อาณาจักร
จามปา

อาณาจักรจามปา

(พุทธศตวรรษที่ ๗–๑๙)

อาณาจักรจามปานี้ตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๗ อยู่ทางตอนใต้ของอาณาจักรจีนหรือ

บริเวณตอนกลางของเวียดนาม และอยู่ทางภาคเหนือของอาณาจักรฟูนัน

ในปัจจุบันก็คือบริเวณที่เป็นเมืองเว้ เมืองกวังนัม เมืองถัวเถียน เมืองผันรัง และ

เมืองญาตรังของเวียดนาม เนื่องจากในสมัยก่อนดินแดนดังกล่าวนั้น เป็นพื้นที่ห่างไกล

จากเมืองจีน จึงมีสภาพทุรกันดารและป่าเถื่อน และเป็นเหตุให้อาณาจักรจีนไม่สามารถ

ปราบปรามและครอบครองดินแดนส่วนนี้ได้ ชนชาติจามปานี้สืบเชื้อสายมาจากชนชาติ

หลินยี่ (Lin-yi) พวกจามเป็นชาวทะเลมีความสามารถในการเดินเรือ ต่อมาราว พ.ศ. ๙๘๙

กองทัพจีนได้ยกทัพเข้ามาทำสงครามได้เผาทำลายเมืองหลวงของพวกจามลงได้

เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ชาวจีนชื่อม้าตวนลิน(Ma Tuan-lin) ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับ

ชาวหลินยี่หรือชาวจามไว้ว่า “ ชาวเมืองสร้างผนังบ้านด้วยอิฐดินเผาแล้วฉาบปูน หญิงและ

ชายมีผ้าฝ้ายผืนเดียวห่อหุ้มร่างกาย ชอบเจาะหูเพื่อห้อยห่วงเล็กๆ ผู้ดีสวมรองเท้าหนัง

พวกไพร่เดินเท้าเปล่า พระราชาทรงสวมพระมาลาทรงสูง ทรงช้าง ล้อมรอบด้วย

บริพารถือธงและกลดกั้น”


พวกจามนี้เดิมนับถือพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อมีพวกมลายูข้ามทะเลเข้าไปเผยแพร่

ศาสนาอิสลาม พวกจามจำนวนมากจึงหันไปนับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุนี้

คนไทยจึงเรียกพวกจามว่า แขกจาม ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ นั้น อาณาจักรจามปา

ได้ถูกกองทัพของพระเจ้าไชยวรมันที่ ๒ กษัตริย์ขอมเข้าโจมตี และต่อมาใน

พ.ศ. ๑๘๕๖ พ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัยได้ให้กองทัพสยามยกทัพเข้าโจมตี

และ พ.ศ. ๒๐๑๔ อาณาจักรจามปาได้ถูกกษัตริย์ราชวงศ์เลของเวียดนามยกกองทัพ

เข้าตียึดราชธานีคือ เมืองวิชัย(เมืองบิญดิ่ญ)ได้ การทำสงครามกับเวียดนามครั้งนี้

ชาวจามเสียชีวิต ๖๐,๐๐๐ คน และถูกจับเป็นเชลยอีก ๓๐,๐๐๐ คน จึงทำให้

อาณาจักรจามปาสิ้นสูญความเป็นชาติไป โดยถูกญวนครอบครอง และชาวจาม

บางส่วนได้พากันอพยพหนีเข้ามาในอาณาจักรสยาม เข้ามารับราชการเป็น

ทหารอาสาจามในกองทัพสยามสมัยอยุธยา ทหารอาสาจามนี้มีบทบาทในการรบ

หลายครั้ง ส่วนใหญ่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านเรือทะเล โดยรับหน้าที่เป็นพนักงาน

กำปั่นหลวงมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕

แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


ปัจจุบันคนไทยเชื้อสายจามที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นยังเหลืออยู่ที่ ชุมชนบ้านครัว

หลังตลาดเจริญผล เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ


<< ย้อนกลับ ต่อไป ความสัมพันธ์ของอาณาจักรขอมและเจนละ >>