เรื่องที่ 4 แนวทางการป้องกันและการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากวาตภัย

1. การเตรียมการก่อนเกิดวาตภัย

2.ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดวาตภัย

3. การแก้ไขปัญหาหลังจากเกิดวาตภัย

หลังจากลมสงบแล้ว ต้องรออย่างน้อย 3 ชั่วโมง หากพ้นระยะนี้แล้วไม่มีลมแรง เกิดขึ้นอีก จึงจะวางใจได้ว่าพายุผ่านพ้นไปแล้ว เพราะเมื่อศูนย์กลางพายุผ่านไปแล้ว จากนั้น จะต้องมีลมแรงและฝนตกหนัก อีกประมาณ 2 ชั่วโมง เมื่อแน่ใจว่าปลอดภัยแล้วจึงปฏิบัติ ดังนี้

1 .หากมีผู้บาดเจ็บให้รีบช่วยเหลือและนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ที่ใกล้เคียงให้เร็วที่สุด

2. ต้นไม้ใกล้จะล้มให้รีบจัดการโค่นล้มลงเสีย มิฉะนั้นจะหักโค่นล้มภายหลัง

3. ถ้ามีเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟขาดอย่าเข้าใกล้ หรือแตะต้องเป็นอันขาด ให้ทำเครื่องหมายแสดงอันตราย และแจ้งเจ้าหน้าที่หรือช่างไฟฟ้าโดยด่วน อย่าแตะต้องโลหะที่เป็น สื่อไฟฟ้า

4 .เมื่อปรากฏว่าท่อประปาแตกที่ใด ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่มาแก้ไขโดยด่วน

5 .อย่าเพิ่งใช้น้ำประปา เพราะน้ำอาจไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากท่อแตกหรือน้ำท่วม ถ้าใช้น้ำประปาขณะนั้นมาดื่ม อาจจะเกิดโรคได้ ให้ใช้น้ำที่ส ารองไว้ก่อนเกิดวาตภัยมาดื่มแทน

6. ปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนี้ 1) การควบคุมโรคติดต่อที่อาจเกิดระบาดได้ 2) การท าน้ำให้สะอาด เช่น ใช้สารส้ม และใช้คลอรีน 3) ก าจัดอุจจาระ โดยใช้ปูนขาว หรือน้ำยาไลโซล 5% ก าจัดกลิ่นและฆ่า เชื้อโรค ก าจัดพาหะน าโรค เช่น ยุง และแมลงวัน โดยใช้ฆ่าแมลง 4) โรคต่าง ๆ ที่มักเกิดหลังวาตภัย ได้แก่ โรคระบบหายใจ (เช่น หวัด เป็นต้น) โรคติดเชื้อ และปรสิต (เช่น การอักเสบ มีหนอง โรคฉี่หนู เป็นต้น) โรคผิวหนัง (เช่น โรคน้ำกัดเท้า กลาก เป็นต้น) โรคระบบทางเดินทางอาหาร (เช่น โรคอุจจาระร่วง) ภาวะทางจิต (เช่น ความเครียด เป็นต้น)