แหล่งโบราณคดี
บ้านเชียง

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

เมื่อราว๓,๐๐๐-๖,๐๐๐ ปีมาแล้วนั้น ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ได้เกิดชุมชนโบราณขึ้นที่บริเวณบ้านเชียง
ใกล้วัดโพธิ์ศรีใน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์กลุ่มนี้ถือว่ามีความสามารถด้านเทคโนโลยีสูง
รู้จักวิธีทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเด่นเฉพาะท้องที่คือการเขียนลายบนภาชนะดินเผาแทนการใช้ลายแบบ
เชือกทาบที่มีมาแต่เดิมและเขียนลายสีประกอบกับลายเชือกทาบ เป็นลวดลายเฉพาะไม่เหมือนแหล่งโบราณคดีที่ใด
ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงนี้รู้จักการหล่อโลหะสำริดเป็นเครื่องประดับ สร้างรูปแบบมีด หอก ขวาน
หัวลูกศร ฯลฯ ได้เมื่อ ๔,๙๐๐-๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว รู้จักถลุงเหล็กแล้วนำมาหลอมตีขึ้นรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้
เมื่อ ๓,๒๐๐-๓,๖๐๐ ปีมาแล้ว รู้จักปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์(ควาย)และทอผ้าไหมได้ ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดี
เป็นเศษผ้าไหมบนกระดูกต้นขาของกระดูกมนุษย์โบราณในหลุมสำรวจ


มนุษย์กลุ่มบ้านเชียงนี้มีหลักแหล่งอยู่ในดินแดนดังกล่าวมากว่า ๖,๐๐๐ ปี (จากการตรวจสอบอายุภาชนะดินเผา
โดยสถาบัน MASCA แห่งสหรัฐอเมริกา) จึงมีความก้าวหน้าเช่นเดียวกับมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศจีน
อินเดีย หรือในตะวันออกกลาง ที่นักโบราณคดีให้ความเชื่อมาว่าเป็นแหล่งที่มีอารยธรรมเจริญมาก่อน


แหล่งอารยธรรมโบราณนอกจากพบที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี แล้วยังพบวัฒนธรรม
แบบเดียวกันอีกหลายแห่ง ในตำบลบ้านดุง(อำเภอบ้านดุง) ตำบลศรีสุทโธ(อำเภอบ้านดุง) ตำบลบ้านชัย(ตำบลบ้านดุง)
ตำบลบ้านอ้อมกอ(อำเภอบ้านดุง) บ้านเมืองพรึก ตำบลแชแล (อำเภอภุมภวาปี) บ้านต้อง(อำเภอหนองหาน)
บ้านนาดี (อำเภอหนองหาน) บ้านผักตบ ตำบลผักตบ(อำเภอหนองหาน) บ้านโนนนาสร้าง ตำบลสะแบง
(อำเภอหนองหาน) บ้านสะแบง ตำบลสะแบง (อำเภอหนองหาน) บ้านโพน ตำบลบ้านธาตุ (อำเภอเพ็ญ) ที่ศาลเจ้าปู่บ่อใต้
ในตำบลสร้างคอม (อำเภอสร้างคอม) ตำบลเตาไห(อำเภอเพ็ญ) และที่โนนขี้กลิ้ง ในบ้านหนองสระปลาที่
ตำบลบ้านยา(อำเภอหนองหาน) ตำบลม่วงไข่(อำเภอพังโคน) ตำบลสะแบง(อำเภอหนองหาน)
ซึ่งมีแหล่งถลุงสำริดขนาดใหญ่ที่บ้านนาดี(อำเภอหนองหาน)


จังหวัดสกลนคร พบที่บ้านโคกคอน ตำบลโคกสี(อำเภอสว่างแดนดิน) ตำบลพันนา(อำเภอสว่างแดนดิน)
ตำบลแวง(อำเภอสว่างแดนดิน) บ้านสร้างดู่ บ้านโนนโคกยาง ตำบลคำบ่อ (อำเภอวาริชภูมิ)และ ที่เนินโรงเรียนบ้านม้า
ตำบลทรายมูล(อำเภอวาริชภูมิ ) เป็นต้น


วัฒนธรรมบ้านเชียง นั้นเป็นวัฒนธรรมของเครื่องปั้นดินเผาที่เขียนลายสี ซึ่งมีการสร้างลวดลายเฉพาะท้องถิ่น
ได้แก่ ลายขดก้นหอย ลายตุ๊กแก จนเรียกว่า ลายบ้านเชียง ซึ่งสามารถศึกษาว่ามนุษย์ได้มีการเรียนรู้วิธีผลิตสีเขียน
จากวัสดุที่พบในท้องถิ่น ปัจจุบันแหล่งโบราณคดีที่สร้างอารยธรรมบ้านเชียงได้รับการประกาศให้เป็น
มรกดกโลกทางวัฒนธรรม



<< ย้อนกลับ ต่อไป แหล่งโบราณคดีการทำเหล็ก>>