สุวรรณภูมิ
ยุคไดโนเสาร์

สุวรรณภูมิยุคไดโนเสาร์


แผ่นดินที่พบว่ามีไดโนเสาร์อาศัยอยู่นั้นคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปีพ.ศ.๒๕๑๙
โครงการศึกษาวิจัยฟอสซิลของสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณี ได้สำรวจพบ
กระดูกไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ชิ้นแรกที่ ภูประตูตีนหมา ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
เมื่อศึกษาแล้วจึงรู้ว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอต พวกกินพืช เดิน๔ เท้า คอยาว หางยาว
มีความยาวประมาณ ๑๕ เมตร ข้อมูลการพบนี้ เป็นการรายงานการค้นพบ ไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ต่อมาพ.ศ.๒๕๒๔และพ.ศ.๒๕๒๕ เมื่อมีการสำรวจที่บริเวณภูเวียง อีกทำให้พบกระดูกส่วนต่างๆ
ของไดโนเสาร์ และ สัตว์อื่นเป็นจำนวนมากอยู่ในชั้นหิน นับเป็นการเริ่มต้นการค้นหา ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์
ขึ้นครั้งแรก โดยการนำของ ดร.วีรวุธ สุธีธร

ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ที่พบในประเทศไทยนั้น มีอายุอยู่ระหว่าง
๑๐๐-๒๐๐ ล้านปีมาแล้ว แบ่งเป็นยุคได้ดังนี้

๑.ไดโนเสาร์ยุคตรีเทเชียสตอนปลาย()

เมื่อพ.ศ.๒๕๓๕นั้น กรมทรัพยากรธรณีวิทยาได้ทำการสำรวจพบ กระดูกสะโพกส่วนหน้า ของไดโนเสาร์
พวกโปรซอโรพอต อยู่ในชั้นหินทรายสีแดง หมวดหินน้ำพอง (เขตอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์)
มีอายุอยู่ประมาณ ๒๐๐ ล้านปี นับเป็นการพบกระดูกของไดโนเสาร์ ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
และ ยังเป็นการพบซากดึกดำบรรพ์ ของไดโนเสาร์พวก โปรซอโรพอต เป็นครั้งแรกในภูมิภาคนี้
ดังนั้นเมื่อทำการเปรียบเทียบ กับซากดึกดำบรรพ์ประเภทเดียวกัน ที่พบในแหล่งอื่นๆทั่วโลกแล้ว
ได้พบว่าพวกโปรซอโรพอต ที่พบในประเทศไทยนั้น มีขนาดใหญ่ แข็งแรง ประมาณว่ามีความยาวได้ถึง ๘ เมตร

ไดโนเสาร์พวกโปรซอโรพอตนี้เป็นไดโนเสาร์กินพืช ฟันนั้นมีรอยหยักห่างๆเหมือนฟันเลื่อย
เท่าหน้ามีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าเท้าหลัง เท้านั้นมีเล็บแหลมคม


๒.ไดโนเสาร์ยุคจูราสสิค()

เมื่อพ.ศ.๒๕๓๙ คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเสส ได้ทำการสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ เป็นฟันของไดโนเสาร์
อยู่ในชั้นหินหมวดภูกระดึง (อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธ์) มีอายุ๑๕๐–๑๙๐ ล้านปี ฟันของไดโนเสาร์
ที่พบนี้ มีลักษณะเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย นอกจากนี้ ยังพบฟันของไดโนเสาร์พวกซอกโรพอต
ฟันของไดโนเสาร์พวกสเตโกซอร์ ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในพื้นที่ประเทศไทย


๓.ไดโนเสาร์ยุคครีเทเชียส()

ไดโนเสาร์ยุคนี้ยังไม่พบซากดึกดำบรรพ์ พบแต่รอยเท้า อยู่ในชั้นหิน หมวดหินเขาพระวิหาร
มีอายุประมาณ ๑๔๐ ล้านปี ซึ่งทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์พวกนี้มีรูปร่าง ขนาด และ ลักษณะการเดินเป็นอย่างไร
รอยเท้าไดโนเสาร์ นี้พบอยู่ ๔ แห่งได้แก่

๓.๑ รอยเท้าไดโนเสาร์ พบที่ลานป่าชาด ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น นั้น เป็นรอยเท้าของ
ไดโนเสาร์ขนาดเล็กประเภทกินเนื้อ เดินด้วยขาหลัง เคลื่อนไหวว่องไว บริเวณนี้ ยังพบรอยเท้าของ
ไดโนเสาร์พวกคาร์โนวอร์ ที่มีขนาดใหญ่กว่าด้วย

๓.๒ รอยเท้าไดโนเสาร์ พบที่น้ำใสใหญ่ เขาใหญ่ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นรอยเท้าของ
ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่พวกเทอโรพอต ที่ใช้เท้าเดิน ๒ เท้า รอยเท้านั้นวัดขนาดได้กว้าง ๒๖ ซม.ยาว ๓๑ ซม.
นอกจากนี้ยังพบรอยเท้าของไดโนเสาร์ขนาดเล็กพวกออร์นิโธพอต และพวกซีลูโรซอร์
วัดรอยเท้าได้กว้าง ๑๔ ซม.ยาว ๑๓.๗ ซม.

๓.๓ รอยเท้าไดโนเสาร์ พบที่ภูแผก กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธ์
เป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ขนาดใหญ่กินเนื้อพวกคาร์โนซอร์ วัดรอยเท้าได้กว้าง ๔๐ ซม.ยาว ๔๕ ซม.

๓.๔ รอยเท้าไดโนเสาร์ พบที่ภูเก้า จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นรอยเท้าของ
ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดย่อม

๔.ไดโนเสาร์ในชั้นหินหมวดเสาขัว มีอายุอยู่ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี พบซากดึกดำบรรพ์
ของไดโนเสาร์ที่ บริเวณประตูตีหมา ภูเวียง และ บริเวณใกล้เคียงหลายชนิด ซากดึกดำบรรพ์ที่พบได้แก่

๔.๑ พบกระดูกของไดโนเสาร์ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ ไดดนเสาร์พวกวอโรพอต
ที่พบในอเมริกาเหนือ เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ ที่มีความยาวถึง ๑๕ เมตร โดยมีส่วนคอยาว ส่วนหางยาว
เดิน สี่เท้า กินพืชเป็นอาหาร การสำรวจต่อมานั้นได้พบ กระดูกไดโนเสารืชนิดนี้ ที่มีสภาพดี จึงทำให้ได้ข้อมูล
ชัดเจนว่า เป็นซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ พวกซอโรพอต ที่เป็นสกุลใหม่ในโลก ซึ่งได้รับพระราชทาน
พระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
มาเป็นชื่อสกุลของไดโนเสาร์นี้ว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินทรเน(PHUWIANGGOSAURUS SIRINDHORNAE)

๔.๒ พบฟันของไดโนเสาร์สกุลใหม่ และเป็นชนิดใหม่ จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ดร.วีรวุธ สุธีธร
ว่า สยามโมซอรัส สุธีธรนี(SIAMOSAURUS SUTEETHORNI)

๔.๓ พบกระดูกขาหลังท่อนหลัง และ ขาหน้าท่อนบน ของไดโนเสาร์พวก
ซีลูโรซอร์(COELUROSAUR) เป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็กมาก ชนิดหนึ่งเดินด้วยสองขาหลัง และ กินเนื้อเป็นอาหาร

จากการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ ที่มีความสำคัญในฐานะ เป็นแหล่งที่พบไดโนเสาร์สกุลใหม่
ในประเทศไทยดังกล่าว แม้จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติในปีพ.ศ.๒๕๓๕ แล้วก็ตาม สถานที่พบนี้ยังประกาศ
เป็นอุทยานไดโนเสาร์แห่งแรกในเอเซียตะวันตกเฉียงใต้


สรุปแล้วเมื่อพ.ศ.๒๕๓๗ นั้น กรมทรัพยากรธรณี ได้สำรวจพบซากไดโนเสาร์อีกแหล่งหนึ่ง ที่วัดสักกะวัน
อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นซากดึกดำบรรพ์ ที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น จนต้องมีโครงการ
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ขึ้น เพื่อศึกษาเรื่องราวของไดโนเสาร์ สัตวดึกดำบรรพ์ประเภทนี้ในประเทศไทย และ
ทำให้พบว่ามีไดโนเสาร์พันธ์ใหม่ขึ้น ในพื้นที่นี้


การสำรวจพบซากกระดูกของไดโนเสาร์ เป็นจำนวนมากกว่า ๖๐๐ ชิ้นในประเทศไทยนั้น ทำให้รู้ว่า
ไดโนเสาร์ สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทยนี้มีอายุประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ส่วนไดโนเสาร์สกุลใหม่
ที่พบในประเทศไทยนั้น มีการตั้งชื่อว่า สยามโมไท-รันนัส อีสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis)
เป็นไดโนเสาร์ประเภท ซอโรพอต (Sauropods) ที่เป็นสัตว์ชนิดกินพืช มีจำนวน ๖ ตัว นอนตาย
ทับถมกันอยู่ ที่ภูกุ้มข้าว ในบริเวณวัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์


ส่วนในพื้นที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ได้สำรวจพบซากดึกดำบรรพ์(FOSSIL) หรือ
กระดูกที่กลายเป็นหิน ของไดโนเสาร์พันธ์ใหม่ ซึ่งตั้งชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัส สิริธรเน่
(Phuwiangosaurus sirindhornae) ยาว๑๕-๑๘ เมตร
และ ไซแอมซอรัสสุธีธรนิ(Siamsaurus suteetorni) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ประเภท ไทรันโนซอรัส หรือ
ไทเร็กซ์ ชนิดกินเนื้อ และดุร้าย

นอกจากนี้ยังสำรวจพบรอยเท้าในหินของไดโนเสาร์ ประเภทคาร์โนซอร์ ชนิดกินเนื้อ ที่ป่าภูแฝก
ตำบลภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธ์ ที่บนภูหลวง จังหวัดเลย และที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมาอีกด้วย
ซึ่งล้วนเป็นหลักฐานที่แสดงว่าบริเวณดังกล่าวนั้น เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่
ประเภทไดโนเสาร์ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อหลายล้านปีมาแล้ว


ข้อมูลเฉพาะ

ไดโนเสาร์ เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ซึ่งเคยอาศัยอบู่บนโลกเมื่อหลายสิบล้านปีมาแล้ว และ
สุญพันธ์ไปจนหมดสิ้นจากโลกนี้ ปัจจุบันพบเพียงซากดึกดำบรรพ์(FOSSIL)คือซากกระดูกส่วนต่างๆ
ที่ถูกเก็บรักษาไว้ตามธรรมชาติในชั้นหินที่เป็นเปลือกโลกยุดก่อน ในการพบ ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์นั้น
ทำให้รู้ว่า ไดโนเสาร์นั้นมีขนาด และ รูปร่างที่แตกต่างกันมากมาย มีไดโนเสาร์ที่มีรูปร่าง ตั้งแต่ขนาดใหญ่โต
มีน้ำหนักกว่า ๑๐๐ ตัน สูงมากกว่า ๑๐๐ ฟุต จนถึงไดโนเสาร์ที่มีขนาดเล็ก บางชนิดมีขนาดเล็กกว่าไก่
บางพวกเดินสี่ขา บางพวกเดินและวิ่งบนขาหลังสองข้าง บางพวกกินพืชเป็นอาหาร บางพวกกินเนื้อเป็นอาหาร

ไดโนเสาร์พวกแรกที่ปรากฏขึ้นในช่วงปลายของยุดไทรแอสสิก(TRIASSIC)
พบเมื่อประมาณ ๒๒๕ ล้านปีมาแล้ว โลกในยุคนั้นมีเปลือกโลกติดต่อกันเป็นแผ่นเดียว
จึงทำให้สัตว์เคลื้อยคลานต่างๆ โดยเฉพาะไดโนเสาร์นั้น ได้วิวัฒนาการต่อเนื่องกันมา อย่างยาวนานถึง ๑๖๐ ล้านปี
ได้เดินทางกระจัดกระจายแพร่หลายไปทั่วแผ่นดินของโลก


ครั้นเมื่อถึงช่วงปลายยุคครีเทเชียส (CRETACEOUS) เมื่อประมาณ ๖๕ ล้านปีที่ล่วงมาแล้ว
ไดโนเสาร์ที่มีขนาดใหญ่ จึงได้สูญพันธ์ไปจนหมดโลก หลังจากที่ไดโนเสาร์สูญสิ้นพันธ์ไปจากโลกถึง
๖๐ ล้านปีแล้ว โลกจึงปรากฏต้นตระกูลของ มนุษย์วานรขึ้น เมื่อ ๕ ล้านปี มนุษย์วานรนี้
ได้วิวัฒนาการต่อเนื่อง จนเป็นเผ่าพันธ์ของมนุษย์ในปัจจุบัน


ไดโนเสาร์ที่มีขนาดเล็กนั้น ได้มีวิวัฒนาการออกไป เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ในวงศ์สกุลต่างๆมากมาย
ซึ่งมีการค้นคว้า และ ได้พบว่ามีอยู่ในโลกแล้วประมาณ ๓๔๐ ชนิด ซึ่งเชื่อว่า ยังมีไดโนเสาร์ที่ปรับสภาพตัวเอง
เป็นไดโนเสาร์ ชนิดใหม่(สัตว์เลื้อยคลาน)อีก โดยกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆทั่วโลก

ปัจจุบันได้มีการสำรวจหาไดโนเสาร์ชนิดใหม่ขึ้นในโลกประมาณ ๑๐๐ คณะ และ พบมีไดโนเสาร์
ชนิดใหม่(สัตว์เลื้อยคลาน)ในปัจจุบันอยู่เสมอ

นักโบราณชีววิทยา ได้แบ่งไดโนเสาร์ออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ จากการอาศัย ลักษณะที่แตกต่างกันของ
กระดูกเชิงกราน คือ

๑.พวกชอริสเชียน(SAURISCHIANS) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีกระดูกเชิงกราน กล่าวคือ มีกระดูกพิวบิส
และ อิสเซียมแยกออกจากกันเป็นมุมกว้าง


๒.พวกออรีนิธิสเชียน(OMITHISCIANS) เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ที่มีกระดูกเชิงกราน เป็นแบบนก
กล่าวคือมี กระดูกทั้งพิวบิส และ อิสเซียม ชี้ออกไปทางด้านหลัง

ในระยะแรกนั้นของการศึกษาเรื่องไดโนเสาร์นั้น ได้มีการค้นพบ และ ศึกษาซากดึกดำบรรพ์(FOSSIL)
มาก่อน เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีทั้งพืช แมลง และสัตว์น้ำ ต่อมา เมื่อมีการพบซากดึกดำบรรพ์
ที่เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อพ.ศ..๒๓๘๔(ค.ศ.1841)ในการประชุมของสมาคมวิทยาศาสตร์ก้าวหน้า
ของประเทศอังกฤษ โดยศาตราจารย์ริชารด์ โอเวน นั้น ได้มีการตั้งชื่อ ไดโนเสาร์ขึ้นครั้งแรก
สำหรับสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ที่มีการพบซากดึกดำบรรพ์ หลังจากนั้นซากดึกดำบรรพ์(FOSSIL)
ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่ได้ค้นพบกันมานานาแล้วนั้นจึงเป็นที่รู้จักกันในนาม
ไดโนเสาร์(DINOSAUR) คำว่าไดโนเสาร์ นี้หมายถึง สัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะน่ากลัวมาก(
มาจากการมีลักษณะใหญ่โตมาก) โดยนำคำมาจากภาษากรีก คือ คำว่าไดโน(DEINOS)แปลว่า
น่ากลัวมาก และคำว่า ซอรอส(SAURUS) หมายถึง สัตว์เลื้อยคลาน

การสูญพันธ์ของไดโนเสาร์นั้น มีการอ้างถึงการเปลี่ยนแปลงของ ระดับน้ำทะเล สภาพภูมิอากาศ และ
การระเบิดจากนอกโลก(SUPEMOVE) แล ะอื่นมากมาย แต่ที่ได้รับความสนใจ และต่างมีเหตุผลที่พอรับฟังได้ คือ

๑.ไดโนเสาร์สูญพันธ์เนื่องจากการชนโลกของดาวเคราะห์น้อย(Asteroid impact )ที่ทำให้ เกิดจากระเบิด
อย่างรุนแรงขึ้น จนฝุ่นละอองฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศของโลก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ม่านมืดบดบังแสงอาทิตย์
จนเป็นผลให้เกิดความมืดมิด และความหนาวเย็นอย่างฉับพลันอยู่เป็นเวลานานนับเดือน จนไดโนเสาร์นั้น
ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในโลกได้ ด้วยเหตุที่มีสภาพสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงดังกล่าว

หลักฐานที่นำมาอ้างข้อสรุปนี้คือ การพบธาตุ อิริเดียม(IRIDIUM)จำนวนมากว่าปกติในชั้นดินบางๆ(CLAY)
ที่มีอายุอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างยุคครีเทเชียส(CRETACEOUS) และTERTIARY(K-T BOUNDARY)
ในบริเวณต่างๆของโลก นอกจากนี้ยังพบโครงสร้าง ที่เชื่อว่าโลกนั้นเคยเกิดจาก การชนของดาวเคราะห์น้อย
ที่แหลมในประเทศเมกซิโก เรียกว่า โครงสร้าง CHICXULUB STRUCTURE

๒.ไดโนเสาร์สูญพันธ์เนื่องจากการระเบิดของภูเขาไฟในบริเวณที่ราบสูงเดคคาน(DECCAN)ของ
ประเทศอินเดีย(DECCAN TRAPS VOLCANISM) ซึ่งถือว่าเป็นการระเบิดที่รุนแรงที่สุดในช่วงอายุของ
การกำเนิดโลก ด้วยเป็นการระเบิดที่รุนแรง อันเนื่องมาจากMANTLE PLUME และ HOTSPOT ที่อยู่ใต้พื้นโลก
จนทำให้เกิดลาวาชนิด BASALTIC (BASALTIC LAVA) จำนวนมหาศาลดันเปลือกโลกขึ้นมา
แล้วไหลลงมามาคลุมพื้นโลก มีพื้นที่ถูกลาวาคลุมมากกว่า ๑ ล้านตารางไมล์ และมีความหนากว่า ๑ ไมล์
จนเกิดMANTLE DEGASSING ทำให้คาร์บอร์ไดออกไซด์ และไอน้ำ ถูกความร้อนจนระเหยขึ้นสู่ผิวโลก
ด้วยอัตราที่มากจนผิดปกติ จนก่อให้เกิดชั้น GREENHOUSE GASES ในบรรยากาศกักเก็บความร้อน
จากดวงอาทิตยืไว้ที่ผิวของโลก ทำให้ไม่มีการถ่ายเท จนอุณหภูมิสูงขึ้น อันเป็นผลให้วัฎจักรของ
คาร์บอนไดและออกซิเจน เปลี่ยนแปลงไป จนนำมาสู่การสูญพันธ์ของไดโนเสาร์

ส่วนสาเหตุที่ไดโนเสาร์สูญพันธ์นั้นมีข้อสันนิษฐานว่า ไดโนเสาร์นั้นอาจจะสูญพันธ์ จากสิ่งแวดล้อม
บนโลกไม่เอื้ออำนวยการดำรงชีวิตอยู่ โดยเฉพาะ อาหารเป็นพิษ และเกิดภูเขาไฟระเบิดอย่างรุนแรง
ในทุกพื้นที่ทั่วโลก

ดังนั้นไดโนเสาร์นี้จึงสูญพันธ์ไปจากโลก เนื่องจากเกิดมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงดังกล่าว
ของพื้นโลก ในยุคเตอร์ติอารี เมื่อประมาณ ๖๕ -๒.๕ ล้านปีมาแล้ว

เมื่อพื้นผิวโลกเปลี่ยนแปลง ร่างของไดโนเสาร์จึงถูกทับถมไปกับพื้นดิน ส่วนที่เป็นเนื้อหนังก็เปื่อยหลุดไป
ตามสภาพ จึงเหลืออยู่แต่ส่วนที่แข็ง คือ กระดูก และฟัน ที่ถูกหินดินโคลนทรายอัดทับถมอยู่นับล้านปี
จนเป็นซากดึกดำบรรพ์

ในชั้นดินของโลกที่เป็นโคลนทรายในยุดดึกดำบรรพ์นั้น ได้ทับถมไดโนเสาร์ แล้วอัดแน่นจนเป็นหิน และ
ผนึกแน่นในชั้นหินธรรมชาติ ดังนั้นเมื่อพื้นผิวโลกทมีการเคลื่อนตัวจากปรากฏการณ์ะรรมชาติ
จึงมีการบกชั้นหินบางส่วนให้สูงขึ้น แล้วเกิดการกัดกร่อนทำลายชั้นหิน จากความร้อนของดวงอาทิตย์
จากความเย็นของน้ำแข็ง ฝน และลม จนในที่สุด ชั้นที่มีซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกดันขึ้นมา จนซากดึกดำบรรพ์นั้น
ปรากฏขึ้นบางส่วนให้นักสำรวจโลกดึกดำบรรพ์และ นักธรณีวิทยาได้ค้นพบ

ถ้าการทับถมในครั้งนั้นเกิดอย่างรวดเร็วจนโคลนทรายเข้ากลบร่างของไดโนเสาร์ตายในทันที
โครงกระดูกก็จะ อยู่เรียงรายสมบูรณ์ในตำแหน่งที่ถูกโคลนทรายกลบ


แต่ถ้าหากการทับถมนั้นเกิดขึ้นอย่างช้าๆคือค่อยทำให้ไดโนเสาร์ไม่ตายทันที โครงกระดูกก็มีโอกาส
ที่จะอยู่กระจัดกระจายแล้วปะปนไปกับโคลนหินดินทราย


ด้วยเหตุที่โคลนทรายนั้นมีแร่ธาตุต่างๆ เช่นแคลไซด์ เหล็กซัลไฟต์และซิลิก้า เมื่อมีการทับถม
ลงบนร่างของ ไดโนเสาร์ก็จะซึมเข้าสู่เนื้อ กระดูก แล้วเข้าไปอุดตันโพรงและช่องว่างที่มีอยู่
จนทำให้กระดุกยนั้นแกร่งขึ้น จนสามารถรับน้ำหนักของหินดินทราบที่ลงมาทับถมต่อมาภายหลังได้ดี
เมื่อทับถมนานวันนับล้านๆปีเช่นนี้ ด้วยเหตุที่อากาศและออกซิเจนซึ่งเป็นส่วนช่วยในการเติบโต
ของแบคทีเรียไม่สามารถเข้าไปถึงทรากของไดโนเสาร์ได้ นานวันไดโนเสาร์ก็กลายเป็นสภาพ
จากกระดูกแข็งเป็นหินโดยธรรมชาติ เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่สามรรถคงสภาพอยู่ในลักษณะเดิม
ให้ได้ศึกษา เมื่อมีการค้นพบตำแหน่งของซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ ๖๕ ล้านปีนี้
สิ่งที่ไม่เปลี่ยนเป็นหินแข็งของไดโนเสาร์นั้น คือ ฟัน ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งที่สุด

สำหรับโครงกระดูกของไดโนเสาร์นั้น แม้ว่าจะมีแร่ธาตุบางชนิด เข้าไปกัดกร่อยทำลายกระดูก และ
ทิ้งลักษณะ ของกระดูกไว้เป็นโพรงก็ตาม ได้มีการค้นพบว่าโพรงเหล่านี้ได้ทำหน้าที่เป็นเสมือนแม่พิมพ์
ที่ทำให้เก็บร่องรอยอื่นๆ ของสัตว์ดึกดำบรรพ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ เมื่อมีแร่ธาตุอื่นเข้าไปอยู่ในโพรงนั้น
ก็ทำให้เกิดรูปหล่อของ รอยผิวหนัง ที่ทำให้ได้ข้อมูลเรื่องผิวหนังของไดโนเสาร์

บางแห่งพบว่าซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้ ถูกเคยน้ำพัดพามาทับถมอยู่ด้วยกันจนกลายเป็นชั้นสะสม
ของกระดูกไดโนเสาร์

การสำรวจนั้นได้มีการพบรอยเท้าของไดโนเสาร์อยู่บนพื้นหิน ซากดึกดำบรรพ์นี้เดิมเป็นดินโคลน
ที่มีร่องรอยของ เท้าไดโนเสาร์ เมื่อมีการทับถามนานวันก็รักษารอยนั้นไว้ตามธรรมชาติของการอัดแน่น
ของดินหินทราย ซึ่งทำให้เรียนรู้ถึงชนิดของไดโนเสาร์ ลักษณะการเดินของสัตว์ขนาดใหญ่นี้ว่า เดิน ๒ ขา
เดิน ๔ ขา ด้วยอาการเชื่องช้า หรือว่องไว อยู่เป็นกลุ่มหรืออยู่ตัวเดียว

นอกจากนี้บางแห่งยังมีการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ ในส่วนอื่นๆเช่น มูลที่ถ่ายทิ้งเรียก
คอบโปรไลท์ ที่ทำให้รู้ถึงขนาดและลักษณะของลำไส้ ไข่ ที่ทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์ออกลูกเป็นไข่
บางครั้งพบตัวอ่อนอยู่ในไข่ ทำให้รู้ว่าเป็นไข่ของไดโนเสาร์ชนิดใด

บางแห่งพบโครงกระดูกในลักษณะกำลังกกไข่อยู่ในรัง จึงได้รู้ว่าไดโนเสาร์บางชนิดมีการดูแล และ
ฝักไข่ด้วยตัวเอง

ไดโนเสาร์เป็นสัตว์บกที่มีชีวิตอยู่ในโลกดึกดำบรรพ์เมื่อประมาณ ๒๔๕-๖๕ ล้านปีมาแล้ว คือ
ช่วงยุดตรีเอซิค(TRIASSIC) ถึงยุคครีเทเวียส (CRETACEOUS) ดังนั้น ซากดึกดำบรรพ์ จึงพบอยู่ในชั้นหินตะกอน
ที่สะสมตัวบนพื้นดินในช่วงยุคตรีเอซิค(TRIASSIC) ถึงยุคครีเทเซียส (CRETACEOUS) ซึ่งเป็นชั้นหิน
ในยุค MESOZOIC

ประเทศไทยนั้น เมื่อมีการสำรวจทางธรณีวิทยา พบว่าแผ่นดินในประเทศไทยนั้นมีชั้นหินยุค MESOZOIC
โผล่ขึ้นมาตามบริเวณที่ราบสูงโคราช ที่ราบสูงในภาคอีสาน บางแห่งในภาคเหนือและภาคใต้
ชั้นหินเหล่านี้ประกอบด้วยหินดินดาน หินทรายแป้ง หินทรายและหินกรวดมน ซึ่งส่วนมากเป็นหินสีน้ำตาลแดง
ตอนบนของหินชุดนี้มีชั้นของเกลือหินและยิบซั่มอยู่ด้วย เนื่องจากชั้นหินเหล่านี้มีสีแดงเกือบทั้งหมด จึงเรียกว่า
ชั้นหินตะกอนแดง(RED BED) หรือ กลุ่มหินโคราช


หินกลุ่มโคราชนี้ มีความหนากว่า ๔๐๐๐ เมตร ดังนั้นจึงทำให้ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ และ
สัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆจึงมีอยู่ตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากมาย เช่น ภูเวียง ภูพาบ และภูหลวง เป็นต้น
ถือเป็นแหล่งที่อยู่ไดโนเสาร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งก่อนที่จะสูญสิ้นพันธ์


<< ย้อนกลับ ถัดไป สุวรรณภูมิยุคช้างดึกดำบรรพ์ >>