เรื่องที่ 3 สถานการณ์อุทกภัยในประเทศไทย

อุทกภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ในอดีตมีอุทกภัยหลายเหตุการณ์

1. อุทกภัยจากพายุอีรา เข้าสู่ประเทศไทยที่ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2533

2. อุทกภัยจากพายุดีเปรสชั่น เข้าประเทศไทย ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2536

3. อุทกภัยจากพายุซีตา เคลื่อนผ่านประเทศเวียดนามตอนบน และประเทศลาว เข้าสู่ประเทศพม่า ใกล้กับภาคเหนือของประเทศไทย ช่วงวันที่ 23 - 24 สิงหาคม 2540

4. อุทกภัยจากพายุลินดา เข้าประเทศไทยที่ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540

5. อุทกภัยที่จังหวัดสงขลา เนื่องจากฝนตกหนัก ในช่วง 20 - 22 พฤศจิกายน 2543

6. ในปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยเกิดอุทกภัยที่รุนแรงที่สุด หรือที่เรียกกันว่า “มหาอุทกภัย” ซึ่งเกิดจากพายุโซนร้อน “นกเตน” ที่ขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของเวียดนาม ส่งผลให้ เกิด ฝนตกหนักทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทำให้เกิดน้ำท่วม ในหลายจังหวัด ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ในส่วนของภาคเหนือ เมื่อเกิดฝนตกหนักอย่าง ต่อเนื่องประกอบกับมีน้ำป่าไหลหลาก ทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลัน เมื่อน้ำไหลลงสู่ที่ราบภาคกลาง จึงทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะได้รับน้ำปริมาณมาก จากแม่น้ำสาขา เขื่อนจึงมีระดับน้ำใกล้ความจุที่เขื่อนจะสามารถรับได้ ฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก และต่อเนื่อง จึงต้องปล่อยน้ำออกจากเขื่อนภายในเวลาไม่นาน อุทกภัยก็ลุกลามขยายออกไป ก่อให้เกิดความเสียหายทุกภูมิภาคของประเทศ การเกิดอุทกภัยที่รุนแรงครั้งนี้ ทำให้พื้นที่ด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมกว่า 150 ล้านไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ทั้ง ใน 65 จังหวัด 684 อ าเภอ เกิดความเสียหายประชาชนได้รับความ เดือดร้อน 4,086,138 ครัวเรือน ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 12.8 ล้านคน ความสูญเสียที่มีต่อ ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในชาติมีมากมายมหาศาล ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความ เสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท และภัยพิบัติครั้งนี้มีมูลค่าความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับสี่ ของโลก