บทที่ 3 ออกแบบการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python

        การเขียนโปรแกรม (Programming) คือ การเขียนชุดคำสั่งด้วยภาษาโปรแกรมที่สั่งให้​คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ตรงตามความต้องการ และสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง

        การสั่งงานก็ต้องสั่งให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ ด้วยภาษาใดภาษาหนึ่ง แล้วระบบจะมีตัวแปลภาษา เป็นภาษาเครื่องให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเรียนเขียนโปรแกรมเพื่ออะไร


ทักษะในการแก้ไขปัญหาและการคิดเชิงตรรกะ

       การเขียนโค้ดช่วยสอนให้เด็กแก้ปัญหา ในเรื่องของการหาข้อบกพร่อง(debugging) หรือแก้ข้อผิดพลาดต่างๆ ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งจำเป็นต้องวิเคราะห์ปัญหาในหลากหลายรูปแบบ ทักษะที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาด้านไอทีเหล่านี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ อย่างสร้างสรรค์  ซึ่งอาจเป็นอาชีพใดก็ตามที่ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่แค่สายงานคอมพิวเตอร์ โดยที่ยังได้ใช้ทักษะการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และการคิดเชิงตรรกะ ซึ่งเป็นทักษะที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว

ในโลกปัจจุบันที่ถูกควบคุมด้วยเทคโนโลยีอย่างสมบูรณ์

       ทุกวันนี้เราจะมีชีวิตอยู่ได้ยังไงโดยไม่ใช้ซอฟท์แวร์ต่างๆ เราสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ พัฒนาโปรแกรมในการออกแบบที่อยู่อาศัย อาหาร และแทบทุกสิ่งทุกอย่าง ในชีวิตประจำวัน เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทหลักเช่นนี้ โลกจึงต้องการคนที่เข้าใจว่าระบบเหล่านี้ทำงานยังไง สำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กๆ คุ้นเคยและใช้งานอุปกรณ์เป็น

สร้างโอกาส ในการสร้างเส้นทางอาชีพและมีงานที่ดี

       คนที่รู้เท่าทันและมีทักษะด้านคอมพิวเตอร์ จะมีโอกาสทำงานได้ในแทบทุกสายอาชีพ เพราะทุกสายงานต่างต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทั้งนั้น

       มนุษย์พยายามสร้างคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้เหมือนกับมนุษย์ ดังนั้นพื้นฐานการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จึงมี 3 รูปแบบ

       1. การทำงานตามลำดับ

       2. การทำงานโดยมีเงื่อนไข

       3. การทำงานแบบทำซ้ำ(วนซ้ำ) 

ทำไมต้องเรียนภาษา Python

        การเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์นั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเลือกภาษาโปรแกรมให้เหมาะสมกับลักษณะของงานที่ต้องการ เพราะภาษาคอมพิวเตอร์มีความหลากหลาย แต่ละภาษามีจุดเด่นและความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้านที่แตกต่างกันออกไปภาษาไพทอน (python) เป็นภาษาระดับสูงที่เหมาะกับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรม เนื่องด้วยข้อดีหลายประการ ดังนี้

       1) เขียนง่าย เมื่อเทียบกับภาษาคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่แล้ว ภาษาไพทอนเขียนง่าย รูปแบบคำสั่งไม่ซับซ้อน ส่งผลให้ทำความเข้าใจได้ง่ายด้วย

       2) นำไปใช้งานจริงได้ แม้ว่าภาษาไพทอนจะเขียนง่าย เหมาะกับผู้เริ่มต้น แต่เมื่อมีความเชี่ยวชาญแล้ว ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่ที่ทำงานซับซ้อนและนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง

       3) ต่อยอดง่าย ภาษาไพทอนมีไลบราให้ใช้งานมากมาย ช่วยให้การเขียนโปรแกรมใหม่ทำได้รวดเร็วขึ้น

       4) มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ปัจจุบันไพทอนเป็นภาษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมทั่วโลก ทำให้มีกลุ่มผู้ใช้งานจำนวนมากที่พร้อมให้ความช่วยเหลือและตอบคำถามเมื่อมีปัญหา สำหรับในประเทศไทย ไพทอนเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมีสถานบันอุดมศึกษาหลายแห่งได้บรรจุภาษาไพทอนเป็นวิชาในหลักสูตรด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้วสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาไพทอน ควรทำความเข้าใจกับความรู้พื้นฐานต่อไปนี้เพื่อให้การเขียนโปรแกรมทำได้รวดเร็วขึ้น



สิ่งที่ควรรู้ก่อนการเขียนโปรแกรม Python

       1) ไอดีอีภาษาไพทอน (Python IDE) ภาษาไพทอนเป็นภาษาระดับสูง โปรแกรมที่เขียนจึงต้องถูกแปลให้เป็นภาษาเครื่อง ก่อนที่จะใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง การแปลภาษาไพทอนนี้ต้องใช้ตัวแปลภาษาไพทอน (Python interpreter) ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมต้องดำเนินการหลายขั้นตอนกว่าที่จะได้โปรแกรมไพทอนที่ถูกต้องสมบูรณ์นำไปใช้งานได้ ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมจึงนิยมใช้ซอฟต์แวร์เพื่อการพัฒนาโปรแกรม ที่เรียกว่า ไอดีอี (Integrated Development Environment: IDE) ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือสำหรับแก้ไขซอร์สโค้ด (source code editor) เครื่องมือสำหรับแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรม (debugger) และเครื่องมือที่ช่วยรัน (run) ซอร์สโค้ด ปัจจุบันได้มีผู้สร้างไอดีอีสำหรับภาษาไพทอนจำนวนมากให้เลือกใช้ตามความถนัดของผู้เขียนโปรแกรม โดยไอดีอีภาษาไพทอนจะทำงานได้ทั้งในโหมดอิมมีเดียท (immediate mode) และโหมดสคริปต์ (script mode)โหมดอิมมีเดียท เป็นการพิมพ์คำสั่งทีละคำสั่ง แล้วตัวแปลภาษาไพทอนจะทำงานตามคำสั่งดังกล่าวทันทีโหมดสคริปต์ เป็นการพิมพ์คำสั่งหลายคำสั่งเก็บไว้เป็นไฟล์ก่อน เมื่อผู้เขียนโปรแกรมสั่งให้ทำงาน ตัวแปลภาษาจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมตั้งแต่คำสั่งแรกจนถึงคำสั่งสุดท้ายต่อเนื่องกันไป


       2) ข้อมูลเข้า เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้นำเข้าสู่โปรแกรมขณะที่โปรแกรมกำลังทำงานอยู่ เพื่อนำไปประมวลผล โดยโปรแกรมสามารถรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ อ่านจากไฟล์ หรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์อื่น

       3) ข้อมูลออก เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการที่คอมพิวเตอร์ทำงานตามโปรแกรม โดยข้อมูลออกจะแสดงทางจอภาพ ไฟล์ หรืออุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ เช่น เครื่องพิมพ์ ลำโพง

       4) ข้อผิดพลาด (error) คือ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการเขียนโปรแกรม ข้อผิดพลาดแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

                1. ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ (syntax error) เป็นการเขียนโปรแกรมไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษา ทำให้โปรแกรมไม่สามารถทำงานได้

                2. ข้อผิดพลาดขณะโปรแกรมทำงาน (runtime error) หรือเรียกว่าสิ่งผิดปกติ(exception) ซึ่งไม่ได้ผิดที่ไวยากรณ์ของโปรแกรม แต่เกิดความผิดพลาดขึ้นขณะที่โปรแกรมทำงาน ทำให้ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งต่อไปจนสำเร็จได้ ตัวอย่างของสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นบ่อย เช่น การหารเลขจำนวนที่มีตัวหารเป็นศูนย์ หรือการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ระหว่างตัวเลขและข้อความ

                3. ข้อผิดพลาดทางความหมาย (semantic error) เป็นข้อผิดพลาดที่หาสามารถได้ยากที่สุด เพราะว่าโปรแกรมยังสามารถทำงานได้จนจบ แต่ผลลัพธ์ไม่ถูกต้องตามที่ต้องการทำให้ผู้เขียนโปรแกรมต้องตรวจสอบว่ากระบวนการทำงานในคำส่งหรือขั้นตอนใดที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ได้ตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น การใส่วงเล็บไม่ถูกตำแหน่งในนิพจน์คณิตศาสตร์ ทำให้ลำดับการคำนวณไม่ถูกต้อง

       5) การแก้ไขจุดบกพร่อง (debugging) เป็นกระบวนการในการตรวจหาข้อผิดพลาดในโปรแกรมที่เขียนขึ้น โดยเมื่มีความผิดพลาดในโปรแกรมซึ่งทำให้ผลลัพธ์ของโปรแกรมไม่ถูกต้องตามต้องการ จุดบกพร่องในโปรแกรมลักษณะนี้เรียกว่าบัก (bug) กระบวนการแก้ไขจุดบกพร่องนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ ความรู้ การประมวลผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการเขียนโปรแกรมจนกว่าจะได้โปรแกรมที่สมบูรณ์

       6) คอมเมนต์ (comment) เป็นคำธิบายที่ใส่ไว้เพื่อเตือนความจำ หรืออธิบายการทำงานของโปรแกรม ซึ่งเป็นข้อความที่ไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม ในภาษาไพทอนจะใช้สัญลักษณ์ # แสดงจุดเริ่มต้นของคอมเมนต์ในแต่ละบรรทัด


การตั้งชื่อตัวแปร มีหลักการดังนี้

    1. ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ โดยสามารถตามหลังด้วยตัวอักษรหรือตัวเลขใดๆก็ได้

2. ห้ามเว้นช่องว่าง และห้ามใช้สัญลักษณ์พิเศษนอกเหนือจาก underscore "_" เท่านั้น

3. ตัวอักษรในชื่อต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างอักษรตัวพิมพ์ใหญ่กับตัวพิมพ์เล็ก เนื่องจากตัวแปรที่มีพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กผสมกันจะมีความหมายต่างกัน กับตัวพิมพ์เล็กเพียงอย่างเดียว

4. ชื่อต้องไม่ซ้ำกับคำสงวน (Reserved word, Keyword)

5. ควรตั้งชื่อโดยให้ความหมายสอดคล้องกับข้อมูล เพื่อให้เข้าใจง่าย

6. ห้ามใช้เครื่องหมายต่อไปนี้ในการตั้งชื่อตัวแปร !,@, #, $, %, ^, &, *, (, ), -, =, \, |, +, ~


ตัวแปรที่กำหนดขึ้นต้องไม่ซ้ำกับคำหลัก 

       ชื่อตัวแปรที่กำหนดขึ้นต้องไม่ซ้ำกับคำหลัก (keyword)ที่ไพทอนใช้เป็นคำสั่ง เนื่องจากไพทอนจะไม่สามารถแยกได้ว่าคำใดเป็นค่าที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องการให้เป็นตัวแปร หรือคำใดต้องการให้เป็นคำสั่ง คำหลักในไพทอนมีดังนี้

False  None  True  and  as  assert  break  class  continue  def  del  elif  else  except  finally  for  from  global  if  import  in  is  lambda  nonlocal  not  or  pass  raise  return  try  while  with  yield   print

นิพจน์คณิตศาสตร์

        นิพจน์คณิตศาสตร์เป็นนิพจน์ที่ใช้ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์ (arithmetic operation) ในการประมวลผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ที่ใช้ในภาษาไพทอน ได้แก่

        ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์มีลำดับความสำคัญที่ใช้ในการประมวลผล ถ้าหากในกรณีที่มีตัวดำเนินการหลายตัวอยู่ในนิพจน์เดียวกัน การตัดสินว่าตัวดำเนินการใดจะทำงานก่อนหรือหลังขึ้นอยู่กับลำดับความสำคัญ โดยตัวดำเนินการที่มีลำดับความสำคัญสูงจะทำงานก่อน ตัวดำเนินการแต่ละตัวมีลำดับความสำคัญแตกต่างกัน โดยเยงจากลำดับความสำคัญสูงไปยังลำดับความสำคัญต่ำ ดังนี้

             1. ( ) จัดกลุ่ม มีความสำคัญสูงสุด

             2.** ยกกำลัง มีความสำคัญรองลงมา

             3. * / // % คูณ หาร หารปัดเศษทิ้ง และหารเอาเศษ มีความสำคัญเท่ากันโดยจะกระทำตามลำดับจากซ้ายไปขวาในนิพจน์

             4. + - บวกและลบ มีความสำคัญต่ำสุด โดยจะกระทำจากซ้ายไปขวา

นิพจน์เปรียบเทียบ

        นิพจน์เปรียบเทียบ (relational expression) เป็นนิพจน์ที่ใช้ตัวดำเนินการเปรียบเทียบทอนจะได้ผลลัพธ์เป็นคลาส bool ซึ่งมีค่าเป็น True หรือ False เท่านั้นตัวดำเนินการทางเปรียบเทียบที่ใช้ในภาษาไพทอน โดยกำหนด x = 5 และ y = 7

นิพจน์ตรรกะ

        นิพจน์ตรรกะ (logical expression) เป็นนิพจน์ที่ใช้ตัวดำเนินการตรรกะ (logicaloperation) ในการประมวลผลตัวถูกดำเนินการที่อยู่ในคลาส boolตัวดำเนินการตรรกะที่ใช้ในภาษาไพทอน มีดังนี้


        ตัวดำเนินการ and และ or ต้องการตัวถูกดำเนินการสองตัว แต่ตัวดำเนินการ notต้องการตัวถูกดำเนินการเพียงตัวเดียว โดยตัวดำเนินการตรรกะมีลำดับความสำคัญเรียงจากลำดับความสำคัญสูงไปยังลำดับความสำคัญต่ำ คือ not and or


ฟังก็ชันรับค่า

        ฟังก็ชันรับค่า (input function) หรือฟังก์ชันรับข้อมูล เป็นฟังก็ชันที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม โดยทั่วไปจะเป็นการรับข้อมูลเข้าจากแป้นคีย์บอร์ด ในภาษาไพทอนมีฟังก์ชันที่ใช้ในการรับข้อมูลหรือรับค่าที่ผู้ใช้โปรแกรมกดจากคีย์บอร์ด คือฟังก์ชัน input)

 

       input ()

 

       ข้อมูลที่รับเข้าโดยทั่วไปมี 3 ชนิด ได้แก่ จำนวนเต็ม (int) จำนวนจริง (float) และข้อความ (str)

ข้อคำนึง!!!

       คำสั่ง input() ใช้ในการรับข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม โดยข้อมูลที่รับเข้ามานั้นจะถูกกำหนดเป็นอักขระ แม้ว่าผู้ป้อนข้อมูลจะพิมพ์ตัวเลขเข้าไปก็ตาม โปรแกรมจะมองตัวเลขนั้นเป็นอักขระซึ่งไม่สามารถนำไปใช้คำนวณทางคณิตศาตร์ได้

        รับค่าตัวเลขจำนวนเต็ม  x=int(input("Enter number" ))

รับค่าตัวเลขจำนวนจริง         y=float(input("Enter number" ))

รับค่าข้อความ             name=str(input("Enter name : " ))



x=int(input("Enter number" ))

        y=float(input("Enter number" ))

    name=str(input("Enter name : " ))


คำสั่งเลือกเงื่อนไข

       การควบคุมการทำงานโปรแกรมด้วยคำสั่ง if, if else และ elif เพื่อให้โปรแกรมสามารถทำงานซับซ้อนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เครื่องปรับอากาศจะทำงานอัตโนมัติถ้าหากอุณหภูมิในห้องสูงหรือต่ำเกินไป หรือรถยนต์จะแสดงสัญญาณเตือนหากน้ำมันกำลังใกล้จะหมด เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากการกำหนดเงื่อนไขการทำงานให้โปรแกรม มาเริ่มกับคำสั่ง if ในภาษา Python

 

คำสั่ง if

        คำสั่ง if เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของโปรแกรมที่เป็นพื้นฐานและง่ายที่สุด เราใช้คำสั่ง if เพื่อสร้างเงื่อนไขให้โปรแกรมทำงานตามที่เราต้องการเมื่อเงื่อนไขนั้นตรงกับที่เรากำหนด เช่น การตรวจสอบค่าในตัวแปรกับตัวดำเนินการประเภทต่างๆ นี่เป็นรูปแบบของการใช้งานคำสั่ง if ในภาษา Python

 

if expression:

# statements


ในตัวอย่าง เป็นรูปแบบของการใช้งานคำสั่ง if และ expression เป็นเงื่อนไขที่สร้างจากตัวดำเนินการประเภทต่างๆ ที่เป็น boolean expression โดยโปรแกรมจะทำงานในบล็อคคำสั่ง if ถ้าหากเงื่อนไขเป็น True ไม่เช่นนั้นโปรแกรมจะข้ามการทำงานไป ในบล็อคของคำสั่ง if จะประกอบไปด้วยคำสั่งการทำงานของโปรแกรม คำสั่งทั้งหมดในบล็อคต้องมีระยะเว้นช่องว่างที่เท่ากัน ต่อไปมาดูตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง if ในภาษา Python

n = 10

if n == 10:

             print('n = 10')

คำสั่ง if else

        หลังจากที่คุณได้รู้จักกับคำสั่ง if ไปแล้ว อีกคำสั่งหนึ่งที่ทำงานควบคู่กับคำสั่ง if คือคำสั่ง else clause โดยโปรแกรมจะทำงานในคำสั่ง else ถ้าหากเงื่อนไขในคำสั่ง if นั้นไม่เป็นจริง กล่าวอีกนัยหนึ่ง มันจะทำงานเมื่อเงื่อนไขก่อนหน้านั้นไม่เป็นจริงหรือเป็นเงื่อนไข Default มาดูตัวอย่างการใช้งาน if else ในภาษา Python

n = 5

if n == 10:

        print("n = 10")

else:

        print("n != 10")

 

คำสั่ง if elif

        คำสั่ง elif นั้นเป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับสร้างเงื่อนไขแบบหลายทางเลือกให้กับโปรแกรมที่มีการทำงานเช่นเดียวกับ switch case ในภาษาอื่นๆ คำสั่ง elif นั้นต้องใช้หลังจากคำสั่ง if เสมอและสามารถมี else ได้ในเงื่อนไขสุดท้าย มาดูตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง elif ในภาษา Python

 

print('Welcome to marcuscode\'s game')

level = input('Enter level (1 - 4): ')

if level == '1':

print('Easy')

elif level == '2':

print('Medium')

elif level == '3':

print('Hard')

elif level == '4':

print('Expert')

else:

print('Invalid level selected')


การแสดงผลด้วยฟังก์ชัน print()

ในการแสดงผลในภาษา Python นั้นจะใช้ฟังก์ชัน print() เพื่อแสดงผลข้อความ ตัวเลข หรือข้อมูลประเภทอื่นๆ ออกทางหน้าจอหรือสร้าง Http response นี่เป็นรูปแบบของการใช้งานฟังก์ชัน print() ในภาษา Python

print(value, ..., sep = ' ', end = '\n');


ในรูปแบบการใช้งาน ฟังก์ชัน print() เราสามารถส่งอาร์กิวเมนต์ได้ตั้งแต่หนึ่งถึงหลายตัวเข้าไปในฟังก์ชัน นอกจากนี้ฟังก์ชันยังมี keyword อาร์กิวเมนต์ sep ซึ่งเป็นตัวแบ่งหากอาร์กิวเมนต์ที่ส่งเข้าไปนั้นมากกว่า 1 ตัว ซึ่งมีค่า default เป็น whitespace และ keyword อาร์กิวเมนต์ end เป็นการแสดงผลในตอนท้ายของฟังก์ชัน ซึ่งมีค่า default เป็น \n หมายถึงการขึ้นบรรทัดใหม่ มาดูตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน


คำสั่งวนซ้ำ

        คำสั่งวนซ้ำในภาษา Python เราจะพูดถึงการควบคุมการทำงานโดยการใช้คำสั่ง while loop และ for loop คำสั่งเหล่านี้สามารถควบคุมโปรแกรมให้ทำงานซ้ำๆ ในเงื่อนไขที่กำหนดและเพิ่มความสามารถของการเขียนโปรแกรม ตัวอย่างของการทำงานซ้ำๆ นั้นพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น โปรแกรมพยากรณ์สภาพอากาศที่เกิดขึ้นในทุกๆ วัน หรือการไปทำงานของคุณในทุกๆ เช้า เป็นต้น ดังนั้นแนวคิดเหล่านี้จึงถูกนำมาใช้กับการเขียนโปรแกรม

 

คำสั่ง while loop

while loop เป็นคำสั่งวนซ้ำที่ง่ายและพื้นฐานที่สุดในภาษา Python คำสั่ง while loop นั้นใช้ควบคุมโปรแกรมให้ทำงานบางอย่างซ้ำๆ ในขณะที่เงื่อนไขของลูปนั้นยังคงเป็นจริงอยู่ นี่เป็นรูปแบบของการใช้งานคำสั่ง while loop ในภาษา Python

while expression:

# statements

          ในรูปแบบการใช้งานคำสั่ง while loop นั้น เราสร้างลูปด้วยคำสั่ง while และตามด้วยการกำหนด expression ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จะให้โปรแกรมทำงาน ซึ่งโปรแกรมจะทำงานจนกว่าเงื่อนไขจะเป็น False และสิ้นสุดการทำงานของลูป ภายในบล็อคคำสั่ง while นั้นประกอบไปด้วยคำสั่งการทำงานของโปรแกรม ต่อไปมาดูตัวอย่างโปรแกรมนับเลขที่แสนคลาสสิคด้วยการใช้คำสั่ง while loop ในภาษา Python

 

i = 1 

while i <= 10:

print(i, end = ', ')

i = i + 1

print()


         ในตัวอย่าง โปรแกรมในการแสดงตัวเลข 1 ถึง 10 โดยการใช้คำสั่ง while loop ในตอนแรก เราได้ประกาศตัวแปร i และกำหนดค่าให้กับตัวแปรเป็น 1 หลังจากนั้นเราสร้างเงื่อนไขสำหรับ while loop เป็น i <= 10 นั่นหมายความว่าโปรแกรมจะทำงานในขณะที่ค่าในตัวแปร i ยังคงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 และเราแสดงผลค่าของ i ในบล็อคของคำสั่ง while และเราเพิ่มค่าของตัวแปรขึ้นทุกครั้งหลังจากที่แสดงผลเสร็จ ถ้าหากคุณไม่เพิ่มค่าของ i ลูปจะทำงานไม่มีวันหยุดหรือเรียกว่า Infinite loop

 

คำสั่ง for loop

       คำสั่ง for loop เป็นคำสั่งวนซ้ำที่ใช้ควบคุมการทำงานซ้ำๆ ในจำนวนรอบที่แน่นอน ในภาษา Python นั้นคำสั่ง for loop จะแตกต่างจากภาษาอื่นๆ อย่างภาษา C มันมักจะใช้สำหรับการวนอ่านค่าภายในออบเจ็ค เช่น ลิสต์หรือออบเจ็คจากฟังก์ชัน range() เป็นต้น มาดูตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง for ในภาษา Python

 

# loop through string

site = 'marcuscode'

for n in site:

print(n)

 

# loop through list

names = ['Mateo', 'John', 'Eric', 'Mark', 'Robert']

for n in names:

print(n)

 

numbers = [10, 20, 30, 40, 50, 60, 70, 80]

for n in numbers:

print(n)

           ในตัวอย่าง เป็นการใช้คำสั่ง for loop ในการวนอ่านค่าในตัวแปร String และอ่านข้อมูลภายในลิสต์ ในลูปแรกเป็นการวนอ่านค่าตัวอักษรในตัวแปร String site โดยโปรแกรมจะวนอ่านค่าทีละตัวมาเก็บไว้ในตัวแปร n ซึ่งเป็นพารามิเตอร์ของคำสั่ง for loop และวนอ่านค่าจนครบทุกตัวอักษรและจบการทำงานของ loop และอีกในสอง loop ต่อมาเป็นการใช้คำสั่ง for loop ในการวนอ่านข้อมูลภายในลิสต์ของ String และตัวเลข

 

คำสั่ง for loop กับฟังก์ชัน range()

ในภาษา Python เรามักจะใช้คำสั่ง for loop กับฟังก์ชัน range() ในการวนอ่านค่าออบเจ็คของตัวเลข ฟังก์ชัน range() นั้นเป็น built-in ฟังก์ชันใช้สำหรับสร้างออบเจ็คของตัวเลข โดยมีพารามิเตอร์ 3 ตัว คือตัวเลขเริ่มต้น ตัวเลขสุดท้าย และค่าที่เปลี่ยนแปลงในลำดับของตัวเลข มาดูตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน range() ในภาษา Python

 

for i in range(1,11):

print(i)


งาน 

ข้อ 1 เขียนโปรแกรม python คิดค่าร้อยละ  รับค่า 2 ตัว ร้อยละ และจำนวนนับ

เช่น  ร้อยละ 12 จำนวนนับ 125    จำนวนชิ้น = 15 

ข้อ 2 เขียนโปรแกรม แปลงอัตรส่วนเป็นเศษส่วนอย่างต่ำ 

เช่น 3/12  แปลงเป็น  1/4

ข้อ 3 แปลงค่าเงินบาท เป็น เงินเยน        1 บาท = 3.88 เยน

แปลงค่าเงินเยน เป็น บาท  1 เยน = 0.26

เช่น   Enter THB : 100

THB to JPY = 388 

JPY to THB = 100.88


ข้อ 4 รับค่าตัวเลข 5 ตัว แล้วบอกจำนวนที่มากที่สุดของตัวเลข ทั้ง 5

เช่น   5 6 7 2 8 จำนวนสูงสุดคือ  8