เรื่องที่ 3 สถานการณ์การเกิดภัยแล้งในประเทศไทย

สถานการณ์ภัยแล้ว

สถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบัน เป็นผลมาจากปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนหลายแห่งต่ำ ประกอบกับภาวะฝนทิ้งช่วง ซึ่งในเดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนเมษายน 2557 มีจังหวัดที่ได้รับ ผลกระทบและประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (ภัยแล้ง) ทั้งหมด 44 จังหวัด 311 อำเภอ 1,927 ตำบล 18,355 หมู่บ้าน แบ่งเป็นภาคเหนือ 13 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด และภาคใต้ 7 จังหวัด โดยปัจจัยหลักที่ ท าให้เกิดภาวะแล้ง คือ ปริมาณฝน ที่ถึงแม้ว่าปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศ ในปี 2556 จะสูงกว่า ค่าเฉลี่ย 14% แต่กลับพบว่า มีฝนที่ตกบริเวณพื้นที่รับน้ าของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ค่อนข้าง น้อยที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งรวมถึงน้อยกว่าปี 2548 และ 2553 ที่ประเทศไทยเกิดภัยแล้งรุนแรง

สำหรับในปี พ.ศ. 2558 มีพื้นที่ประสบภัยกว่า 20 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ทาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ เช่น จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตาก น่าน ลพบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร อำนาจเจริญ สุรินทร์ เป็นต้น เนื่องจาก ภัยแล้งนี้เกิดขึ้นช่วงกลางฤดูฝน คือ ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม โดยรับอิทธิพล จากความแปรปรวนสภาพภูมิอากาศโลก จึงเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็น “ภัยแล้งนอกฤดูกาล”

สถิติการเกิดภัยแล้ง

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การขาดแคลนน้ำจึงส่งผลกระทบอย่าง รุนแรงต่อประชาชนที่ประกอบอาชีพการเกษตร และจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ทำให้ฤดูฝนสั้นขึ้น ซึ่งหมายถึงว่า ฤดูแล้งจะยาวนานขึ้นและในพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยจะมี ปริมาณฝนตกน้อยลง ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศมีปริมาณ ไม่เพียงพอสำหรับประชาชนใช้อุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขต ชลประทาน สิ่งที่จะเป็นปัญหาตามมา คือ ภาวะแห้งแล้งและการขาดแคลนน้ำทำให้ประชาชน ต้องประสบกับความเดือดร้อนในหลายพื้นที

สถานการณ์ภัยแล้ง