการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลจากผลการวิเคราะห์นักเรียนและความเข้าใจนักเรียนรายบุคคล

             ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะจำเป็นตามหลักสูตร และสมรรถนะในศตวรรษที่ ๒๑ ในทุกรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคเรียน ครูมีการบันทึกหลังการสอน วางแผนพัฒนาการสอนผ่านการทำกิจกรรม PLCและนำไปสู่การวิจัยในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนานักเรียนในรายวิชาต่างๆ เป็นรายบุคคล  จนทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น  

ขั้นตอนในการออกแบบการเรียนรู้

.  วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา

๒. วิเคราะห์เนื้อหา ถึงความเหมาะสม ความซับซ้อนและการจัดลำดับเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายที่สุด

๓. วิเคราะห์ผู้เรียน ว่ามีความสามารถอย่างไร มีศักยภาพอย่างไร ควรจัดการเรียนการสอนแบบใด เพื่อให้เหมาะกับผู้เรียน

๔.  กำหนดเป้าหมายหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ว่าต้องการพัฒนาผู้เรียนในเรื่องใด ไม่ว่าจะเป็นด้านพุทธพิสัย จิตพิสัย หรือทักษะพิสัย

๕. สร้างแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้หลักการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๖. กำหนดสื่อและแหล่งเรียนรู้ เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนสำหรับผู้เรียน โดยต้องใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนและต้องสามารถดึงประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอนออกมาให้ได้มากที่สุด

๗. กำหนดวิธีการประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตามสภาพจริงโดย การกำหนดสิ่งที่ต้องวัดอย่างชัดเจน

๘. เมื่อดำเนินการออกแบบการเรียนรู้แล้ว จะได้กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ เทคนิควิธีต่างๆ รวมถึงสื่อการสอน แหล่งเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล โดยต้องมีการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

๙. นำกิจกรรมการเรียนการสอนที่ได้ออกแบบไว้ไปใช้จริง และดำเนินการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน เพื่อปรับปรุง โดยผู้สอนต้องประเมินตนเอง เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามตัวบ่งชี้ของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ตัวชี้วัดที่ ๒ ครูกำหนดเป้าหมาย ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด

จุดเน้นของหลักสูตร ตามความต้องการจำเป็นของนักเรียน

เป้าหมายการเรียนรู้

                มีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และการมอบหมายงานที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมสมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความท้าทาย สร้างสรรค์ ทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่มได้สอดคล้องกับเป้าหมายและจุดเน้นที่สถานศึกษากำหนด มีการจัดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์และได้ลงมือปฏิบัติจริง มีการใช้กระบวนการกลุ่มและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในการสอนได้ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

  ๑. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด จุดเน้นของหลักสูตรและความต้องการของนักเรียน 

  ๒. นักเรียนมีโอกาสในการเลือกสิ่งที่จะเรียนได้เอง ตามความสามารถ ความสนใจของตนเองอย่างเต็มที่ โดยโรงเรียนได้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือกกิจกรรมชุมนุมตามความสนใจของนักเรียน และเสริมทักษะนักเรียนด้วยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการต่างๆ 

  ๓. จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสได้แสดงความสามารถของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ เช่น กิจกรรมสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ กิจกรรมปากเกร็ดนิทรรศน์ เป็นต้น

ตัวชี้วัดที่ ๓ ครูทุกคนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอนที่ออกแบบ

             ครูทุกคนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอนที่ออกแบบไว้อย่างครบถ้วนและมีคุณภาพ โดยดำเนินการดังนี้ 

      ๑. นำแผนจัดการเรียนรู้ที่เขียนไว้มาใช้ในการกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะครบถ้วนตามกำหนด
ในทุกรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคเรียน

     ๒. บันทึกหลังการสอนและได้นำไปสู่การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาให้แก่นักเรียน ในรายวิชาต่างๆ เป็นรายบุคคล หรือกลุ่มย่อยแล้วแต่กรณี จนทำให้โดยภาพรวมผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นในทุกรายวิชา ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น 

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ตัวชี้วัดที่ ๔ ครูวัดและประเมินผลการเรียนอย่างมีคุณภาพ เน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียน และผู้ปกครอง

          ครูมีการวัดผลและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย เน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อใช้พัฒนาการเรียนรู้
การตัดสินผลการเรียนเป็นไปตามระเบียบของสถานศึกษา ซึ่งครูได้ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนอย่างมีคุณภาพ เน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียนและผู้ปกครองครูผู้สอน มีเครื่องมือวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดและผลการเรียนรู้ ใช้วิธีการประเมินหลากหลาย เน้นคำถามเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า วัดครอบคลุมพฤติกรรมนักเรียนทุกด้านในสัดส่วนที่พอเหมาะ และมีการรายงานผลการเรียนเพื่อให้ผู้ปกครองได้ทราบข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน โดยดำเนินการดังนี้ 

     ๑. มีการวัดผลและประเมินผลการเรียนอย่างสม่ำเสมอทั้งระหว่างเรียนและหลังเรียน เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาการเรียน
การสอนและวิธีการวัดผลการเรียนรู้ ทั้งกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน

        ๒. มีวิธีการวัดผลที่หลากหลายและใช้เครื่องมือที่สอดคล้องกับวิธีการวัดผลรวมทั้งเหมาะสมกับตัวชี้วัดและผลการเรียนรู้  

วัดประเมินผลด้วยการถามตอบ และให้นักเรียนพิมพ์คำตอบในช่องสนทนาของ Google Meet

นักเรียนสะท้อนความรู้สึกหลังจัดการเรียนรู้ในแต่ละวันเพื่อนำมาพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไปด้วย Poll Everywhere

ใบกิจกรรมที่ใช้ทดสอบความรู้นักเรียนหลังเรียน ด้วย Live WORK SHEET

คลิปวีดิโอ การสอน พร้อมแบบทดสอบใช้ทบทวนหลังเรียน และทดสอบเก็บคะแนน ด้วย Edpuzzle 

     ๓. มีการประเมินผลการเรียนรู้ที่เกิดจากการผลงานและการปฏิบัติ โดยใช้เกณฑ์คุณภาพและมีเกณฑ์การประเมินผลที่ชัดเจน โดยให้เพื่อนประเมินเพื่อน ผู้ปกครองประเมินพฤติกรรมและผลงานของนักเรียน

๔. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์และการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียนสื่อความ 

. รายงานผลการเรียนต่อผู้ปกครองทุกภาคเรียน 

ตัวชี้วัดที่ ๕ ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับเป้าหมาย กิจกรรมการเรียนรู้ตามธรรมชาติวิชา
และเน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียน

       ครูใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ตามธรรมชาติวิชา และเน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียน ดังนี้ 

       ๑. ครูแต่ละกลุ่มสาระฯ มีการผลิตและใช้สื่อในการเรียนการสอน สื่อที่ใช้สร้างสรรค์มีการพัฒนา(ศึกษาวิจัย) สื่อให้มีประสิทธิภาพเหมาะกับกลุ่มนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 

         ๒. ครูผู้สอนแต่ละกลุ่มสาระฯ ร่วมกันวางแผนจัดหาและผลิตสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ จัดหาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยผู้เรียนสามารถออกแบบและผลิตสื่อการเรียนรู้ร่วมกับครูผู้สอน

          ๓. มีห้องปฏิบัติการต่างๆพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน เพียงพอ มีการวางแผนที่ดีและใช้ประโยชน์คุ้มค่า

         โดยโรงเรียนปากเกร็ด ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับเป้าหมายกิจกรรมการเรียนรู้ตามธรรมชาติวิชา และเน้นการส่วนร่วมของนักเรียน ดังนี้ 

         ๑. สนับสนุนให้ครูจัดทำ/จัดหาสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหา 

         ๒. ส่งเสริมให้ครูศึกษาประสิทธิภาพของสื่อที่จัดทำขึ้นเองโดยดำเนินการในรูปแบบของงานวิจัย

         ๓. สนับสนุนให้ครูเข้าร่วมการอบรมพัฒนาตนเองเกี่ยวกับการสร้างสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้

         ๔. โรงเรียนมีห้องปฏิบัติการครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน 

         ๕. จัดทำสื่อการสอนแบบออนไลน์ ให้นักเรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองตามความต้องการ