เรื่องที่ 2 การเกิดดินโคลนถล่ม

1. ประเภทของดินโคลนถล่ม

ดินโคลนถล่ม มีองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งจากส่วนประกอบของดิน ความเร็ว กลไกในการเคลื่อนที่ ชนิดของตะกอน รูปร่างของรอยดินถล่ม ปริมาณของน้ำที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ดินโคลนถล่มมี 5 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1.1 การถล่มแบบร่วงหล่น มักจะเป็นก้อนหินทั้งก้อนใหญ่และก้อนเล็ก ลักษณะอาจตกลงมาตรง ๆ หรือตกแล้วกระดอนลงมาหรืออาจกลิ้งลงมาตามลาดเขาก็ได้

1.2 การถล่มแบบล้มคว่ำ มักจะเกิดกับหินที่เป็นแผ่นหรือเป็นแท่งหินที่แตก และล้มลงมา

1.3 การถล่มแบบการเลื่อนไถล เป็นการเคลื่อนตัวของดินหรือหินจากที่สูง ไปสู่ที่ลาดต่ำอย่างช้า ๆ แต่หากถึงที่ที่มีน้ำชุ่ม หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง การเคลื่อนที่อาจเร็วขึ้น

1.4 การไหลของดิน เกิดจากดินชุ่มน้ำมากเกินไป ทำให้เกิดดินโคลนไหลลงมา ตามที่ลาดชัน โดยการไหลของดินแบบนี้ ดินไหลอาจพัดพาเศษทราย ต้นไม้ โคลน หรือแม้กระทั่ง ก้อนหินเล็ก ๆ ลงมาด้วย และหากการไหลของดินพัดผ่านเข้ามาหมู่บ้านก็อาจทำให้เกิดความ เสียหายร้ายแรงได้

1.5 การถล่มแบบแผ่ออกไปด้านข้าง มักเกิดในพื้นที่ที่ลาดชันน้อยหรือพื้นที่ ค่อนข้างราบ โดยเกิดจากดินที่ชุ่มน้ำมากเกินไปทำให้เนื้อดินเหลว และไม่เกาะตัวกันจนแผ่ตัว ออกไปด้านข้าง ๆ โดยเฉพาะด้านที่มีความลาดเอียงหรือต่ำกว่า

2. สาเหตุและปัจจัยการเกิดดินโคลนถล่ม

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดดินโคลนถล่ม มี 2 สาเหตุ คือ

1) สาเหตุที่เกิดตามธรรมชาติ เช่น

(1) โครงสร้างของดินที่ไม่แข็งแรง

(2) พื้นที่มีความลาดเอียงและไม่มีต้นไม้ยึดหน้าดิน

(3) การเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักและตกนาน ๆ

(4) ฤดูกาล โดยเฉพาะฤดูฝน มีส่วนทำให้เกิดการอ่อนตัวและดินถล่ม

(5) ความแห้งแล้งและไฟป่าทำลายต้นไม้ยึดหน้าดิน

(6) การเกิดแผ่นดินไหว

(7) การเกิดคลื่นสึนามิ

(8) การเปลี่ยนแปลงของน้ าใต้ดิน

(9) การกัดเซาะของฝั่งแม่น้ าหรือฝั่งทะเล

2) สาเหตุที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์

(1) การขุดไหล่เขาทำให้ไหล่เขาชันมากขึ้น

(2) การดูดทรายจากก้นแม่น้ำลำคลอง ทำให้แม่น้ำลำคลองลึกลง ตลิ่งชันมากขึ้น ทำให้ดินถล่มได้

(3) การขุดดินลึก ๆ ในการก่อสร้างอาจทำให้เกิดดินด้านบนโดยรอบ เคลื่อนตัวลงมายังหลุมที่ขุดได้

(4) การบดอัดดินเพื่อการก่อสร้างก็อาจทำให้ดินข้างเคียงเคลื่อนตัว

(5) การสูบน้ำใต้ดิน น้ำบาดาลที่มากเกินไปทำให้เกิดโพรงใต้ดินหรือ การอัดน้ำลงในดินมากเกินไป ก็ทำให้โครงสร้างดินไม่แข็งแรงได้

(6) การถมดินบนสันเขาก็เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้ดินเมื่อมีฝนตกหนัก อาจทำให้ดินถล่มได้

(7) การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ไม่มีต้นไม้ยึดเกาะหน้าดิน

(8) การสร้างอ่างเก็บน้ำบนภูเขา ก็เป็นการเพิ่มน้ำหนักบนภูเขา และยังทำให้น้ำซึมลงใต้ดินจนเสียสมดุล

(9) การเปลี่ยนทางน้ำตามธรรมชาติ ทำให้ระบบน้ำใต้ดินเสียสมดุล

(10) น้ าทิ้งจากอาคารบ้านเรือน สวนสาธารณะ ถนนหนทางบนภูเขา

(11) การกระเทือนอย่างรุนแรง เช่น การระเบิดหิน การระเบิดดิน การขุดเจาะน้ำบาดาล การขุดดินเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำ เขื่อน ฝายกั้นน้ำ เป็นต้น

ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดดินโคลนถล่ม ดินโคลนถล่มที่เกิดขึ้นในประเทศ ไทย เกิดจากปัจจัยหลัก 4 ประการ คือ

1) สภาพธรณีวิทยา โดยปกติชั้นดินที่เกิดการถล่มลงมาจากภูเขา เป็นชั้น ดินที่เกิดจากการผุกร่อนของหินให้เกิดเป็นดิน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของหินและโครงสร้างทาง ธรณีวิทยา

2) สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศที่ทำให้เกิดดินถล่มได้ง่าย ได้แก่ ภูเขาและพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง หรือมีทางน้ าคดเคี้ยวจำนวนมาก นอกจากนั้นยังพบว่า ลักษณะ ภูมิประเทศที่เป็นร่องเขาด้านหน้ารับน้ำฝน และบริเวณที่เป็นหุบเขากว้างใหญ่สลับซับซ้อนแต่มีลำน้ำหลักเพียงสายเดียว จะมีโอกาสเกิดดินโคลนถล่มได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น ๆ

3) ปริมาณน้ำฝน ดินโคลนถล่มจะเกิดขึ้นเมื่อฝนตกหนักหรือตกต่อเนื่อง เป็นเวลานาน น้ำฝนจะไหลซึมลงไปในชั้นดิน จนกระทั่งชั้นดินอิ่มตัวด้วยน้ำทำให้ความดันของน้ำ ในดินเพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มความดันในช่องว่างของเม็ดดิน ดันให้ดินมีการเคลื่อนที่ลงมาตามลาดเขา ได้ง่ายขึ้น และนอกจากนี้แล้วน้ำที่เข้าไปแทนที่ช่องว่างระหว่างเม็ดดินทำให้แรงยึดเกาะระหว่าง เม็ดดินลดน้อยลง ส่งผลให้ดินมีกำลังรับแรงต้านทานการไหลของดินลดลง

4) สภาพสิ่งแวดล้อม สภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป อาจท าให้เกิด ดินโคลนถล่มได้ โดยพบว่า พื้นที่ที่เกิดดินโคลนถล่มมักเป็นพื้นที่ภูเขาสูงชัน ที่มีการเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น (1) พื้นที่ต้นน้ำลำธาร ป่าไม้ ถูกทำลายในหลาย ๆ จุด (2) การบุกรุกทำลายป่าไม้เพื่อทำไร่และทำการเกษตรบนที่สูง (3) รูปแบบการทำเกษตร เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพป่าเป็นสวน ยางพารา โดยเฉพาะต้นยางที่ยังมีขนาดเล็กอยู่ และการปลูกยางถุง ซึ่งรากแก้วไม่แข็งแรง (4) การใช้ประโยชน์ที่ดิน การตัดถนนผ่านไหล่เขาสูงชัน หรือการตัด ไหล่เขาสร้างบ้านเรือน (5) การปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ เช่น สะพานที่มีเสา สะพานอยู่ในทางน้ำ

3.ผลกระทบจากดินโคลนถล่ม

วิธีสังเกตดินโคลนถล่ม