เรื่องที่ 2 ลักษณะการเกิดแผ่นดินไหว

สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว

1. กระบวนการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ เช่น

1) การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

2) ภูเขาไฟระเบิด

3) การยุบตัวหรือพังทลายของโพรงใต้ดิน

4) การสั่นสะเทือนจากคลื่นมหาสมุทร

2. การกระทำของมนุษย์

ทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การทำเหมือง การสร้างอ่างเก็บน้ำหรือการสร้างเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การทำงานของ เครื่องจักรกล การจราจร และการเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน การทดลองระเบิดปรมาณู การระเบิด พื้นที่เพื่อสำรวจวางแผนก่อนสร้างเขื่อน เป็นต้น

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความเสียหายจากแผ่นดินไหว

1. แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ที่เกิดในแนวของแผ่นดินไหวโลก โดยเฉพาะ บริเวณที่มีการชนกันของแผ่นเปลือกโลก หรือแนวรอยเลื่อนที่มีความยาวมาก ๆ จะมีศักยภาพ ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่

2.ความลึกของจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวไม่ลึก มากหรือผิวดินจะก่อให้เกิดความรุนแรงในระดับที่มากกว่าการเกิดแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์เกิด แผ่นดินไหวที่ลึกมากกว่า

3.ขนาด (Magnitude) หมายถึง จำนวนหรือปริมาณของพลังงานที่ถูกปล่อย ออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวแต่ละครั้งในรูปแบบของการสั่นสะเทือน คิดค้นโดย ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ และในประเทศไทยนิยมใช้หน่วยวัดขนาดแผ่นดินไหว คือ “ริกเตอร์” ซึ่งมีขนาด ตามมาตราริกเตอร์

4.ระยะทาง โดยปกติแผ่นดินไหวที่มีขนาดเท่ากัน แต่ระยะทางจากจุด ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวต่างกัน ระยะทางใกล้กว่าย่อมมีความสั่นสะเทือนของพื้นดินมากกว่า

5.สภาพทางธรณีวิทยา ก่อให้เกิดความเสียหายจากความสั่นสะเทือน บริเวณที่มีการดูดซับพลังงานการสั่นสะเทือนได้มากหรือมีค่าการลดทอนพลังงานมาก จะได้รับ ความเสียหายน้อย เช่น ในพื้นที่ที่เป็นหินแข็ง แต่ในบริเวณที่เป็นดินอ่อนจะช่วยขยาย การสั่นสะเทือนของพื้นดินให้มากขึ้นกว่าเดิมจะทำให้ความเสียหายที่ได้รับจะเพิ่มมากขึ้นด้วย

6.ความแข็งแรงของอาคาร อาคารที่สร้างได้มาตรฐานมั่นคงแข็งแรง มีการออกแบบและก่อสร้างให้ต้านแผ่นดินไหว จะสามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือนได้ดี เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นจะเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัยได้ในระดับหนึ่ง

ผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหว

พื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย

รอยเลื่อน คือ รอยแตกในหินที่แสดงการเลื่อน สามารถพบได้ทุกภูมิภาคในประเทศ ไทย ขนาดของรอยเลื่อนมีตั้งแต่ระดับเซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยกิโลเมตร รอยเลื่อนขนาดใหญ่ สามารถสังเกตได้ง่ายจากลักษณะภูมิประเทศ

รอยเลื่อนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว หรือ รอยเลื่อนมีพลัง คือ รอยเลื่อนที่พบหลักฐานว่าเคยเกิดการเลื่อนหรือขยับตัวมาแล้วในห้วงเวลา 10,000 ปี มักจะอยู่ใน พื้นที่บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยหรือตามแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก