เรื่องที่ 3 สถานการณ์หมอกควันในประเทศไทย

สถานการณ์หมอกควันในประเทศไทย

ปัญหาหมอกควันในประเทศไทย ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ ในช่วง ฤดูแล้ง (มกราคม-เมษายน) ของทุกปี โดยเฉพาะใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัด เชียงราย พะเยา ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน น่านและแพร่ เนื่องจากในพื้นที่ ทางภาคเหนือจะประสบปัญหาไฟป่า และการลักลอบเผาในที่โล่ง เช่น การเผาเศษวัชพืชและการ เผาเศษวัสดุทางการเกษตร การเผาขยะมูลฝอยและเศษใบไม้ กิ่งไม้ในพื้นที่ชุมชน ประกอบกับ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะและมีภูเขาล้อมรอบ รวมทั้งผลกระทบจากการเผาในพื้นที่ ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มภูมิภาคลุ่มน้ าโขง จึงทำให้เพิ่มความรุนแรงของปัญหายิ่งขึ้น นอกจาก ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนแล้วยังพบว่าในบางพื้นที่ของประเทศ เช่น ยะลา นราธิวาส ปัตตานี สงขลา ฯลฯ ประสบปัญหาหมอกควันเช่นเดียวกัน โดยเกิดจากปัญหาหมอกควันข้ามแดนจากไฟป่า ในเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในประเทศ อินโดนีเชียแล้ว ปัญหาหมอกควันข้ามแดนยังส่งผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และประเทศไทยด้วย

1. สถานการณ์หมอกควันในภาคเหนือ

จากข้อมูลการเฝ้าระวังค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ของกรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (http://aqnis.pcd.go.th) ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 30 เมษายน 2559 ข้อมูลจากแยกตามจุดตรวจวัด 17 แห่ง พบว่ามีค่าสูงเกินมาตรฐาน (ค่ามาตรฐานเท่ากับ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) อยู่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 30 เมษายน 2559 จังหวัดที่มีจำนวนวันของค่าฝุ่นละออง PM10 เกินค่ามาตรฐานสูงสุด เรียงตามลำดับ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย มีค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานสูงสุด เท่ากับ 319 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 รองลงมาได้แก่ จังหวัด แม่ฮ่องสอน มีค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานสูงสุดเท่ากับ 264 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อ วันที่ 24 มีนาคม 2559 และจังหวัดน่าน มีค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานสูงสุดเท่ากับ 238 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 จุดตรวจวัดที่มีจำนวนวันที่มีค่าฝุ่นละออง PM10 เกินค่ามาตรฐานสูงสุด ในช่วงระยะเวลา 1 มกราคม - 30 เมษายน 2559 มากที่สุด คือ ที่จุดตรวจวัดที่ ต าบลเวียงพางคำอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีจำนวนวันที่มีค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน 38 วัน รองลงมาคือจุดตรวจวัดที่ ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจำนวนวันที่มีค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน 25 วัน และที่จุดตรวจวัด ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนวันที่มีค่าฝุ่นละออง เกินค่ามาตรฐาน 23 วัน


2 .สถานการณ์หมอกควันในภาคใต้

สาเหตุหลักของปัญหาหมอกควันภาคใต้ ได้แก่ มลพิษหมอกควันข้ามแดน และหมอกควันจากการเผาพื้นที่พรุในภาคใต้ของไทย เช่น ในเดือนมิถุนายน 2556 จังหวัด ในภาคใต้ตอนล่างฝั่งอ่าวไทย ได้รับผลกระทบจากหมอกควันข้ามแดนอันมีสาเหตุจากการเผาป่า และพื้นที่เกษตรบริเวณตอนกลางของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดหมอกควัน ปกคลุมหนาแน่น ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดควันที่เกิดขึ้นไปยังช่องแคบมะละกา ประเทศ สิงคโปร์ มาเลเซีย ทะเลจีนใต้ และภาคใต้ของประเทศไทย โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมาก คือ จังหวัดสงขลา และนราธิวาส ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในจังหวัดนราธิวาส สูงสุด 129 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2556 ซึ่งสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน และอยู่ใน ระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ หลังจากวันที่ 26 มิถุนายน 2556 มีฝนตกทั้งในพื้นที่ไฟไหม้บริเวณ ตอนกลางของเกาะสุมาตรา และหลายจังหวัดในภาคใต้ตอนล่าง รวมทั้งจังหวัดนราธิวาส ทำให้ ปริมาณหมอกควันเริ่มลดลงตามลำดับ จนคุณภาพอากาศในทุกสถานีตรวจวัดของภาคใต้กลับเข้าสู่ ระดับปกติ