เรื่องที่ 1 ความหมายของเซต

เซต(Set)

1.1 ความหมายของเซต

เซต หมายถึง กลุ่มสิ่งของต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของหรือนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งระบุสมาชิกในกลุ่มได้

ยกตัวอย่าง เซต เช่น 1) เซตของวิทยาลัยเทคนิคในประเทศไทย

2) เซตของพยัญชนะในคําว่า “คุณธรรม”

3) เซตของจํานวนเต็ม

4) เซตของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวดัสกลนคร

เรียกสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในเซตว่า “สมาชิก” ( Element ) ของเซตนั้น เช่น

1) วิทยาลัยเทคนิคดอนเมืองเป็นสมาชิกเซตวิทยาลัยเทคนิคในประเทศไทย

2) “ร” เป็นสมาชิกเซตพยัญชนะในคําว่า “คุณธรรม”

3) 5 เป็นสมาชิกของจํานวนเต็ม

4) โรงเรียนดงมะไฟวิทยาเป็นสมาชิกเซตโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัด สกลนคร


1.2 วิธีการเขียนเซต

การเขียนเซตเขียนได้ 2 แบบ

1. แบบแจกแจงสมาชิกของเซต โดยเขียนสมาชิกทกุตัวของเซตลงในเครื่องหมายวงเล็บ ปากกาและใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นระหว่างสมาชิกแต่ละตัวนั้น

ตัวอย่างเช่น A = {1, 2, 3, 4, 5}

B = { a, e, i, o, u}

C = {...,-2,-1,0,1,2,...}

2. แบบบอกเงื่อนไขของสมาชิกในเซต โดยใช้ตัวแปรแทนสมาชิกของเซต และบอก สมบัติของสมาชิกในรูปของตัวแปร

ตัวอย่างเช่น A = { x | x เป็นจํานวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5}

B = { x | x เป็นสระในภาษาอังกฤษ}

C = {x | x เป็นจํานวนเต็ม}


สัญลักษณ์เซต

โดยทั่ว ๆ ไป การเขียนเซตหรือการเรียกชื่อของเซตจะใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ได้แก่ A , B , C , . . . , Y , Z เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงเมื่อเขียนหรือกล่าวถึงเซต นั้น ๆ ต่อไป สําหรับสมาชิกในเซตจะเขียนโดยใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก

1.3 ชนิดของเซต

1.3.1 เซตว่าง ( Empty Set or Null Set )

1.3.2 เซตจำกัด (Finite Set)

ตัวอย่างเช่น A = { 1 , 2 , {3} } มีจํานวนสมาชกิ 3 ตัว หรือ n(A) = 3

B = { x | x เป็นจํานวนเต็มและ 1 ≤ x ≤ 100 } มีจํานวนสมาชิก 100 ตัว หรือ n(B) = 100

C = { x | x เป็นจํานวนเต็มที่อยู่ระหว่าง 0 กับ 1 }

ดังนั้น C เป็นเซตว่าง มีจํานวนสมาชกิ 0 ตัว หรือ n(C) = 0

D = { 1 , 2 , 3 , . . . , 99 } มีจํานวนสมาชิก 99 ตัว หรือ n(D) = 99

E = { x | x เป็นวันในหนึ่งสัปดาห์ } มีจํานวนสมาชิก 7 ตัว หรือ n(E) = 7 หมายเหตุ จํานวนสมาชิกของเซต A เขียนแทนด้วย n(A)

1.3.3 เซตอนันต์ (Infinite Set)

ตัวอย่างเช่น A = { -1 , -2 , -3 , … }

B = { x | x = 2n เมื่อ n เป็นจํานวนนับ }

C = { x | x เป็นจํานวนจริง }

T = { x | x เป็นจํานวนนับ }

1.3.4 เซตที่เท่ากัน (Equal Set)

เซตสองเซตจะเท่ากันก็ต่อเมื่อทั้งสองเซตมีสมาชิกอย่างเดียวกัน และจำนวนเท่ากัน

ถ้าสมาชิกตัวใดตัวหนึ่งของเซต A ไม่เป็นสมาชิกของเซต B หรือสมาชิกบางตัวของเซต B ไม่เป็นสมาชิกของเซต A เซต A ไม่เท่ากับเซต B เขียนแทนด้วย A ≠ B

ตัวอย่างเช่น A = { 0 , { 1,2 } }

B = { { 2 ,1 } , 0 }

ดังนั้น A = B

1.3.5 เซตที่เทียบเท่ากัน ( ( Equivalentl Sets )

เซตที่เทียบเท่ากัน คือ เซตที่มีจํานวนสมาชิกเท่ากันและสมาชิกของเชตจับคู่กันได้พอดี แบบหนึ่งต่อแบบหนึ่ง สัญลักษณ์ เชต A เทียบเท่ากับเชต B แทนด้วย A ↔ B

ตัวอย่างเช่น A = { 1 , 2 , 3 }

B = { 4 , 5 , 6 }

จะเห็นว่า จํานวนสมาชิกของเซต A เท่ากับจาํนวนสมาชิกของ B ดังนั้น A ↔ B

C = { xy , ab }

D = { 0 , 1 }

ดังนั้น C ~ D เพราะจํานวนสมาชิกเท่ากัน

เซต ม.4 EP.1_5 ความหมายของเซต เซตว่าง - www.theorendatutor_com.mp4
เซต ม.4 EP.2_5 เอกภพสัมพัทธ์ เซตจำกัด เซตอนันต์ การเท่ากันของเซต - www.theorendatutor_com.mp4

คลิปวีดีโอเสริมความเข้าใจนะจ๊ะ