สำนวน "กระต่ายตื่นตูม"

หมายถึง ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน

ที่มาของสำนวน มาจากนิทานอีสป โดยมีกระต่ายตัวหนึ่งนอนหลับอยู่ใต้ต้นตาล ขณะที่หลับอยู่ลูกตาลหล่นลงมาถูกตัวจนกระต่ายสะดุ้งตื่น จึงคิดว่าฟ้าถล่ม วิ่งไปบอกสัตว์อื่น ๆ ว่าฟ้าถล่ม พวกสัตว์อื่นก็พากันตกใจกันใหญ่

  • ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง หมายถึง ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำในเรื่องนั้นเสียเอง

  • น้ำบ่อน้อย หมายถึง น้ำลาย

  • งอมพระราม หมายถึง ทุกข์มาก ลำบากอย่างเต็มที่

  • วัดรอยเท้า หมายถึง เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่

  • ลูกทรพี หมายถึง ลูกอกตัญญูที่ทำร้ายพ่อแม่ของตน

  • สิบแปดมงกุฎ หมายถึง คนที่มีเล่ห์เหลี่ยม ปลิ้นปล้อน

  • หนุมานคลุกฝุ่น หมายถึง เปรอะเปื้อนสกปรก

  • พระมาลัยมาโปรด หมายถึง ผู้ที่มาช่วยเหลือในยามที่กำลังตกทุกข์ได้ยากได้ทันท่วงที

  • ยักษ์ลักมา ลิงพาไป หมายถึง ถูกผู้ชายคนหนึ่งพามาแล้วผู้ชายอีกคนหนึ่งพาไป และผู้ที่ถูกพาไปนั้นเป็นหญิง แสดงว่าเป็นผู้ที่ไม่รักนวลสงวนตัวปล่อยให้ผู้ชายหลายคนพาไปได้

  • วันทองสองใจ หมายถึง ผู้หญิงหลายใจ ที่รักใครทีเดียวหลายๆ คน

  • วิลิศมาหรา หมายถึง สวยงามอย่างหรูหรา

  • เขาวงกต หมายถึง วกวนหาทางออกไม่ได้

  • ชักแม่น้ำทั้งห้า หมายถึง พูดจาหว่านล้อมยกเหตุผลต่าง ๆ เพื่อโน้มน้าวให้ได้สิ่งที่ประสงค์

  • กลิ้งทูตล้มขร หมายถึง ตายเกลื่อนกลาด

  • กิ้งก่าได้ทอง หมายถึง เย่อหยิ่งจองหองหรือลำพองตน

  • กลัวดอกพิกุลร่วง หมายถึง อาการนิ่งไม่พูด

  • ฤาษีแปลงสาร หมายถึง เปลี่ยนข้อความเดิมให้มีความหมายตรงกันข้าม

  • กากี หมายถึง หญิงมากชู้หลายผัว

  • กินจนพุงแตก หมายถึง รับเงินสินบน ทำหน้าที่โดยทุจริตมามากจนเรื่องแดงออกมาเป็นที่รู้กันไปทั่ว

  • ต้องศรกามเทพ หมายถึง กำลังมีความรัก

  • ชุบตัว หมายถึง ไปศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมที่ต่างประเทศเพื่อให้มีความรู้สูงขึ้น

  • ตบะแตก หมายถึง บำเพ็ญตบะต่อไปไม่ได้เพราะทนต่อสิ่งเย้ายวนไม่ไหว, หมดความอดกลั้น, สิ้นความอดทน

  • เจ้าชู้ประตูดิน หมายถึง ผู้ชายที่เที่ยวจีบผู้หญิงไม่เลือกหน้า

  • กระต่ายตื่นตูม หมายถึง ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน

  • เงาะถอดรูป หมายถึง ดีขึ้นทันทีทันใด

  • หนีไม่พ้น หมายถึง ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ที่มา : สำนวนไทย. (2565). สำนวนไทย. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565, จาก http://www.สำนวนไทย.com/