เรื่องที่ 2 การเกิดอุทกภัย

ลักษณะการเกิดของอุทกภัย มี 4 ลักษณะ ดังนี้

1. น้ำล้นตลิ่ง เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่อง ปริมาณน้ำจำนวนมากระบายไหลลงสู่แม่น้ำลำธารออกสู่ทะเล ไม่ทัน ทำให้เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมสวน ไร่ นา และ บ้านเรือน ทำให้เกิดความเสียหาย ถนนและสะพานชำรุด เส้นทางคมนาคมถูกตัดขาด

2 .น้ำท่วมฉับพลัน/น้ำป่าไหลหลาก เป็นภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เนื่องจากฝนตกหนัก มักเกิดขึ้นในบริเวณที่ราบระหว่างหุบเขา ซึ่งอาจจะไม่มีฝนตกหนักในบริเวณ นั้นมาก่อนเลย แต่มีฝนตกหนักมากบริเวณต้นน้ำที่อยู่ห่างออกไป หรือเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำพังทลาย ทำให้ถนน สะพาน ชีวิตมนุษย์ และสัตว์ได้รับความเสียหาย

3.คลื่นพายุซัดฝั่ง คือ คลื่นที่เกิดพร้อมกับพายุโซนร้อน เมฆฝนก่อตัว ฝนตก หนัก ลมพัดแรง พื้นที่ชายฝั่งจะมีความกดอากาศต่ำ น้ำทะเลยกตัวสูงกว่าปกติกลายเป็นโดมน้ำขนาดใหญ่ ซัดจากทะเลเข้าชายฝั่งอย่างรวดเร็ว จนสร้างความเสียหายต่อชีวิต อาคารบ้านเรือน และทรัพย์สินบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง

4.น้ำท่วมขัง เป็นน้ำท่วมที่เกิดจากระบบระบายน้ำไม่มีประสิทธิภาพ มักเกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ และบริเวณชุมชนเมืองใหญ่ ๆ มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเกิดจากฝนตกหนักในบริเวณนั้นติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน

สาเหตุและปัจจัยการเกิดอุทกภัยมี 2 ประการ

ผลกระทบที่เกิดจากอุทกภัย

1. ผลกระทบทางด้านการศึกษา สถานศึกษาที่ถูกน้ำท่วมเกิดความเสียหาย เพื่อความปลอดภัยของนักเรียน นักศึกษา และลดปัญหาการเดินทาง ทำให้ต้องปิดการเรียนการสอน ซึ่งจำเป็นต้องมีการสอน ชดเชย หรือการปิดภาคเรียนไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด

2 ผลกระทบทางด้านการเกษตร เมื่อเกิดอุทกภัย จะทำให้ผลผลิตทางด้านการเกษตร เช่น ข้าว พืชไร่ พืชสวน ตลอดจนพืชผลทางการเกษตรทุกชนิดที่ได้รับผลกระทบ ได้รับความเสียหาย ส่วนด้านการประมง การปศุสัตว์ ก็ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น นอกจากนี้เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ จะได้รับ ความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อราคาข้าว พืชไร่ พืชสวน สัตว์น้ำและผลผลิตอื่น ๆ ทำให้การผลิต การขนส่งมีต้นทุนสูงขึ้นกว่าปกติ ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกร ที่ไม่มีเงินทุนสำรองจะต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อลงทุนทำการเกษตรต่อไป

3.ผลกระทบด้านอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอุทกภัย ทำให้เกิดความขัดข้องในการผลิตและการขาดแคลนปัจจัยเพื่อป้อนโรงงานทั่วโลก ประเทศที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย เช่น ญี่ปุ่น ก็ได้รับผลกระทบ ส่งผลให้กำไรของบริษัทลดลงตามไปด้วยรายได้ลูกจ้างในไทยก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการส่งออก เพราะขาด วัตถุดิบในการผลิตสินค้า

4 .ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ จากการขาดวัตถุดิบในการผลิตสินค้า อาจทำให้สินค้าขาดตลาด ประกอบ กับการจัดส่งที่ยากลำบาก จะยิ่งทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและอาจส่งผลกระทบทั่วโลก เพราะไทย เป็นแหล่งผลิตใหญ่ของโลกในปัจจุบัน อุทกภัยยังส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง เนื่องจากความเสียหายทางด้านทรัพย์สินและความสูญเสียจากค่าเสียโอกาส เช่น การผลิต การส่งออก เป็นต้น

5. ผลกระทบด้านการสาธารณสุข เมื่อเกิดน้ำท่วมติดต่อกันยาวนาน มักจะพบกับปัญหาเกิดสิ่งปนเปื้อน ของแหล่งน้ำและโรคที่มากับน้ำ ทำให้เกิดโรคระบาด เช่น โรคตาแดง โรคไข้ฉี่หนู โรคอุจจาระร่วง น้ำกัดเท้า น้ำกัดเล็บ ฯลฯ จึงส่งผลให้ประสบปัญหาการขาดยาและเวชภัณฑ์ รวมถึงสุขภาพจิต ของประชาชนมีเพิ่มขึ้นด้วย

สัญญาณบอกเหตุก่อนเกิดอุทกภัย

1 สัญญาณบอกเหตุจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ โดยธรรมชาติแล้ว เมื่อจะเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง สามารถสังเกต ได้จากสภาพของอากาศร้อนผิดปกติ เกิดฝนตก ฟ้าคะนองอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานาน โดยมี สัญญาณบอกเหตุ ดังนี้

1) ในเวลากลางวัน ถ้ามีเมฆจำนวนมาก ท้องฟ้ามีแสงสีแดง ลมสงบ ผิวน้ำ ทะเลไม่มีระลอกคลื่น เป็นสัญญาณเตือนว่า กำลังจะมีพายุลมแรงและจะมีฝนตกหนักมาก

2) ในเวลากลางคืน ถ้ามองไม่เห็นดวงดาว ท้องฟ้ามีแสงสีแดง ลมสงบ เป็นสัญญาณเตือนว่า ภายในคืนนี้จะมีพายุลมแรงและจะมีฝนตกหนักมาก

3) เวลากลางวันในฤดูร้อน ถ้าอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันสองวัน พอเข้า วันที่สาม มีเมฆมากตามแนวขอบฟ้า ลมสงบ ก้อนเมฆใหญ่ขึ้น สูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นสัญญาณเตือนว่า ตอนเย็นจนถึงใกล้ค่ำจะมีพายุฤดูร้อนจะมีฝนฟ้าคะนองรุนแรง มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าฝ่า ลมกระโชก แรง และอาจจะมีพายุงวง (ลมงวง) ลงมาจากฐานเมฆ

4) ฤดูร้อนในตอนบ่าย ถ้ามีลมค่อนข้างแรงพัดเข้าสู่ภูเขาจนถึงเย็น เป็นสัญญาณเตือนว่า คืนนี้จะมีฝนตกหนัก


2. สัญญาณบอกเหตุจากพฤติกรรมสัตว์ โดยสามารถสังเกตพฤติกรรมได้ ดังนี้

1) ฤดูร้อนปีใด พบรังผึ้ง รังมดแดง ทำรังบนยอดไม้ เป็นสัญญาณเตือนว่า ในหน้าฝนปีนั้นฝนจะน้อย

2) ฤดูร้อนปีใด ไม่พบรังนกบนต้นไม้ หรือนกย้ายไปทำรังตามถ้ า ตามใต้ หน้าผา ซอกเหลือบหินบนภูเขา เป็นสัญญาณเตือนว่า ฤดูฝนปีนั้นจะมีพายุลมแรง ฝนตกหนักมาก

3) ฤดูร้อนปีใด มดที่ขุดรูอาศัยใต้ดิน ขนเอาขุยดินขึ้นมาทำเป็นแนวกันดิน กลม ๆ รอบรูไว้ เป็นสัญญาณว่าฤดูฝนปีนี้ จะมีฝนดี

4) ในช่วงฤดูฝน มดดำขนไข่ อพยพขึ้นไปอยู่ที่สูง เป็นสัญญาณเตือนว่า ภายในสองวัน จะมีฝนตกหนักจนน้ำท่วม

5) ฤดูฝน ถ้าลงไปเก็บหอยในดินโคลนริมฝั่งแม่น้ำ แล้วพบว่าหอยต่าง ๆ ย้ายลงไปอยู่ในแนวร่องน้ำลึกกลางแม่น้ำ เป็นสัญญาณเตือนว่าปีนี้น้ำแล้ง

6) ฤดูฝน ถ้านกนางแอ่นมาเกาะเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า จำนวนมาก เป็น สัญญาณเตือนว่า ในทะเลจะมีพายุลมแรง

พื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดอุทกภัย

1. พื้นที่ลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การแบ่งระดับพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ พิจารณาจาก

1) พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยระดับสูง กำหนดให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยรุนแรงมาก และทำความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนสิ่งก่อสร้าง

2) พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยระดับปานกลาง กำหนดให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย รุนแรงปานกลาง และทำความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนมากแต่ไม่มีการสูญเสียชีวิต

3) พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยระดับต่ำกำหนดให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยรุนแรง น้อย และทำความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนไม่มาก

4) พื้นที่ไม่เสี่ยงอุทกภัย กำหนดให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยไม่รุนแรงและไม่ ทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

2 พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ การแบ่งระดับพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ พิจารณาจาก

1) พื้นที่เสี่ยงจากดินโคลนไหลทับถม มักเป็นพื้นที่บริเวณเชิงเขาที่น้ าป่า ไหลหลากพาดินโคลน หิน ต้นไม้ลงมาทับถม

2) พื้นที่เสี่ยงจากน้ำไหลหลาก เป็นพื้นที่ถัดจากเชิงเขาที่โคลนไหลมา ทับถม คือ มีโคลนน้อยกว่าและค่อนข้างราบกว่าพื้นที่เชิงเขา แต่น้ำป่าไหลหลากผ่านไปอย่าง รวดเร็วพร้อมทั้งมีโคลนบางส่วนตกตะกอน

3) พื้นที่เสี่ยงจากน้ำท่วมขัง เป็นพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำตาปี และแม่น้ำ พุมดวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งระบายน้ำลงสู่ทะเลไม่ทัน

4) พื้นที่เสี่ยงจากน้ าท่วมซ้ำซาก เป็นพื้นที่ที่ประสบกับน้ำท่วมขังเป็น ประจำเกือบทุกปี แต่อาจไม่ท่วมขังตลอดปีหรือเกิดขึ้นปีเว้นปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงฤดูฝน

5) พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นพื้นที่ราบต่ำ มีน้ำท่วมขังหรือมีสภาพชื้นแฉะตลอดเวลา