แหล่งโบราณคดี
ที่พบในไทย

แหล่งโบราณคดีที่พบในไทย


แหล่งโบราณคดียุคต้นประวัติศาสตร์ในแผ่นดินไทยนั้น พบว่าเมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
มนุษย์ได้สร้างชุมชนเมืองขึ้น ซึ่งได้ค้นพบหลักฐานว่ามีคันดินคูน้ำรอบเมืองเกิดขึ้นในแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง
ได้แก่ บ้านโคกพลับ ในเขตตำบลโพธิ์หัก จังหวัดราชบุรี บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอทองแสนขัน จังหวัด อุตรดิตถ์ เป็นต้น


ชุมชนในแหลมทองยุคต้นประวัติศาสตร์มีการติดต่อค้าขายกันทั้งทางบกและน้ำ ทำให้มีการติดต่อกัน
ระหว่างโรมัน ตะวันออกกลาง อินเดีย และจีน โดยใช้เรือใบ ทำให้ดินแดนไทยบางส่วนกลายเป็นเมืองท่า เช่น
ชุมชนดอนตาเพชร ที่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ชุมชนบ้านชีทวนที่อุบลราชธานี
ชุมชนเขาสามแก้วที่ชุมพร ชุมชนควนลูกปัดที่กระบี่ ชุมชนยะรังที่ปัตตานี และชุมชนคูบัวที่ราชบุรี เป็นต้น


เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐-๒,๕๐๐ ปี มนุษย์ได้พากันตั้งชุมชนหมู่บ้านขึ้นในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทยในปัจจุบัน ผู้คนกลุ่มนี้มีความสามารถในการหล่อเครื่องประดับและเครื่องใช้
ที่ทำด้วยแก้วสำริด และเหล็ก เช่นลูกปัด กำไลแขน ขวานและหอกเป็นต้น และชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลนั้น
ได้มีการเจริญเติบโตขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการติดต่อกันกับชุมชนอื่นๆที่อยู่ห่างไกล เช่น จีน เวียดนาม กัมพูชา
อินเดีย อินโดนีเชีย พม่า เป็นต้น


ในยุคพุทธกาล ประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ปรากฏหลักฐานว่ามี ชุมชนหมู่บ้านในบริเวณของอำเภอพิมาย
และบ้านธารปราสาท จังหวัดนครราชสีมา จากการค้นพบหลุมฝังศพของมนุษย์และเครื่องปั้นดินเผาชนิด “พิมายดำ”
ที่ใช้สำหรับใช้บรรจุเครื่องบูชาศพอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังพบแหล่งแร่ทองแดงโบราณขนาดใหญ่ ที่ภูโล้นและภูทองแดง
ในอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ที่เขาวงพระจันทร์ เขาผาแดง ห้วยโป่ง เขาพุคาและเขาทับควาย ในอำเภอโคกสำโรง
จังหวัดลพบุรี พบแหล่งตะกั่วและสังกะสีโบราณที่ ภูลวก จังหวัดเลย พบแหล่งถลุงดีบุก ที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
พบขวานสำริด กำไลและเครื่องประดับสำริด ที่หล่อด้วยวิธีไล่ขี้ผึ้ง (Lost Wax Process) ที่บ้านโนนนกทา อำเภอภูเวียง
จังหวัดขอนแก่น พบแหวนสำริด ที่บ้านปากบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี พบทองแดงแท่งและแม่พิมพ์ดินเผา
สำหรับหล่อขวาน แหวนและกำไลทองแดง อายุราว ๑,๗๐๐ ปี ที่อ่างเก็บน้ำนิลกำแหง ศูนย์การบินทหารบก จังหวัดลพบุรี
และที่บ้านดงพลอง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พบหลักฐานการขุด ถลุงแร่ และเบ้าหลอมทองแดงโบราณที่เขาวงพระจันทร์
และบ้านท่าแคจังหวัดลพบุรี ที่ภูโล้น จังหวัดหนองคาย บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีและที่โนนป่าหวาย อำเภอโคกสำโรง
จังหวัดลพบุรี(เป็นแหล่งโลหะโบราณขนาดใหญ่) มีการพบเตาถลุงแร่และหล่อโลหะสำริดโบราณด้วยวิธีไล่ขี้ผึ้ง
อายุประมาณ ๑,๙๐๐ ปี ที่บ้านนาดี อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ทั้งยังได้พบกลองมโหระทึกสำริด
ที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร และ ที่อุตรดิตถ์อีกด้วย


การพบเหมืองแร่เหล็กและแหล่งถลุงเหล็กโบราณ ที่เขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบเครื่องมือเหล็ก
เตาถลุงเหล็กและทองแดงโบราณ อายุราว ๒,๕๐๐ ปี ที่บ้านถลุงเหล็ก บ้านโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี และบริเวณ
เมืองพรหมทิน(อยู่ที่ตำบลหลุมข้าว อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี) ซึ่งประกอบด้วยบ้านห้วยโป่ง (หล่อทองแดง)
บ้านดีลัง (มีการถลุงเหล็กต่อเนื่อง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11 จนถึงสมัยอยุธยา) และบ้านท่า ได้พบหอกสำริด
ลูกปัดแก้ว ขวานเหล็กและพบภาชนะดินเผาขนาดใหญ่(อายุ ๒,๕๐๐-๒,๘๐๐ ปี) ที่บ้านก้านเหลือง ตำบลขามใหญ่
อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี


บริเวณโบราณสถานสำคัญที่เป็นแหล่งของมนุษย์ยุคเหล็กนั้น ได้แก่ บ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน
จังหวัดกาญจนบุรี(พบเครื่องสำริดและเหล็กสมัยฟูนันมีอายุกว่า ๑,๗๐๐ ปี จำนวนมาก) เช่น หอก เบ็ด มีดขอ สิ่ว และขวาน
สันนิษฐานว่าจะเป็นแหล่งพักสินค้าโบราณ) บ้านหลุมเข้า จังหวัดอุทัยธานี บ้านบอนโนน จังหวัดชลบุรี บ้านธารปราสาท
โนนอุโลก โนนเมืองเก่า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา บ้านสำริด และบ้านตะโนด อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
บ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา บ้านดงพลอง(พบเตาถลุงเหล็กผนังดินเผา ๑๗ เตา)และ บ้านทุ่งวัง
อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ บ้านดีลังที่จังหวัดลพบุรี(พบตะกรันและเตาถลุงเหล็ก) บ้านโนนสูงที่อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
บริเวณโนนยางที่บ้านเขวาโค้ง จังหวัดสุรินทร์ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร บ้านโนนคา จังหวัดร้อยเอ็ด
บ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม บ้านโนนยาง บ้านยางบ่ออี และบ้านยะวึก ที่อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
บ้านโนนชัย บ้านโนนเมือง จังหวัดขอนแก่น เมืองฟ้าแดดสงยาง ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ บ้านนาดี และบ้านเชียง
จังหวัดอุดรธานี บ้านยางทองใต้ จังหวัดเชียงใหม่ บ้านบึงลา จังหวัดกำแพงเพชร บ้านหนองแดง อำเภอศรีเทพ
จังหวัดเพชรบูรณ์ และ บ้านวังไฮ จังหวัดลำพูน เป็นต้



<< ย้อนกลับ ต่อไป เส้นทางการติดต่อในสมัยโบราณ >>