เรื่องที่ 3 สถานการณ์วาตภัย

สถานการณ์วาตภัยในประเทศไทย

พายุหมุนเขตร้อนที่มีอิทธิพลต่อลักษณะอากาศในประเทศไทย มักมาจากทะเล จีนใต้ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน พายุหมุนเขตร้อนนี้ แม้มีความ รุนแรงระดับพายุไต้ฝุ่นขณะอยู่ในทะเลจีนใต้ แต่มักจะอ่อนก าลังลงเมื่อขึ้นฝั่ง เนื่องจากการสูญเสีย พลังงานและอิทธิพลจากความฝืดของพื้นทวีป ดังนั้น พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย และมีอิทธิพลโดยตรง จึงมักเป็นเพียงพายุดีเปรสชั่น ที่มีอัตราเร็วลมไม่รุนแรงมาก และส่งผลให้ฝนตก ไม่หนักมาก แต่ต่อเนื่องเป็นบริเวณกว้าง พายุหมุนเขตร้อนที่พัดเข้าสู่ประเทศไทย และก่อความ เสียหายอย่างมากมายต่อทรัพย์สินและชีวิตของประชาชน ที่รู้จักกันดีมีอยู่ 2 ลูก ได้แก่ พายุโซนร้อน “แฮร์เรียต” และพายุไต้ฝุ่น “เกย์”

พายุ “แฮร์เรียต” เป็นพายุโซนร้อนลูกแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ที่มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพายุอย่างเป็นทางการ พายุนี้เริ่มก่อตัวจาก หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลจีนใต้ ใกล้ปลายแหลมญวน ในวันที่ 24 ตุลาคม 2505 จากนั้นค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่อ่าวไทย และมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่น อยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา ประมาณ 200 กิโลเมตร ในตอนเช้าของวันที่ 25 ตุลาคม 2505 ก่อนจะค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทวีกำลังแรงเพิ่มขึ้นเป็นพายุโซนร้อน เมื่อขึ้นฝั่งบริเวณแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในเวลาประมาณ 19.00 น. ของวันเดียวกัน โดยความเร็วลมสูงสุด วัดได้ที่สถานีตรวจอากาศนครศรีธรรมราช สูงถึง 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากลมที่พัดแรงแล้ว พายุลูกนี้ยังพัดคลื่นทะเลซัดเข้าฝั่ง ทำให้น้ำทะเลหนุนเข้าอ่าวปากพนัง พัดพาบ้านเรือนราษฎรเสียหายอย่างมาก มีผู้เสียชีวิตกว่า 900 คน

พายุไต้ฝุ่น “เกย์” เป็นพายุหมุนเขตร้อน ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยลูกแรก ที่มีความรุนแรง ถึงระดับพายุไต้ฝุ่น พายุนี้เริ่มก่อตัวเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2532 ในบริเวณตอน ใต้ของอ่าวไทย และเคลื่อนตัวขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือค่อนไปทางเหนือ เดิมพายุลูกนี้มีทิศทางมุ่งเข้าหาฝั่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาในตอนเช้าของวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 พายุนี้ได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนถึงระดับพายุไต้ฝุ่น และเปลี่ยนทิศทางไปทางเหนือ และเคลื่อน ตัวผ่านฐานขุดเจาะน้ำมันของบริษัทยูโนแคลในอ่าวไทยทำให้เรือขุดเจาะชื่อ “ซีเครสต์” (Sea Crest) พลิกคว่ำมีเจ้าหน้าที่ประจำเรือเสียชีวิต 91 คน พายุไต้ฝุ่น “เกย์” ทวีกำลังแรง เพิ่มขึ้น ด้วยอัตราความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุ 100 นอต ก่อนเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่บริเวณรอยต่อระหว่าง อำเภอปะทิวกับอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ในตอนเช้าของวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 ปรากฏว่า นอกจากทำให้มีผู้เสียชีวิต และทำความเสียหายอย่างมากในพื้นที่จังหวัดชุมพร และ ประจวบคีรีขันธ์ โดยมีน้ำท่วมและดินถล่มในหลายพื้นที่แล้ว พายุนี้ยังส่งผลกระทบต่อจังหวัด ใกล้เคียงตามชายฝั่งอ่าวไทย รวมทั้งจังหวัดตามชายฝั่งทะเลตะวันออกด้วย มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คน สูญหายกว่า 400 คน ทรัพย์สินของทางราชการและเอกชนเสียหายไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท เรือกสวน ไร่ นาเสียหายกว่า 9 แสนไร่ เรือประมงจมลงสู่ใต้ท้องทะเลประมาณ 500 ลำ ศพลูกเรือ ลอยเกลื่อนทะเล และสูญหายไปเป็นจำนวนมาก นับเป็นการสูญเสียจากพายุไต้ฝุ่นครั้งใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทย

สถิติการเกิดวาตภัยในประเทศไทย

1. พายุหมุนเขตร้อนในทะเลจีนใต้หรืออ่าวไทย เกิดในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคมถึงตุลาคม หรือพฤศจิกายน ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ปรากฏไม่มากนัก อาจมีเพียง 1 - 2 ลูก แต่ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน อาจมีพายุถึง 3 - 4 ลูก พายุที่เกิด ในช่วงนี้มักจะขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนาม แล้วค่อย ๆ อ่อนกำลังลงตามลำดับ ไม่มีอันตรายจาก ลมแรง แต่พายุที่เกิดในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ส่วนใหญ่จะผ่านมาทางตอนใต้ของปลาย แหลมญวน หากเป็นพายุใหญ่จะเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทย อาจทำ ให้เกิดความเสียหายได้ เช่น พายุ เขตร้อน “แฮร์เรียต” และพายุไต้ฝุ่น “เกย์” เป็นต้น

2. พายุหมุนเขตร้อนในทะเลอันดามัน เกิดได้ใน 2 ช่วงเวลาของปี คือ ช่วงที่ 1 ในเดือนเมษายน ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ช่วงที่ 2 ในกลางเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม พายุหมุน เขตร้อนที่เข้าสู่ประเทศไทย เฉลี่ยปีละประมาณ 3 ลูก