เรื่องที่ 2 ลักษณะการเกิดวาตภัย

สาเหตุและปัจจัยการเกิดวาตภัย

สภาพพื้นผิวโลกแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน ทำให้การดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์ ของแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน บริเวณป่าหนาทึบจะดูดรังสีได้ดีที่สุด รองลงมา คือ พื้นดินและพื้นน้ำ ตามลำดับ เป็นผลให้อากาศที่อยู่เหนือพื้นที่ดังกล่าว มีอุณหภูมิและความกดอากาศต่างกัน ส่งผล ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศที่เรียกโดยทั่วไปว่า “ลม” ซึ่งแบ่งตามลักษณะของแหล่งกำเนิด ได้ 2 สาเหตุ คือ ความแตกต่างของอุณหภูมิสองแห่ง และความแตกต่างของความกดอากาศ

1. ความแตกต่างของอุณหภูมิสองแห่ง อากาศเมื่อได้ความร้อนจะขยายตัว อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น ทำให้อากาศในบริเวณข้างเคียงซึ่งมีอุณหภูมิต่ ากว่าเคลื่อนเข้าแทนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศเนื่องจากความแตกต่างของอุณหภูมิในสองบริเวณก่อให้เกิดลม

2.ความแตกต่างของความกดอากาศ อากาศเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว ทำให้มีความหนาแน่นลดลง เป็นผลให้ความกดอากาศน้อยลง อากาศเย็นในบริเวณใกล้เคียงซึ่งมี ความหนาแน่นมากกว่าจะเคลื่อนที่เข้ามาบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ การเคลื่อนที่ของอากาศ เนื่องจากบริเวณที่มีความกดอากาศต่างกันก่อให้เกิดลม

ผลกระทบจากวาตภัย

1.เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนหลายหลังพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

2. พืชผลที่ปลูกไว้และที่นาหลายหมื่นไร่ได้รับความเสียหาย

3 .ความเสียหายต่อกิจการขนส่ง ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางเรือ ดังนี้

1) ทางบก การเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง ทำให้ถนนและสะพานขาดหรือ ชำรุด กิจการขนส่งต้องหยุดชะงัก รัฐต้องเสียงบประมาณเพื่อก่อสร้างและซ่อมแซมเป็นจำนวนมาก

2) ทางอากาศ พายุที่พัดอย่างรุนแรงจะทำให้เครื่องบินได้รับอันตราย จากฝนที่ตกหนัก ลูกเห็บและฟ้าผ่าที่เกิดขึ้น อาจทำให้เครื่องบินตกได้

3) ทางเรือ การเกิดพายุขึ้นในทะเล ทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ และความ แรงของพายุท าให้เรืออับปางได้ ดังนั้น เมื่อเกิดพายุรุนแรงขึ้นในท้องทะเลจะต้องหยุดการเดินเรือ

พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดวาตภัยในประเทศไทย

1 .พื้นที่เสี่ยงวาตภัยระดับสูง เป็นพื้นที่ที่อยู่ในรัศมี 50 กิโลเมตร จากแนว ศูนย์กลางการเคลื่อนที่ของพายุ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบต่ า อยู่ใกล้แถบชายฝั่งทะเลหรือพื้นที่เกาะ

2 .พื้นที่เสี่ยงวาตภัยระดับปานกลาง เป็นพื้นที่อยู่ในแนวรัศมี 50-100 กิโลเมตร จากแนวศูนย์กลางพายุ สภาพพื้นที่เป็นที่ลอนลาดและที่ราบเชิงเขา สภาพการใช้ ประโยชน์มักจะเป็นพื้นที่เกษตรเป็นส่วนใหญ่

3. พื้นที่เสี่ยงวาตภัยระดับต่ า เป็นพื้นที่อยู่นอกแนวรัศมี 100 กิโลเมตร จากศูนย์กลางการเคลื่อนที่ของพายุ สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงเป็นส่วนใหญ่ ความเสียหายจึงเกิดขึ้น ไม่มาก