เรื่องที่ 1 ความหมายของวาตภัย

ความหมายของวาตภัย

วาตภัย หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นจากพายุ ลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายและเป็น อันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน อาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้าง รวมถึงต้นไม้ พืชผักต่าง ๆ นอกจากนี้ยัง ทำให้เกิดอุทกภัยตามมาอีกด้วย

ประเภทของวาตภัย

ในประเทศไทยการเกิดวาตภัยหรือพายุลมแรง ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ความแรงลม ตั้งแต่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป ที่ทำความเสียหาย และเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน วาตภัยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ พายุฟ้าคะนอง พายุหมุน เขตร้อน และพายุทอร์นาโด

1. พายุฟ้าคะนอง หรือพายุฤดูร้อน ส่วนมากจะเกิดขึ้นระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน พายุประเภทนี้เกิดขึ้นบ่อยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาค กลางและภาคตะวันออกจะเกิดน้อย สำหรับภาคใต้ก็อาจเกิดพายุประเภทนี้ได้ แต่ไม่บ่อยนัก การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองในแต่ละครั้ง จะใช้เวลาประมาณ 2 - 4 ชั่วโมง โดยเริ่มจากอากาศร้อน อบอ้าว ท้องฟ้ามืดมัว อากาศเย็น ลมกระโชกแรง และมีกลิ่นดิน ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง ฝนตกหนัก และเกิดรุ้งกินน้ำ

2 .พายุหมุนเขตร้อนหรือพายุไซโคลน เกิดในฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม พายุนี้เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเเละด้านใต้ หรือทะเลจีนใต้ แล้วเคลื่อนเข้าสู่ฝั่งงทวีป โดยจะมีผลกระทบต่อลม ฟ้า อากาศของประเทศไทย คือ ทำให้เกิดคลื่น สูงใหญ่ในทะเล และน้ำขึ้นสูง พายุนี้มีชื่อเรียกตามขนาดความรุนแรงของลมใกล้บริเวณศูนย์กลาง ของพายุ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับตาเป็นวงกลม เรียกว่า "ตาพายุ" ที่ทวีก าลังแรงขึ้นเป็นลำดับ จากดีเปรสชั่นเป็นพายุโซนร้อน และพายุไต้ฝุ่น โดยใช้เกณฑ์พิจารณาความรุนแรงของพายุ

3. พายุทอร์นาโด เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่ เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่า พายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายรุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบกและในทะเล หากเกิด ในทะเล เรียกว่า “นาคเล่นน้ า” บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า ที่หมุนตัวลงมาจากท้องฟ้า แต่ไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า “ลมงวง”