เรื่องที่ 2 ลักษณะการเกิดภัยแล้ง

สาเหตุและปัจจัยการเกิดภัยแล้ง

จากธรรมชาติ 1) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก 2) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ าทะเล 4) ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย แผ่นดินไหว


จากการกระทำของมนุษย์ 1) การท าลายชั้นโอโซน 2) ผลกระทบของภาวะเรือนกระจก 3) การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม 4) การตัดไม้ทำลายป่า

ประเทศไทย ภัยแล้งเกดิจากสาเหตุหลัก ๆ 4 ประการ

1.ปริมาณฝนตกน้อยเกินไป เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงติดต่อกันเป็นเวลานานหรือ การกระจายน้ าฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี ซึ่งกรณีหลังจะท าให้การขาดแคลนน้ำเป็นบางช่วง หรือบางฤดูกาลเท่านั้น แต่ถ้าหากฝนตกน้อยกว่าอัตราการระเหยของน้ำ ก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิด สภาพการขาดแคลนน้ำที่ต่อเนื่องกันอย่างถาวร

2.ขาดการวางแผนในการใช้น้ำที่ดี เช่น ไม่จัดเตรียมภาชนะหรืออ่างเก็บน้ำ รองรับน้ำฝนที่ตกเพื่อนำไปใช้ในช่วงขาดแคลนน้ำ

3.ลักษณะภูมิประเทศไม่อำนวย จึงทำให้บริเวณนั้นไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ขนาดใหญ่และถาวร หรืออยู่ใกล้ภูมิประเทศลาดเอียงและดินไม่อุ้มน้ำ จึงทำให้การกักเก็บน้ำไว้ใช้ ทำได้ยาก เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

4. พืชพันธุ์ธรรมชาติถูกทำลาย โดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร

ผลกระทบที่เกิดจากภัยแล้ง

1 ด้านเศรษฐกิจ สิ้นเปลืองและสูญเสียผลผลิตด้านเกษตร ปศุสัตว์ ป่าไม้ การประมง เศรษฐกิจทั่วไป เช่น ราคาที่ดินลดลง โรงงานผลิตเสียหาย การว่างงาน สูญเสีย อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


2.ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสัตว์ต่าง ๆ ท ำให้ขาดแคลนน้ำ เกิดโรค กับสัตว์ รวมถึงผลกระทบด้านอุทกวิทยา ทำให้ระดับและปริมาณน้ำลดลง พื้นที่ชุ่มน้ำลดลง ความ เค็มของน้ำเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำในดินเปลี่ยนแปลง คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลง เกิดการกัดเซาะ ของดิน ไฟป่าเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพอากาศและสูญเสียทัศนียภาพ

3.ด้านสังคม เกิดผลกระทบในด้านสุขภาพอนามัย เกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำ และการจัดการคุณภาพชีวิตลดลง

ห้วงเวลาการเกิดภัยแล้ง

ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน ซึ่งเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก จะมีปริมาณฝนลดลง เป็นล าดับ จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้ จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี